วันเสาร์ที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

Learning log 6

In class
            ภาษาอังกฤษไวยากรณ์ (Grammar) ถือเป็นพื้นฐานและมีความจำเป็นที่จะต้องศึกษาให้เข้าใจและสามารถที่จะนำไปใช้ในการสื่อสาร การเขียน การแปล การอ่านและการฟังภาษาได้ โดยเราจะรู้รูปแบบโครงสร้างของประโยค รู้คำศัพท์ เราก็จะเข้าใจว่าเจ้าของภาษาพูดคุยอะไรกัน ในรูปแบบของการเขียนนั้น หากเราวางคำศัพท์ผิดตำแหน่ง และผิดโครงสร้างจะทำให้ความหมายของประโยคเปลี่ยนแปลง และทำให้เราสื่อความหมายผิดเพี้ยนไปเกิดความไม่เข้าใจกันในการสื่อสาร รูปแบบและโครงสร้างของภาษาไทยและภาษาอังกฤษจะมีความแตกต่างกัน อย่างเช่นในภาษาไทยคำกริยาหรือคำที่แสดงการกระทำต่างๆนั้นจะไม่แปรผันหรือเปลี่ยนแปลงไปตามกาล(Tense) ไม่ว่าจะเป็นอดีต ปัจจุบันหรืออนาคตก็ตาม คำกรินชยานั้นๆก็ยังคงไม่เปลี่ยนรูป แตกต่างจากภาษาอังกฤษ  คำกริยา(verb)จะแปรผันไปตามกาล เช่นกริยาคำว่า eat ซึ่งแปลกิน จะเปลี่ยนรูปไปตามกาลอดีต คือ eat ate eaten หากเพียงเราใช้คำกริยาคำใดผิดไปจะทำให้ประโยคทั้งประโยคมีความหมายที่เพี้ยนไป นอกจากนี้การใช้คำ วลี หรืออนุประโยคต่างๆก็เช่นกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง อนุประโยคนั้นจะต้องมาขยายให้ประโยคมีความชัดเจน หากเราเลือกใช้อนุประโยคผิดประเภท ประโยคที่ได้ก็จะไม่มีความชัดเจน โดยเฉพาะอนุประโยคที่เรียกว่า Adjective Clause (อนุประโยคคุณศัพท์) เป็นเรื่องที่สำคัญและมีผลต่อการแปลภาษา การอ่าน การฟัง การเขียนอย่างมาก ซึ่ง Adjective Clause จะเป็นการเชื่อมประโยค 2 ประโยคเข้าด้วยกันนั่นเอง
            Adjective Clause เราสามารถเรียกอีกอย่างได้ว่า Relative Clause โดย Adjective Clause มีหน้าที่เช่นเดียวกับ Adjective หรือคำคุณศัพท์ คือจะขยายคำที่อยู่ข้างหน้าคำนาม และทำให้รู้ว่าประโยคนั้นกำลังพูดถึงสิ่งใดหรือใคร Adjective Clauseจะใช้ตามหลัง Relative Pronoun ซึ่งมีคำว่า who, which, whom, that, whose, of which, where, of whom, of whose เราสามารถแบ่ง Adjective Clause ได้เป็นสองประเภท คือ
1. Defining Relative Clause                                                                                                            2. Non- Defining Relative Clause                  

โดยวิธีสร้างประโยคในรูปแบบของ Adjective Clause 
ดังตัวอย่างเช่น   A man is talking to Jenny. Do you know the man?    จะมี 2 ประโยคโดย Do you know the man เป็นประโยคหลัก แต่เราไม่สามารถรู้ได้ว่า the man คนไหน ดังนั้นเราจึงต้องขยาย the man ด้วย Adjective Clause โดยการใช้ who (relative pronoun ที่ใช้กับคน) เพื่อเชื่อมประโยคทั้งสองและเพื่อขยาย the man ด้วย ประโยคที่ได้ก็คือ      Do you know the man who is talking to Jenny?
            Adjective Clause มี 2 ประเภทดังที่กล่าวมาก่อนหน้านี้ ซึ่งประเภทที่หนึ่งคือ Defining Relative Clause    เป็นการเพื่อบอกถึงที่เรากำลังจะพูดถึง เช่น I live the woman who lives next door.  Defining Relative Clause    จะทำหน้าที่คล้ายคำคุณศัพท์ เพื่อไปขยายคำนามที่อยู่ข้างหน้าให้ได้ใจความสมบูรณ์และชดเจน จะไม่มีเครื่องหมาย comma (,) คั่นระหว่างคำนามกับ Defining Relative Clause   และจะขึ้นต้นด้วย relative pronoun ซึ่งจะสอดคล้องกับคำนามที่จะขยาย ถ้าเป็นคนใช้ who ถ้าเป็นสัตว์หรือสิ่งของใช้ which หรือถ้าเป็นกรรมที่เป็นคนของประโยคจะใช้ whom ถ้าเป็นกรรมที่เป็นสัตว์ สิ่งของประโยคจะใช้ that หรือ which ถ้าคนแสดงความเป็นเจ้าของใช้ whose  ถ้าเป็นสัตว์ใช้ of which   ประเภทที่สองของ  Adjective Clause คือ Non- Defining Relative Clause มีลักษณะเป็น Clause ที่เพิ่มเข้ามาโดยไม่จำเป็นแก่ใจความของประโยคหลัก เพียงแต่เพิ่มเข้ามาเพื่อให้ได้รายละเอียดมากขึ้น จะมีเครื่องหมาย comma (,) อยู่ข้างหน้าและหลัง Clause เสมอ ต้องใช้ relative pronoun ซึ่งไม่ชี้เฉพาะเจาะจง เช่น who whom which whose จะใช้ that ไม่ได้ในการเชื่อมประโยคโดยใช้ Relative Clause มีข้อควรจำในการใช้คือ who ใช้กับคน which สิ่งของ    whose + noun เป็นเจ้าของ            Relative pronoun เป็นคำที่ใช้แทนคำนาม ดังนั้น เมื่อใส่ who/ which แทนคำนามแล้วไม่ต้องใส่คำนามนั้นซ้ำ เมื่อใช้ whose แทนการแสดงความเป็นเจ้าของ+คำนามแล้วไม่ต้องใส่คำแสดงความเป็นเจ้าของ เช่น his her their ซ้ำอีก
สรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้
ในการเรียนภาษาอังกฤษนั้นความรู้ความเข้าใจในหลักไวยากรณ์นั้นมีความสำคัญมาก แต่องค์ประกอบหลายๆอย่างก็เป็นส่วนหนึ่งในการเรียนภาษาและทั้งงานเขียน การแปลต่างๆ ส่วนประกอบเหล่านั้นจะเป็นตัวช่วยในการทำให้ประโยคนั้นสมบูรณ์มากขึ้น มีอนุประโยคหึ่งที่ทำหน้าที่ในการขยายคำนามที่อยู่ข้างหน้า นั่นคือ Adjective Clause หรือ Relative Clause โดยมี Relative pronoun มาเป็นตังเชื่อมประโยคและขยายความของคำนามนั้นด้วย โดย Relative clauseมี2 ประเภท คือ Defining Relative Clause และ Non- Defining Relative Clause  ทั้งสองประเภทจะมีความแตกต่างกันเล็กย้อยคือประเภทแรกจะขาดไม่ได้เลยในการมาเชื่อมและขยายความเพราะหากขาด จะไม่รู้ถึงความสมบูรณ์และความชัดเจนของประโยคนั้น และประเภทที่สอง  Non- Defining Relative Clause  หากขาดจากประโยคก็ไม่เป็นไร เพราะเป็นเพียงส่วนที่มาเติมเต็ม เพิ่มเติมจากประโยคที่สมบูรณ์อยู่แล้ว ดังนั้นในการเรียนภาษาอังกฤษไม่ว่าคำ วลี ประโยค หรือแม้แต่อนุประโยคย่อมมีความสำคัญทั้งนั้น       

(Out class)
             สังคมไทยในปัจจุบันให้ความสำคัญต่อการศึกษามาก โดยเฉพาะการเรียนภาษาอังกฤษ แต่เด็กไทยมักจะมีปัญหาหลายๆด้านในการศึกษาภาษาอังกฤษ ทั้งทักษะการฟัง การพูด การเขียน และการอ่าน ในเรื่องการเขียนจะเป็นปัญหาของเด็กไทยมาก โดยเฉพาะการเขียนภาษาอังกฤษปัญหายิ่งยากขึ้น เด็กมักจะเขียนไม่ออก เขียนวกไปวนมา ทำให้เกิดความเครียด ยิ่งเครียดยิ่งเขียนไม่ได้ เนื่องจากขาดทักษะการเขียนภาษาอังกฤษ แม้ว่าการเขียนจะไม่เป็นอุปสรรคในการเรียนรู้แต่หากการเขียนที่ได้มาจากการคัดลอกการเขียนของคนอื่น ประสิทธิภาพในการเรียนรู้ของเราก็อาจต่ำลงได้ เด็กไทยส่วนใหญ่มักมีปัญหาด้านการเขียน ทั้งปัญหาการเรียงลำดับของคำ การใช้Tense ทั้ง12 tense เครื่องหมายวรรคตอน การใช้สำนวนภาษา คำพังเพย และสำนวนต่างๆ ที่สำคัญไม่รู้คำศัพท์ และไม่รู้จะเขียนอะไร
            ปัญหาต่างๆข้างต้นเป็นปัญหาของเด็กไทยที่เกิดขึ้นบ่อยครั้งที่มีการเขียนภาษาอังกฤษ ปัญหากาเรียงลำดับของคำ แม้ว่าภาษาอังกฤษจะมีรูปแบบประธาน+กริยา+กรรมเหมือนกัน แต่เมื่อมีส่วนขยายต่างๆเข้ามาในประโยคลำดับต่างๆจะต่างกัน ทำให้เกิดความสับสน นอกจากนี้เมื่อเปลี่ยนประโยคให้อยู่ในแบบประโยคคำถาม จะมีการย้ายคำกริยามาหน้าประธาน  รูปแบบประโยคจะเปลี่ยนโครงสร้างประโยคแต่ละรูปแบบ ทำให้ยิ่งเกิดความสับสน ปัญหาที่สองปัญหาในการใช้ Tense ต่างๆภาษาไทยจะไม่มีการเปลี่ยนรูปตามกาล แต่ภาษาอังกฤษจะต้องเปลี่ยนผันไปตามทั้ง 12 Tense ทั้งอดีต ปัจจุบันและอนาคต นอกจากนี้ใน Present simple tense ยังต้องมีการเติม –s, -es เมื่อประธานเป็นเอกพจน์ด้วย อีกทั้ง Tense จะมีโครงสร้างประโยคที่ต่างกัน เด็กไทยมักจะจำโครงสร้างประโยคทั้ง 12 Tense ไม่ได้ เหมือนเขียนจึงไม่สามารถเขียนได้ เพราะไม่รู้ว่าจะเขียนอย่างไร สำหรับบางคนสามารถเขียนได้ แต่มักจะมีปัญหาการใช้เครื่องหมายวรรคตอน การใส่จุกเมื่อจบประโยคการใช้เครื่องหมาย ? ในประโยคคำถาม
            สุภาษิต คำพังเพยและสำนวนก็เป็นปัญหาที่เกิดขึ้นในการเรียนเช่นกัน เนื่องจากสังคมวัฒนธรรมและลักษณะประเทศของเจ้าของภาษานั้นแตกต่างกับคนไทย การใช้คำต่างๆก็จะแตกต่างกัน อย่างเช่นสำนวนที่ว่าหนีเสือปะจระเข้ แต่ในภาษาอังกฤษจะใช้คำว่า out of the frying pan and into the fire. ซึ่งต่างกันโดยสิ้นเชิงแต่จะมีความหมายไปในแนวทางที่ใกล้เคียงกัน ในการแปลสำนวนจะไม่แปลตรงตัวได้ยิ่งเป็นการยากที่จะนำมาเขียน อีกปัญหาที่เกิดกับทุกปัญหาคือการมารู้คำศัพท์ อาจเป็นปัญหาที่ ไม่รู้ว่าจะเอาคำไปใช้ได้อย่างไร หรือไม่รู้ว่าความหมายของคำนั้นๆเป็นไปในด้านใด บวกหรือลบ อีกปัญหาคือ ไม่รู้ว่าจะเขียนอะไร ปัญหานี้ขึ้นอยู่กับตัวผู้เขียนอง หากผู้เขียนเกิดความเครียดก็อาจเกิดปัญหานี้ได้ แต่ปัญหาทุกปัญหาย่อมมีแนวทางในการแก้ปัญหา
            วิธีการแก้ปัญหาให้การเรียนภาษาอังกฤษให้ดีขึ้น วิธีที่ดีที่สุดคือคิดทุกอย่างให้เป็นภาษาอังกฤษ ห้ามคิดภาษาไทยแล้วแปลเป็นอังกฤษ เพราะรายละเอียดหลายๆอย่างอาจจะตกหล่นระหว่างการแปลได้ แต่ทุกคนสามารถแก้ปัญหานี้ได้ด้วยการฝึกฝนทักษะภาษาอังกฤษอย่างสม่ำเสมอ ไม่ว่าจะเป็นทักษะการฟังหรือการอ่าน เพื่อสร้างความคุ้นเคยในการใช้ภาษา แต่ระหว่างนั้นเราสามารถพัฒนาการเขียนได้ด้วยวิธีที่ช่วยพัฒนาการเขียนดังนี้คือ การเขียนร่างหลายๆครั้งหรือเขียนแล้วทบทวนแก้หลายๆรอบ อย่าเขียนครั้งเดียว เพราะการเขียนของเราอาจมีข้อผิดพลาด ร่างเสร็จแล้วก็ให้ตรวจทานใหม่ เพื่อหาข้อผิดพลาดที่เราอาจมองข้ามไปในครั้งแรก เมื่อเขียนแล้วลองอ่านดูแล้วงานเขียนที่ได้ยังไม่เด่นชัด พื้นๆเกินไป จับอะไรที่รวมกันได้ก็นำมารวมเข้าด้วยกัน อย่างเช่น  He has beautiful eyes. They are green.  He is looking right at me. เราสามารถเอาประโยคเหล่านี้มารวมกันได้เป็น His beautiful eyes are looking right at me. การแปลงรูปประโยคแบบนี้เราสามารถฝึกฝนได้จากการอ่านและการฟังเยอะๆ การลองอ่านออกสียง เนื่องจากการอ่านออกเสียงจะทำให้เราได้ใช้ประสาทสัมผัสเพิ่มมากขึ้น และถ้าอยากรู้ว่าเราเขียนถูกหรือไม่ ลองพิมพ์ลงGoogle ว่าถูกไหม  นอกจากนี้การโพสต์สเตตัสในเฟสบุค เป็นภาษาอังกฤษก็เป็นอีกทางหนึ่งในการฝึกเขียน โพสต์ไปแล้ว หากมีการเขียนผิดผู้รู้ก็จะมาบอกเราเอง แต่หากจะให้ดีการฝึกเขียนด้วยการใช้มือนั้นสมองพัฒนาศักยภาพได้ดีด้วย การใช้การเขียนด้วยมือ จะทำให้เราได้ไตร่ตรอง และคิดได้รอบคอบ ทำให้เราคิดในเชิงเหตุผลและลำดับเหตุการณ์ได้ดีกว่า นอกจากนี้ยังทำให้เรามีโอกาสพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ได้ดีและความสามารถในการพัฒนาการจดจำได้ดีกว่าด้วย
            ในการเขียนประโยคหรือในการเขียนต่างๆในภาษาอังกฤษนั้นจะต้องมีความรู้ในด้านของหลักการเขียนด้วย โดยรูปแบบของประโยคแบ่งได้ดังนี้ คือประโยคความเดียว(Simple Sentence) ประโยคที่ประกอบด้วยภาคประธานและกริยาอย่างละตัว ซึ่งเป็นประโยคพื้นฐานในการเขียนภาษาอังกฤษ อาจมรส่วนเติมเต็มประกอบอยู่ในประโยคด้วย โครงสร้างของสร้างของประโยคความเดียวมรดังนี้
ประธาน+กริยา+ส่วนเติมเต็ม                                                                                                     ประธาน+กริยา+กรรม                                                                                                                         ภาคประธาน+ภาคแสดง                                                                                                                     ภาคประธาน+กริยา+ส่วนเติมเต็มขยายประธาน                                                                                   ภาคประธาน+กริยา+กรรม+ส่วนเติมเต็มขยายกรรม
ประโยคความรวม(Compound Sentence) ประโยคที่ประกอบด้วยประโยคความเดียวอย่างน้อย 2ประโยค โดยมีคำเชื่อมระหว่างประโยค เช่น and และ or เป็นต้น อาจคั่นด้วยเครื่องหมาย(,) เพื่อให้เป็นประโยคเดียวกัน คำเชื่อมที่ใช้ในการเชื่อมประโยคความรวมมีอยู่หลายคำเช่น and, not only…but also, in addition, beside  จะใช้ในการเชื่อมที่คล้อยตามไปในทางเดียวกัน ส่วนคำว่า but, nor, in contrast จะใช้เชื่อมในประโยคที่มีความหมายตรงกันข้ามหรือขัดแย้งกัน และคำอื่นๆอีกมากมาย เช่น for, or, so, yet, however, therefore, otherwise, consequently ต่อมาประโยคความซ้อน(Complex Sentence) ประโยคที่ประกอบด้วยหนึ่งประโยคที่สมบูรณ์ที่เรียกว่า Independent clauseหรืออนุประโยคที่นำหน้าด้วยคำแทนบุคคล สถานที่ เวลาหรือการกระทำเป็นประธานหลักของ ซึ่งเมื่อแยกออกมาแล้วไม่มีความหมายที่สมบูรณ์หรือเรียกว่า dependent clause หรือที่นำหน้าด้วย that which when while what นอกจากนี้ยังมีอีกประเภทหนึ่งเป็นประเภทที่รวมกันของประโยคความเดียวและประโยคความรวมคือ Complex compound sentence ประเภทของประโยคเหล่านี้จะมีความสำคัญ เพราะการเขียนนั้นจะต้องยึดหลักโครงสร้างของแต่ละรูปแบบของโครงสร้างของประโยคเหล่านี้ด้วย
            สรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้
            ทักษะการเขียนเป็นอีกหนึ่งทักษะที่มีความจำเป็นในการเรียนภาษาอังกฤษ  แต่การเขียนนั้นมักจะมีปัญหาต่างๆเกิดขึ้นทำให้การเขียนไม่มีประสิทธิภาพ ทั้งปัญหาการเรียงลำดับคำ การใช้Tense ทั้ง 12 tenses การใช้เครื่องหมายวรรคตอน การใช้สำนวนสุภาษิตคำพังเพยต่างๆ และที่สำคัญคือไม่รู้คำศัพท์ แต่ปัญหาต่างๆเหล่านี้สามารถแก้ได้ โดยวิธีการแก้ปัญหาที่ดีที่สุดคือ ต้องคิดเป็นภาษาอังกฤษ และหมั่นฝึกฝนตัวเองอยู่เสมอ และควรศึกษาหาความรู้การเขียนประโยคและรูปแบบของประโยคต่างๆทั้ง Simple Sentence, Complex Sentence, Compound Sentence และ Complex compound sentenceด้วย


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น