วันเสาร์ที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

Learning log 8

(In class)
            Noun clause คืออนุประโยคที่ทำหน้าที่เหมือนหนึ่งเป็นคำนามในประโยคซึ่งอาจเป็นประธานหรือกรรมก็ได้ ในการสังเกตว่าประโยคใดเป็นประโยค noun clause นั้นเราสามารถสังเกตได้จากการดูคำที่ขึ้นต้นอนุประโยคนั้นๆ noun clause มักจะขึ้นต้นด้วยคำว่า That ต่อไปจะขึ้นต้นด้วย Wh-question word และมักจะขึ้นต้นด้วย if หรือ whether คือ indirect yes/no questions นั่นเอง ตัวอย่างเช่น
            I don’t know he did it.
            ผมไม่รู่ว่าเขาทำมันได้อย่างไร
            What you want is in the bag.
            สิ่งที่คณต้องการอยู่ในถุงใบนี้แล้ว
            He said that he know you.
            เขาพูดว่าเขารู้จักคุณ
Noun clause ทำหน้าที่เหมือนคำนามทั่วๆไปคือเป็นประธาน มีตำแหน่งอยู่หน้าประโยคหรือหน้ากริยาเช่น
What she is doing seem very difficult. What she is doing เป็นอนุประโยคทำหน้าที่เป็นประธานของกริยา seem
Where he lives is not know.  Where he lives เป็นอนุประโยคทำหน้าที่เป็นประธานของกริยา is not know
ต่อป noun clauseที่เป็นกรรม ของกริยา เช่น
            I want to know where she live.
            He promised that he would pay back the debt.
นอกจากนี้ noun clause สามารถทำหน้าที่เป็นกรรมของบุพบทได้ด้วย โดยมีตำแหน่งอยู่หลังบุรพบท และยังเป็นส่วนสมบูรณ์หรือ complement ของกริยาและยังเป็นคำซ้อนของคำนามตัวอื่นๆได้เช่นกัน
            การใช้  noun clause ที่ขึ้นต้นด้วยคำว่า “that” that ในประโยค noun clauseจะมีความหมายว่า ว่า เราสามารถใช้ตามหลัง verbs บางตัวที่แสดงความรู้สึก ความคิด หรือ ความคิดเห็น เช่น agree, feel, know, remember, believe, forget, realize, think, doubt, hope, recognize, understand เป็นต้น ถ้าเราใช้ that ในภาษาพูด มักจะละคำว่า that ซึ่งเป็นคำขึ้นต้น clause ไว้ ถ้า Verbs ใน main clauses มักจะเป็น present tense แต่ verbs ใน noun clauses จะเป็น tense อะไรก็ได้ เช่น
I believe it’s raining. (now)
I believe it’ll rain. (very soon)
I believe it rained. (a moment ago)
ถ้าจะใช้ในภาษาพูด ควรหลีกเลี่ยงการใช้ that บ่อยเกินไป โดยเราสามารถตอบโดยใช้คำว่า so หรือ not หลัง main clauses ได้
            ต่อไปการใช้  noun clause ที่ขึ้นต้นด้วย Wh-question Words โดยจะมีคำว่า  what where when why how แม้ว่า noun clause จะมีคำว่า what where when why how เช่นเดียวกับประโยคคำถามแต่ลำดับของอนุประโยคจะอยู่ในรูปแแบบของประโยคบอกเล่า ไม่ใช่ประโยคคำถาม เช่น
            I know why he comes home very late.
            I don’t know when he will arrive.
            และต่อไปจะพูดถึงการใช้ noun clause ที่ขึ้นต้นด้วย ย if หรือ whether คือ indirect yes/no questions นั่นเอง จะมีหลักการเดียวกับการใช้ noun clause ที่ขึ้นต้นด้วย Wh-question โดยจะใช้คำว่า if หรือ whether ก็ได้ แต่มักจะใช้ whether เมื่อ main clause  แสดงการใช้ความคิด หรือคำนึงถึง และเมือ่ต้องการถามอย่างสุภาพด้วย เช่น
I can’t remember if I had already paid him.
I wonder whether he will arrive in time.
Do you know if the principal is in his office.
Can you tell me whether the tickets include drinks?
สรุปสิ่งที่ได้รียนรู้
            ในการเรียนรู้นในวันนี้ทำให้ดิฉันได้เข้าใจในเรื่องของ noun clauseมากขึ้น ทั้งการใช้ noun clause ที่ขึ้นต้นด้วย that ใช้ noun clause ที่ขึ้นต้นด้วย wh-question words และ noun clause ที่ขึ้นต้นด้วย ย if หรือ whether นอกจากนนั้ยังได้เรียนรู้หน้าที่และการวางตำแหน่งของ noun clause ด้วย

 (Out Class)
            จากที่ได้เขียนอังกฤษมาหลายวิชาไม่ว่าวิชาที่เป็นพื้นฐานหรือวิชาที่เจาะต้องเจาะถึงเข้าไปถึงการใช้ภาษาอังกฤษเท่านั้นสิ่งที่เป็นพื้นฐานหรือหัวใจหลักของภาษาอังกฤษซึ่งก็คือ แกรมม่า (Grammar) นั้นดิฉันจึงมีพื้นฐานที่ยังไม่แน่นอนเพียงพอ อาจารย์หลายๆท่านแนะนำให้ฝึกและหมั่นศึกษาให้เข้าใจอย่างท่องแท้เพื่อเพิ่มพื้นฐานแกรมม่าให้มากขึ้น ดิฉันจึงพยามศึกษาหาวิธีการเพื่อให้การเรียนแกรมม่าเป็นเรื่องที่ไม่น่าเบื่อและเข้าง่ายมากขึ้น เนื่องด้วยดิฉันเป็นคนชอบฟังเพลงและชอบร้องเพลงด้วยและได้พบกับเว็บหนึ่งที่ใช้เพลงเป็นการฝึกแกรมม่า ซึ่งเป็นเพลงที่มีจังหวะสนุก สนาน  ดิฉันจึงมีความสนใจอย่างมาก จึงได้ฟังและดูคลิปที่เว็บนี้ได้แนนไว้ นอกจากเว็บนี้ยังมีคำศัพท์ที่แปปลกใหม่สำหรับฉันให้ดูให้จำอีกหลายคำซึ่งได้มาจากเพลงและสิ่งที่ได้มากที่สุดจากคลิปที่ดูคือ ความรู้ด้านไวยากรณ์ ทั้งประเภทของคำ คำพ้องเสียง สำนวน การสะกด และยังรณรงค์ให้เขียนภาษาอังกฤษแบบถูกต้อง
            ความรู้ที่ได้จากการดูคลิปนั้น สิ่งแรกที่ได้รู้คือ การผันกริยาให้ถูกต้องในเพลงจะมีตัวอย่างคำว่า Conjugate ซึ่งแปลว่าการผันกริยา ทำให้ได้รู้ว่า how to จะตามด้วย Vinfinitive (how to + Vinfinitive) นอกจากนี้เรายังได้คำศัพท์ใหม่มาอีกหนึ่งคำว่า Conjugate  นั่นเอง เมื่อฟังเพลงดูคลิปไฟต่อก็มีความหมายของคำนามที่เราอาจลืมไปบ้างแล้ว และ คำบุรุพบท มาให้ด้วย เราจะเห็นว่าคำนามคือคำที่ใช้เรียกสิ่งต่างๆ ทั้งคน สัตว์ สิ่งของ สถานที่ คุณภาพ ความคิดหรือการกระทำและมักจะเป็นประธานหรือกรรมของกริยาในประโยคและในบ้างทีก็เป็นกรรมของบุพบท ส่วนคำบุพบทคือคำหรือกลุ่มคำที่ใช้กับคำนาม สรรพนาม หรือนามวลี เพื่อแสดงทิศทางต่ำแหน่ง หรือเวลา หรือให้แนะนำว่าอะไรคือกรรม ยังมีเรื่องการลดรูป Comtraction การทำให้คำหรือกลุ่มคำสั่นลงโดยลดเสียงหรือตัวอักษรบ้างตัวออกไป เช่น is’ ที่มาจาก it is ต้องระวังอย่าให้สลับกับ its ในเพลงจะมีตัวอย่างประโยคให้ว่า Every dog has its day ( ซักวันต้องเป็นวันของเรา ) ไม่ใช้ is’s ในเรื่องไวยากรณ์ก็มีการใช้ less กับ fewer ที่ต่างก็แปลว่าน้อยกว่าเหมือนกัน less จะใช้กับคำนามนับไม่ได้
            นอกจากเรื่องไวยากรณ์แล้วยังมีคำศัพท์ต่างๆ และคำพ้องเสียงหรือ Homophone
ในคลิปก็จะมีตัวอย่าง คำว่า lightening  ที่แปลว่าทำให้สว่าง กับ lightning ที่แปลว่าสายฟ้า ซึ่งทั้งสองคำนี้ ออกเสียงเหมือนกัน เราสามารถอ่านและเรียนรู้เพิ่มเติมได้อีกด้วยและยังมีคำศัพท์เรามักจะเขียนผิดบ่อย อย่างคำว่า espresso ที่มักออกเสียงผิดเช่นกันในคลิปวิดีโอนี้จะมีคำศัพท์ที่เรายังไม่รู้ถึงความหมาย ประเภทของคำอีกด้วย ซึ่งคำศัพท์เหล่านี้จะทำให้เราเพิ่มเติมคำศัพท์ไว้ในสมองอีกหลายตัว คำศัพท์ก็จะมีคำว่า
            Flunk v. สอบตก                                     mock v. ล้อเลียน, หัวเราะเยาะ
            Familiarize v. ทำให้คุ้นเคย                      nomenclature n. ระบบการตั้งชื่อ
            Literacy n. ความสามารถในการอ่านเขียน  stammer v. พูดตะกุกตะกัก
                                                                                    n.การพูดตะกุกตะกัก
            Dangle v. แกว่งไปแกว่งมา                       cunning Adj. ซึ่งฉลาดหลักแหลม
            Mouth – loather n. คนที่โง่มากๆ              distinguish v. จำแนกความแตกต่าง
            Wish up v. เฉลียวฉลาด, รู้ทัน                   emphasis n. การเน้น
และคำศัพท์อีกมากมาย
            ไวยากรณ์เป็นพื้นฐานสำคัญในทุกๆ ทักษะของภาษาอังกฤษ ดังนั้นเมื่อเรารู้ว่าเรายังมีพื้นฐานไม่เพียงพอ เราต้องหมั่นแสวงหาความรู้ ทบทวนความรู้ที่มีอยู่ และพยายามฝึกฝนสม่ำเสมอ ไม่ว่าจะเป็นไวยากรณ์ในเรื่องใดก็ตาม เมื่อเรามีพื้นฐานและมีความรู้เพียงพอไม่ว่าจะเป็นทักษะใดเราสามารถที่จะฝึกฝน พัฒนาทักษะด้านนั้นๆ ได้ไม่ยาก สำหรับทักษะการเขียน ด้านไวยกรณ์สำคัญที่สุด เราควรที่จะฝึกฝนทบทวนไวยากรณ์อย่างสม่ำเสมอ เพื่องานเขียนที่เราเขียนนั้นมีประสิทธิภาพ มีความถูกต้อง หากบางคนที่คิดว่าไวยากรณ์น่าเบื่อนั้น เราสามารถที่จะฝึกไวยากรณ์ด้วยวิธีการที่เราชอบได้มากมาย อย่างเช่นไวยากรณ์ผ่านเพลง หรือสำหรับบางคนอาจชอบการดูหนังก็อาจลองดูหนังภาษาอังกฤษ แล้วลองสังเกตว่าในเนื้อหาของหนังนั้น มีหลักไวยากรณ์ใดใช้อยู่บ้าง วิธีการที่เราชอบ เราคุ้นเคยนี้อาจจะทำให้เราเข้าใจง่ายขึ้น และอาจได้เรียนรู้ไวยากรณ์ได้ดีกว่าการเปิดหนังสือ
            เมื่อเรามีพื้นฐานทางไวยากรณ์การฝึกฝนทักษะต่างๆ ก็จะง่ายขึ้น เมื่อเราต้องการที่จะฝึกทักษะอ่านก็จะทำให้ง่ายขึ้นเช่นกัน การอ่านเป็นทักษะที่มีความสำคัญต่อชีวิตมนุษย์ตั้งแต่เด็กจนโต การอ่านทำให้รู้ข่าวสาร ข้อมูลต่างๆ ทั่วโลก ซึ่งโลกปัจจุบันเป็นโลกของข้อมูลข่าวสาร ทำให้ผู้อ่านมีความสุข มีความหวัง และมีความอยากรู้อยากเห็น
            การอ่านมีประโยชน์ในการพัฒนาตนเอง คือพัฒนาด้านการเรียน การศึกษา พัฒนาอาชีพ พัฒนาคุณภาพชีวิต ทำให้เป็นคนทันสมัย ทันต่อเหตุการณ์ และมีความอยากรู้อยากเห็น การที่จะพัฒนาประเทศให้เจริญรุ่งเรืองก้าวหน้าได้ต้องอาศัยคนที่มีความรู้และความสามารถ ซึ่งความรู้ต่างๆ นั้น ก็ได้มาจากการอ่านนั่นเอง การอ่านสามารถพัฒนาได้โดยกอ่านได้ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ การอ่านภาษาอังกฤษนั้น อาจเป็นเรื่องที่ยุ่งยาก เพราะภาษาอังกฤษไม่ใช่ภาษาแม่ของเรา ในบางครั้งจะอ่านติดขัดบ้างเพราะคำศัพท์บางคำที่เราไม่รู้ ทำให้การอ่านชะลอ ช้าลง ในการที่จะอ่านภาษาอังกฤษได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพนั้น สิ่งสำคัญคือการพัฒนาทักษะการอ่านผ่านๆ กับการอ่านเพื่อจับใจความ การอ่านแบบผ่านๆ (skimming) คือการอ่านเนื้อหาโดยเร็วเพื่อหาว่าเกี่ยวกับอะไร ส่วนการอ่านเพื่อจับใจความ (Scanning) คือการอ่านเนื้อหาทั้งหมดอย่างละเอียดเพื่อหาว่าใจความสำคัญคืออะไร
            การอ่านที่ดีมีอยู่หลายขั้นตอน อ่านทั้งย่อหน้า แล้วพยายามจับจุด สำคัญของเนื้อหาในย่อหน้านั้น พยายามตั้งชื่อเรื่องแต่ละย่อหน้า มีอะไรบ้างที่สัมพันธ์กับจุดสำคัญ พยายามตั้งคำถามแล้วค้นหาคำตอบอย่างคราวๆ ถ้าเป็นหนังสือที่มีหลายบทให้อ่านเป็นบทๆ อ่านทีละบทโดยไม่หยุดจนจบบท จับใจความในแต่ละบท อ่านบทเดิมซ้ำอักครั้ง ถ้าอ่านแล้วยังไม่เข้าใจให้จดบันทึกเพื่อตอบคำถามที่ตั้งไว้ นอกจากนี้ให้สะสมประสบการณ์และคำศัพท์ให้มากที่สุดเพราะว่าเรื่องที่อ่านได้ดีนั้นจำเป็นต้องอาศัยประสบการณ์และความรู้ เกี่ยวกับคำศัพท์มี่สะสมไว้ เมื่ออ่านเรื่องใหม่จึงจะสามารถนำเอาความรู้เดิมมาถ่ายโยงสัมพันธ์กับความรู้ใหม่ เพื่อเพิ่มความเข้าใจในเรื่องที่อ่านได้ดียิ่งขึ้น การสะสมประสบการณ์ความรู้และคำศัพท์นั้นสามารถทำได้โดยการอ่าน บทนุกรม พจนานุกรม เพื่อรู้ศัพท์ต่างๆ และอ่านให้มากๆ เพื่อสะสมประสบการณ์และเพิ่มพูนความรู้อยู่ตลอดเวลา
            จากขั้นตอนของการอ่านที่ดี ดิฉันได้ลองหาข่าวภาษาอังกฤษที่ไม่ยาวนานเกินไปเพื่ออ่าน ซึ่งจากการอ่านตามขั้นตอนของการอ่านที่ดีนั้น ข่าวเรื่อง Thailand to tap rice stockpile to maintain export levels ในย่อหน้าแรกพูดถึงการส่งออกข้าวจากประเทศไทยที่ผลผลิตได้ลดลงเนื่องจากความแห้งแล้ง ในย่อหน้าต่อมาการจัดส่งข้าวในปริมาณ 10 ล้านตัน ซึ่งตรงกับเป้าหมายที่รัฐได้วางไว้ในปี 2015 และวางแผนไว้ว่าในสิ้นปีจะขายข้าวได้ทั้งหมด 13 ล้านตัน ย่อหน้าต่อมา
บัญชีการค้าข้าว 1 ใน 4 ของประเทศ ยังคงรักษายอดขายได้ แม้ว่า จะมีการขาดแคลนน้ำทั่วภาคกลางของประเทศจะทรงตัว ทำให้การส่งออกจะลดลงเป็นครั้งแรก ในขณะที่ความต้องการจะขยายตัวเพิ่มขึ้น โดยสรุปแล้วจากข่าวนี้ต้องการจะบอกถึง การส่งออกข้าวของประเทศไทยที่ได้รับผลจากการขาดแคลนน้ำในการเพาะปลูก ทำให้มีผลไปถึงราคาข้าวไปด้วย
            จากการอ่านตามขั้นตอนการอ่านที่ดีนั้นปรากฏว่าทำให้เราอ่านเข้าใจง่ายยิ่งขึ้นอาจจะอ่านช้า ติดขัดบ้าง เนื่องจากคำศัพท์บางคำนั้นเป็นคำศัพท์ที่เรายังไม่คุ้นเคยและไม่รู้ความหมายของคำคำนั้น โดยเราพยายามที่จะดูความหมายจากบริบทก็ทำให้คาดเดาความหมายของคำได้ ซึ่งสิ่งที่เราได้จากอ่านในครั้งนี้เราสามารถถ่ายโอนความรู้ คำศัพท์ไปใช้กับการอ่านในครั้งต่อไปได้ และต้องหมั่นฝึกฝน และอ่านอยู่บ่อยๆ เราก็จะได้เป็นคนเก่งอ่านเข้าใจ ยิ่งเราอ่านมากเท่าใดนั้นสมองก็จะพัฒนามากขึ้นทั้งสมองซีกซ้ายและสมองซีกขวาให้เราคิดวิเคราะห์และจิตนการภาพไปตามเรื่องที่อ่าน ยิ่งเราอ่านหนังสือภาษาอังกฤษทุกๆ วัน เราจะเป็นคนที่จะเดาคำศัพท์ได้เก่ง อ่านได้เร็ว เข้าใจและจำได้โดยไม่ต้องเปิด Dictionary นอกจากนี้เราสามารถเป็นนักพูดนักเขียนที่เก่งได้
            ทักษะการพูดและทักษะการฟัง
            ภาษาอังกฤษถือเป็นภาษาที่สำคัญอย่างยิ่งในการติดต่อสื่อสารกับคนทั่วโลก การเรียนรู้ภาษาอังกฤษจึงเป็นสิ่งจำเป็นเพื่อติดต่อกันทั่วโลก และผู้พูดสามารถสื่อสารภาษาอังกฤษได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะโลกปัจจุบันเป็นยุคแห่งสังคม ข่าวสาร และสารสนเทศ ภาษาอังกฤษจึงเป็นเครื่องมือสำคัญในการสื่อสาร เพื่อการแสวงหาความรู้เพิ่มเติม เพื่อประกอบอาชีพและสามารถนำไปใช้เพื่อการพัฒนาประเทศและประชากรให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของโลกปัจจุบันและอนาคตให้เจริญ ตลอดจนสามารถถ่ายทอดเอกลักษณ์และวัฒนธรรมไทยที่ดีงามไปสู่ประชาคมโลก
            การเรียนภาษาอังกฤษให้ได้ผลนั้นจำเป็นต้องมีการฝึกฝนพูดเพื่อให้การสื่อสารภาษาอังกฤษสัมฤทธิ์ผล เพื่อให้ผู้พูดความมั่นใจและมีความต้องการพัฒนาทักษะการพูดของตนเอง ทักษะการพูดนับว่าเป็นทักษะหนึ่งที่จำเป็นมากในการสื่อสาร เนื่องจากเป็นทักษะพื้นฐานเบื้องต้นที่ใช้ในการสื่อสารและเป็นทักษะที่สำคัญที่สุด ทักษะการพูดนั้นจะต้องควบคู่ไปกับทักษะการฟัง หากความสามารถการฟังภาษาอังกฤษอยู่ในระดับที่ต่ำการเข้าใจข้อความที่ได้ยิน การเก็บใจความสำคัญของข้อความที่ฟัง รายละเอียดของข้อความที่ได้ยิน และความสามารถในการพูดก็จะอยู่ระดับต่ำไปด้วย เราสามารถฝึกการพูดจากการฟังได้ โดยเราสามารถฝึกทักษะการพูดได้จากสิ่งใกล้ๆ ตัว สิ่งที่เราคุ้นเคยได้ อย่างเช่นการฟังเพลงภาษาอังกฤษ และการดูภาพยนตร์ สำหรับการฟังเพลงภาษาอังกฤษเพื่อฝึกทักษะการพูดนั้น เป็นวิธีที่ถือได้ว่าง่ายและไม่น่าเบื่อ และเป็นวิธีที่ทำได้ผลมากด้วย ส่วนสำหรับการฝึกพูดอังกฤษจากการดูภาพยนตร์นั้นเป็นวิธีที่ดีเช่นกัน เราจะได้สำนวนในการพูดมาเยอะ ได้รู้คำศัพท์มากมาย แต่ก็อาจมีข้อบกพร่องบ้าง ตรงที่ว่า หากเราดูภาพยนตร์จนเพลิน เราก็อาจลืมฟังเสียงสำเนียงของภาษาที่เจ้าของภาษาได้พูดไว้
            การฟังเพลงเพื่อฝึกทักษะการพูด จะช่วยเรื่องของการออกเสียง ซึ่งทักษะการอ่านออกเสียงเป็นทักษะพื้นฐานในการเรียนภาษาอังกฤษ การออกเสียงที่ถูกต้องชัดเจน จะทำให้เราเกิดความมั่นใจในการใช้ภาษาอังกฤษของเราเอง การฝึกทักษะ การพูดด้วยการฟังเพลงนั้นเป็นวิธีที่ไม่น่าเบื่อ แถมยังสนุกอีกด้วย ดิฉันเป็นคนที่ชอบร้องและฟังเพลงอยู่แล้ว วิธีนี้จึงทำให้ดิฉันพัฒนาการพูดได้ดีขึ้นมากในช่วงสัปดาห์นี้ดิฉันฝึกจากฟังเพลงที่ชื่อว่า Love me like you do ซึ่งเป็นเพลงประกอบภาพยนตร์อีโรติกดราม่า 50 Shades of Grey ขับร้องโดย Ellie Goulding ทำนองไพเราะมาก สามารถร้องตามได้ไม่ยากมากนัก โดยความหมายของเพลงนี้เกี่ยวกับความรักที่มีอยู่มากมายต่อคนที่เขารัก จังหวะและทำนองของเพลงนี้สนุกและไพเราะมาก ทำให้ไม่น่าเบื่อ นอกจากเราจะได้ฝึกการออกเสียงแล้วเรายังได้เรียนรู้คำศัพท์ที่เราไม่คุ้นเคยอีกด้วย และจากฟังเพลงนี้และการใช้วิธีนี้ทำให้ดิฉันได้รับคำชมจากอาจารย์ท่านหนึ่งว่า ออกเสียงดีขึ้น มากจากเมื่อก่อนนอกจากนี้การใช้วิธียังเพิ่มความมั่นใจให้เรากล้าแสดงออกมากขึ้น เนื่องจากเรามีการออกเสียงที่ชัดเจนและถูกต้องอีกด้วย
            นอกจากนี้การฝึกฝนทักษะการฟังการพูดผ่านเพลงจะมีเคล็ดลับ 7 ข้อสำหรับฝึกให้ได้ผลดีด้วย ข้อที่หนึ่ง เราควรรู้จักแหล่งหาเพลงดีๆ เพื่อให้เลือกฟังเพลงได้เยอะมากขึ้นได้ฟังสำนวนภาษาของเจ้าของภาษา สำหรับคนที่ยังไม่คล่องให้ค้นหาเพลงที่มี Subtitle หรือ lyric ก่อนเนื่องจากการมีเนื้อเพลงให้เราร้องตามไปด้วยที่ละท่อนจะช่วยให้การหัดฟัง หัดพูดภาษาอังกฤษง่ายยิ่งขึ้น ยิ่งเป็นเพลงที่เราชอบแล้วการเรียนรู้จะยิ่งง่ายขึ้น ข้อที่สองให้เลือกเพลงที่เหมาะสมเลือกเพลงที่เราชอบจะทำให้เราจดจ่ออยู่กับการฝึกฝนไว้นานขึ้นและเลือกเพลงจากง่ายไปยากคือเลือกเพลงที่ใช้ภาษาที่ง่าย แต่ไม่ควรจะง่ายเกินไปและไม่ยากเกินไปก่อน แล้วค่อยๆเพิ่มระดับความยากไปเรื่อยๆ แต่สิ่งที่ควรระวังอย่างยิ่งคือการออกเสียงที่ไม่ชัดของนักร้องด้วย อย่างเช่นเพลงแนวร็อคอาจจะไม่เหมาะสมในการฝึกทักษะการฟังและการพูด หรืออาจจะเริ่มจากเพลงที่เป็นเพลงป๊อป เพราะส่วนใหญ่เพลงแนวนี้จะเป็นเพลงเกี่ยวกับความรัก ความโรแมนติก ใช้คำศัพท์ง่ายๆ จากนั้นค่อยๆ แตกสาขาไปฝึกจากเพลงที่ยาวขึ้นกว้างขึ้น ข้อที่สาม ในการฝึกนั้นควรฝึกอย่างเป็นขั้นตอน การอ่านเนื้อเพลงตามไปด้วย จะทำให้เราเข้าใจความหมายของเพลงและจดจำคำศัพท์ได้ดียิ่งขึ้นแต่การฟังครั้งแรก ควรลองฟังแบบไม่ดูเนื้อก่อน แล้วพยายามเขียนคำศัพท์หรือประโยคเท่าที่พอจับใจความได้ออกมาให้ได้มากที่สุด จากนั้นจึงค่อยฟังซ้ำๆ โดยเปิดเนื้อเพลงตามไปด้วย ข้อที่มี่ ให้พยายามร้องเพลงจากความจำ ขั้นนี้เหมาะสำหรับคนที่ฝึกมาสักระยะจนเกิดความชำนาญประมาณหนึ่ง เริ่มจดจำเนื้อร้องของบางเพลงได้บ้างแล้ว ว่างๆ ก็ลองหัดร้องเพลงเป็นภาษาอังกฤษแบบไม่ดูเนื้อเพลงจะช่วยให้เราคุ้นชินกับการใช้ภาษาอังกฤษในชีวิตประจำวันมากขึ้น ขั้นที่หก ไม่จำเป็นว่าจะต้องเลือกเพลงมาเพลงนึงแล้วฝึกอยู่แค่เพลงเดียว อาจฟังเพลงสลับไปสลับมาก็ได้ ข้อที่เจ็ด ค้นหาเพลงใหม่ที่ระดับที่ยากขึ้น เพื่อการฝึกฝนที่มีประสิทธิภาพควรท้าทายตัวเองโยการเลือกเพลงที่ระดับยากขึ้น ซึ่งทำให้สำนวนและคำศัพท์ใหม่ๆ เพิ่มขึ้นมาด้วย
            สิ่งที่ได้เรียนรู้
            ในการเขียนภาษาอังกฤษสิ่งที่เป็นหัวใจหลักของการเขียนคือ แกรมม่า (Grammar) ในการเขียนภาษาอังกฤษควรมีพื้นฐานแกรมม่าให้แน่น หากพื้นฐานของเรายังไม่แน่นพอเราควรฝึก ศึกษา หาความรู้ ในเรื่องแกรมม่าให้เข้าใจอย่างถ่องแท้ แต่แกรมม่าอาจเป็นเรื่องน่าเบื่อสำหรับบางคน แต่จะมีวิธีที่ศึกษาแกรมม่าให้ไม่น่าเบื่อและเข้าใจง่ายขึ้น โดยวิธีนั้นก็คือ แกรมม่าผ่านเพลง เป็นเพลงที่มีจังหวะน่าฟังมากแถมยังมีแกรมม่าให้เรียนรู้อีก นอกจากนี้ยังมีคำศัพท์ที่แปลกใหม่ที่เราไม่ค่อยจะคุ้นเคยอีกหลายคำ ความรู้ที่ได้จะมีการผันกริยาให้ถูกต้อง ความหมายของคำนามและคำบุพบท ยังมีเรื่องการลดรูป Contraction การทำให้คำหรือกลุ่มคำสั้นลงโดยลดเสียงหรือตัวอักษรบางตัวไป เช่น it’s ที่มาจาก it is นอกจากนี้ยังมีการใช้ less และ fewer ซึ่งจะแยกโดยการแสดงภาพให้เห็นถึงความแตกต่างของการใช้ด้วยคำศัพท์ต่างๆ และคำพ้องเสียง ก็จะมีตัวอย่างให้เข้าใจง่าย อีกวิธีการหนึ่งสำหรับการฝึกแกรมม่า คือการดูภาพยนตร์ เราสามารถดูหลักการใช้ไวยากรณ์ต่างๆ ได้วิธีทั้งสองวิธีนี้เป็นวิธีที่เราชอบ และคุ้นเคยอยู่แล้ว ยิ่งทำให้การเรียนรู้ง่ายขึ้น เข้าใจง่ายมากขึ้นด้วย เมื่อเรามีพื้นฐานของไวยากรณ์แล้ว เราสามารถที่จะพัฒนาตนเอง สามารถฝึกทักษะภาษาอังกฤษได้ ทั้งทักษะการพูด ทักษะการฟัง และการอ่าน โดยวิธีการฝึกทักษะการอ่านที่ดีมีหลายขั้นตอนโดยเราจะต้องจับจุดสำคัญของการอ่านให้ได้ พยายามตั้งคำถามในสิ่งที่เราไม่รู้แล้วหาคำตอบ โดยการอ่านนั้นจะต้องฝึกฝนอยู่เสมอ อาจจะฝึกอ่านข่าว จากหนังสือพิมพ์ภาษาอังกฤษก็ได้ เมื่อเราพัฒนาต่อยอดไปยังทักษะการฟังและทักษะการพูดได้เนื่องจากการสื่อสารมีความสำคัญมาก เราจึงควรพัฒนาทักษะทั้งการพูดและฟังให้ดีแต่การเขียนภาษาอังกฤษให้ได้ผลดีการฝึกฝน พูด และฟังภาษาให้สัมฤทธิ์ผลและมีประสิทธิภาพ วิธีการฝึกทักษะการพูดและการฟังที่ไม่น่าเบื่อเพลิดเพลิน และจะทำให้เราได้ฝึกฝนด้วยนั้นคือการฟังเพลงและการดูภาพยนตร์ การฟังเพลงจะทำให้เราออกเสียงภาษาอังกฤษได้ชัดเจนขึ้น และจะทำให้เรามีความมั่นใจในการพูดมากขึ้นและสำหรับการดูภาพยนตร์ ฟังสำเนียง สำนวนภาษาของเจ้าของภาษาได้มากขึ้นทุกๆ ทักษะมีความจำเป็นเราควรฝึกฝนและหมั่นฝึกฝนศึกษาหาความรู้อยู่เสมอ
  
            

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น