วันจันทร์ที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2558

Learning Log2

Learning Log2
( in class)
ในการเรียนในห้องเรียนสิ่งที่ได้รู้มีมากมาย  ได้รู้ทบทวนตัวเองว่าอะไรที่เรารู้ อะไรที่เราไม่รู้และเราได้เรียนรู้อะไรไปแล้วบ้างในสองปีที่ผ่านมา ได้สำรวจตัวเอง ได้ทบทวนตัวเอง ทำให้รู้ว่ารายังไม่ตั้งใจเรียนเพียงพอ และคอยที่รับสิ่งที่อาจารย์ป้อนให้เพียงอย่างเดียวโดยไม่คิดที่จะเสาะหาด้วยตัวเอง เป็นสิ่งที่เรารู้ว่าเราไม่รู้  นอกจากนี้ยังได้แลกเปลี่ยนความคิดความรู้สึกต่ออาจารย์ที่ได้สอนเรามาในสองปีที่ผ่านมา ทั้งอาจารย์ที่เพื่อนๆพึงพอใจมากที่สุดและพึงพอใจน้อยที่สุด เพราะอะไร โดยเพื่อนๆพึงพอใจอาจารย์ที่มีวิธีการสอนที่สบายๆ สอนเป็นstep เข้าใจง่าย และมีการสอดแทรกทักษะการใช้ชีวิตไปด้วย ละยังได้รู้อีกว่าสิ่งที่อาจารย์คอยพูดให้เราฟังบางครั้งอาจจะเหมือนการกดดันนั้นที่จริงแล้วท่านพูดเพื่อให้เราคิดได้ กระตุ้นเราให้กล้าคิดกล้าทำในสิ่งที่ดี และตั้งใจเรียน เราทุกคนจะได้ไปถึงจุดหมายปลายหรือเป้าหมายที่เราตั้งใจไว้

กลยุทธ์ในการเรียนภาษา (out class)
การเรียนภาษานั้นต้องมีสองด้านควบคู่กันคือความรู้หรือภาคทฤษฎีและทักษะหรือความชำนาญ ซึ่งการเรียนหากเรียนแต่ภาคทฤษฎีแต่มิได้ฝึกฝนฝึกปฏิบัติ นั้น ก็ไม่อาจบรรลุเป้าหมายและไม่สามารถใช้ภาษาได้  ซึ่งปัญหาการการเรียนภาษานั้นเกิดจากหลายสาเหตุ และการเรียนภาษาให้ได้ผลก็ย่อมมีหลายอย่างประกอบด้วยเช่นกันแต่สิ่งที่สำคัญที่สุดคือตัวผู้เรียน ดั่งคำที่ว่า ภาษานั้นเรียนได้ แต่สอนไม่ได้ ดั้งนั้นจะหวังพึ่งแต่ผู้สอนและระบบต่างๆไม่ได้ แต่ผู้เรียนควรพึ่งตนเอง การรู้จักตั้งเป้าหมายของตนเองโดยต้องคำนึงถึงความรู้ ความถนัด และการจัดสรรเวลาด้วย  นอกจากนี้ควรการรู้จักใช้คอมพิวเตอร์หรือเทคโนโลยีมาใช้ให้เกิดประโยชน์เกี่ยวกับการค้นหาความรู้ด้านภาษาด้วย  กลยุทธ์ในการเรียนภาษามีองค์ประกอบทั้งสิ้น10 ประการคือ
1.ศึกษา ความรู้เกี่ยวกับตัวภาษาคือ ศัพท์กับไวยากรณ์ มาเรียงร้อยกัน เพื่อใช้สื่อความหมายได้ถูกต้องยิ่งขึ้น
2.ฝึกฝน เน้นการปฏิบัติการฝึกทักษะทางภาษา โดยฝึกการใช้ภาษาซ้ำแล้วซ้ำอีกจนสามารถสื่อสารได้คล่องแคล่ว การฝึกฝนภาษาจะต้องฝึกผ่านอินทรีย์ทั้งตา หู ปาก และมือ (อ่าน ฟัง พูด เขียน) ควบคู่ไปด้วย
3.สังเกต ภาษามีความซับซ้อนผู้เรียนภาษาต้องฝึกเป็นคนชั่งสังเกต รอบคอบในการเรียนและใช้ภาษา
4.จดจำ   ความจำเป็นองค์ประกอบของการเรียนรู้ทุกชนิด แต่การเรียนภาษานั้นต้องมีการท่องจำมาเสริม เพื่อจดจำถ้อยคำหรือข้อความ จนสามารถนำกลับมาใช้ได้
5.เลียนแบบ การเรียนภาษามีการเลียนแบบตลอดชีวิต เลียนแบบเจ้าของภาษาเพื่อให้สื่อสารกะเจ้าของภาษาได้เข้าใจ และสามารถฝึกฝนการใช้ภาษาโดยการเลียนแบบจากเจ้าของภาษาได้
6.ดัดแปลง  เมื่อมีการเลียนแบบแล้วต้องมีการดัดแปลงเพื่อนำมาฝึกฝนและมาประยุกต์ใช้ แต่ต้องอาศัยความรู้เรื่องหลักไวยากรณ์ คำศัพท์และสำนวนประกอบด้วย
7.วิเคราะห์ การอ่านและการเขียนต้องอาศัยการวิเคราะห์เข้ามาเสริมโดยวิเคราะห์สามระดับคือ ระดับศัพท์ ไวยากรณ์และระดับถ้อยความ
8.ค้นคว้า   ความรู้ในห้องเรียนแบบเรียน และสื่อการเรียนไม่เพียงพอ ควรค้นคว้าเพิ่มเติมจากแหล่งเรียนรู้ต่างๆ โดยเฉพาะพจนานุกรมหากเรียนรู้จากการคาดเดาคำศัพท์ จะทำให้การใช้ภาษาผิดบ้างถูกบ้าง ผู้เรียนจึงอาจไม่มั่นใจการใช้ภาษา
9.ใช้งาน  การใช้งานจริงเพื่อทดสอบความรู้และทักษะที่ได้เรียนมา การเรียนรู้ภาษาและวัฒนธรรมของเจ้าของภาษาจะทำให้เรียนภาษาได้ดี
10.ปรับปรุง  ผู้เรียนที่ดีต้องรู้จักสังเกตและเรียนรู้ข้อบกพร่องของตัวเอง เพื่อนำมาปรับปรุงแก้ไข ฝึกฝน ตัวเองให้มีการพัฒนาในการใช้ภาษา

สรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้


การที่เราคิดว่าสิ่งที่เราทำอยู่นั้นถูกต้องที่จริงแล้วนั้นเราอาจไม่เคยรู้เลย การสำรวจและทบทวนตัวเองทำให้เรากลับมาเปลี่ยนความคิด  เช่นเดียวกับกลยุทธ์ในการเรียนภาษา หากเรามีเพียงทฤษฎีหรือความรู้เราก็ไม่อาจประสบผลสำเร็จในการเรียนภาษา เราต้องมีการฝึกปฏิบัติ ฝึกทักษะของตัวเราเองนอกจากนี้เราก็ต้องค้นคว้า แสวงหาความรู้นอกเหนือจากห้องเรียนควบคู่ไปด้วย รู้จักการเลียนแบบเจ้าของภาษา และนำมาปรับปรุงตัวเอง พัฒนาการใช้ภาษาของตัวเราเอง

วันอังคารที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2558

Learning Log 1



(in class)

               จากการเรียนรู้ในห้องเรียน สิ่งที่ได้เรียนรุ้นั้นหลากหลายทั้งการปฏิบัติตัวในห้องเรียน และความรู้ด้านการแปล การแปลคำ ประโยค การแปล Tense และยังมีการทฤษฎีการเรียนรู้ภาษาเพิ่มเติม
ทฤษฎีการเรียนรู้ภาษา I+1 = Comprehensible Input คือ การสร้างความรู้ความเข้าใจให้กับนักเรียนเพื่อโดยใช้ความรู้เดิมของนักเรียนเอง  ได้เรียนรู้การคิดอย่างเป็นระบบ input process product และ outcome 
การเรียนรู้ต้องเรียนรู้อย่างเป็นธรรมชาติ โดยเรียนรู้จากตัวเราเอง ตรวจสอบตัวเอง ( Metacognition ) นอกจากนี้ยังได้เรียนรู้เรื่องการแปล หลักการแปลนั้นคือต้อง สั้น  กระชับ  รัดกุม และตรงเนื้อหาหรือความหมาย และสิ่งที่ต้องเน้น คือ ความถูกต้อง(Accuracy) และความคล่องแคล่ว(Fluency) และอีกประการที่สำคัญของการแปลคือ การแปล Tense  คือต้องแปลให้ตรงตามTense นั้นๆ
ตัวอย่างเช่น
    Orenges grow in warm climate.(present simple)
      ส้มเจริญเติบโตในอากาศอบอุ่น
    He has lived in Nakhon Si Thammarat for a year. (past perfect)
       เขาอยู่นครศรีธรรมราชมาหนึ่งปีแล้ว

                จากการเรียนรู้ในห้องเรียนในครั้งนี้ได้เรียนรู้ต่างๆหลากหลายทั้เรื่องการแปล และการเรียนรู้ภาษา  ที่สำคัญคือได้เรียนรู้วิธีการปฏิบัติตนในห้องเรียน ทำให้เราสามารถ มีความรู้และปฏิบัติตนดีขึ้นกลายเป็นคนเก่งในด้านการแปลและภาษา




(out class)

            จากการหาความรู้เพิ่มเติมจากนอกห้องเรียนเรื่องการแปล Tense  เนื่องจากไม่เข้าใจและยังแปลภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทย อานไม่เข้าใจและไม่ถูกต้องตาม Tense จึงได้หาข้อมูลเพิ่มเติมเพื่อนอ่านทำความเข้าใจและฝึกฝน และได้เรียนรู้ดังนี้

ลักษณะ Tense ในภาษาอังกฤษ   ภาษาอังกฤษมีการเปลี่ยนรูปกริยาไปตามกาล บ้างอาจเปลี่ยนรูป บ้างเติมปัจจัย  โดยหน้าที่ของกริยาที่เปลี่ยนไปที่เราเรียกว่า tense ต่าง ๆ นี้  คือ เพื่อบอกความหมายของกาลเวลาต่าง ๆ  กัน  เช่น  

                        My friend lives in Bangkok. (simple present)
กำลังอยู่ในขณะนั้น
          My friend lived in Bangkok.
 ไม่อยุ่ที่นั้นแล้ว
          My friend has lived in Bangkok. 
  เคยอยู่ในอดีต ตอนนี้อาจอยู่หรือไม่อยู่ก็ได้

ในภาษาไทย กาลไม่ใช่สิ่งสำคัญ เพราะเมื่อต้องการบอกกาลเวลาจะมีคำบอกอย่างชัดเจน เช่น จะ กำลัง เป็นต้น  โดยในภาษาอังกฤษและภาษาอังกฤษและภาษาไทยมีความแตกต่างกันของ Tense ในแง่ของรูปคำและหน้าที่คือ ภาษาอังกฤษรูปกริยาจะเปลี่ยน แต่ภาษาไทยไม่เปลี่ยนรุปกริยา ในภาษาอังกฤษมีกาเติมปัจจัย –d แต่ในภาษาไทยมีเพียงการเติม จะ กำลัง นอกจากนี้ภาษาอังกฤษมีหรือไม่มีคำบอกกาลกำกับกาลกำกับ ส่วนหน้าที่นั้น ภาษาอังกฤษจะบอกความหมายของกาลเวลาต่างๆกันตาม Tense ที่ต่างกัน และสามารถเดา รุ้กาลเวลาจากปริบทหรือคำกำกับเวลา แต่ในภาษาไทยนั้นไม่ให้ความสพคัญกับสิ่งนี้ โดยการแปลมีวิธีแปล คือ ดู Tense แล้วแปลถ่ายทอดเป้ฯภาษาไทยให้ตรงกับกาลเวลา ถ้าในภาษาอังกฤษมีคำกริยาหลายตัวอยู่ใน Tense เดียวกันไม่จำเป็นต้องใส่คำเสริมกริยาไปทุกที่


            Tense มีความสำคัญในด้าการแปลเป็นอ่างมาก ในการแปลทุกครั้ง ต้องดูก่อนว่าประโยคนั้นใช้  Tense  อะไร และแปลให้ตรงตาม Tense เพื่อให้การแปลเป้ไปตามหลักการแปลและมีความถูกต้อง

วันพฤหัสบดีที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2558

บทที่1 ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับการแปล




            ปัจจุบันภาษาอังกฤษมีความสำคัญเพราะเป็นภาษาสิ่อสารที่ใช้กันในโลก ในตอนนี้มีการติดต่อกันมากขึ้น การแปลจึงมีความสำคัญมากประเทศไทยมีการติดต่อกับต่างประเทศในเรื่องต่างๆ บางคนไม่รู้ภาษาจึงต้องใช้ตัวช่วยคือผู้แปลเพื่อประหยัดเวลาและได้งานมีประสิทธิภาพ งานแปลจึงเป็นอาชีพที่ช่วยเสริมสร้างความเจริญก้าวหน้า งานแปลถ่ายทอดภาษาซึ่งกันและกันซึ่งเป็นงานที่ต้องศึกษาวิเคราะห์ พิจารณากลั่นกรองซึ่งเป็นงานละเอียดอ่อนผู้แปลต้องตื่นตัวอยู่เสมอ
 การแปลในประเทศไทย
การแปลในประเทศไทยเริ่มมีตั้งแต่สมเด็จพระนารายณ์มหาราชส่งโกษาปานไปเฝ้าพระเจ้าหลุยแห่งประเทศฝรั่งเศสจึงมีการฝึกนักแปลเพื่อแปลเอกสารต่างๆเพื่อติดต่อค้าขายกับต่างประเทศในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวและมีการสอนภาษาในราชสำนัก
การแปลทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
            ผู้แปลต้องเป็นกลุ่มผู้เชี่ยวชาญทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีและมีภาษาเพื่อป้องกันการใช้ภาษาวิบัติ และการแปลจะมีปัญหามากหากขาดความรู้เรื่องพื้นฐานทางวัฒนธรรม
การสอนแปลในระดับมหาวิทยาลัย
            การสอนแปลในระดับมหาวิทยาลัย  เป็นการสอนไวยากรณ์และโครงสร้างของภาษาการใช้ภาษารวมทั้งการอ่านเพื่อความเข้าใจ ผู้ที่จะแปลได้ควรเป็นผู้ที่มีความรู้ทางภาษา
การแปลคืออะไร
            การแปลคือการถ่ายทอดความคิดจากภาษาหนึ่งไปภาษาหนึ่ง โดยมีใจความครบสมบูรณ์ ไม่มีการตัดต่อหรือแต่งเติมใดๆทั้งสิ้นอีกทั้งรักษาให้คงรูปตามต้นฉบับ
จุดมุ่งหมายของผู้สอนแปลคือ สอนฝึกและผลิตนักแปลที่มีคุณภาพแก่สังคม     
นักแปลที่มีคุณภาพหมายถึง    นักแปลที่มีความสามรถถ่ายทอดความคิดของตนฉบับได้ครบถ้วนโดยไม่ขาดหรือไม่เกิน  นักแปลจะต้องมีความรู้ภาษาของต้นฉบับ (Source Language) และภาษาที่ใช้แปล (Target Language) เป็นอย่างดี จึงควรฝึกภาษาต่างประเทศมาเป็นภาษาแม่ (Mother Tongue) ดังนั้นนักแปลไทยจึงเน้นความสำคัญในการแปลจากภาษาต่างประเทศมาเป็นภาษาไทย (One-Way translator)
วัตถุประสงค์ของการสอนแปล
1. ฝึกเพื่อผลิตนักแปลที่มีคุณภาพ
2. การแปรให้ได้ผล ตามทฤษฎีวิชาแปลเป็นวิชาที่เกี่ยวเนื่องกับ2ทักษะ คือ ทักษะในการอ่านและการเขียน
3. ผู้สอนแปลต้องเร้าให้ผู้เรียนได้อ่านอย่างกว้างขวางจากแหล่งต่างๆ
4. ให้ผู้แปลได้พบปะแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับนักแปลอาชีพ
            สรุปการแปลที่ดีต้องถ่ายทอดความหมายของต้นฉบับได้อย่างถูกต้อง ผู้แปลต้องมีศิลปะจนผู้อ่านเกิดความประทับใจเช่นเดียวกับอ่านต้นฉบับ
            สรุป งานแปลเป็นงานที่ยากและเป็นงานที่ไม่มีใครกล่าวขอบคุณผู้แปล จะมีแต่คนวิพากษ์วิจารณ์หากแปลผิดพลาด แต่ถ้าแปลดีอาจได้คำยกย่องเล็กน้อยผู้ที่รู้สองภาษาอย่างดีจะแปลหนังสือได้ดี รางวัลของผู้แปลก็คือผลงานแปล
บทบาทของการแปล

            การแปลเป็นทักษะพิเศษในการสื่อสาร คือ ผู้รับสาร (Receiver) ไม่ได้รับสารจากผู้ส่งสารคนแรกโดยตรง 

ลักษณะของงานแปลที่ดี
 ควรมีเนื้อหาข้อเท็จจริงตรงตามต้นฉบับใช้ภาษาที่ชัดเจน ใช้รูปประโยคสั้นๆ ใช้ภาษาเปรียบเทียบได้เหมาะสมและรักษาสไตล์การเขียนของผู้แต่งต้นฉบับไว้ และมีการปรับแต่งถ้อยคำ สำนวนให้เข้ากับสังคม เพื่อให้ปูอ่านงานแปลเกิดความเข้าใจ
ลักษณะงานแปลภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทยที่ดี
 1. ภาษาไทยที่ใช้ในงานแปลนั้นมีลักษณะเป็นธรรมชาติ ไม่ติดสำนวนฝรั่ง ปรับให้เป็นสำนวนไทยตามที่ใช้กันโดย ทั่วไป ใช้ศัพท์เฉพาะภาษา และศัพท์เทคนิคได้เหมาะสมครอบคลุมความหมายได้หมด และใช้รูปแบบประโยควรรคตอนตลอดจนสำนวนเปรียบเทียบได้เหมาะสมด้วย
2. สามารถนำต้นฉบับภาษาอังกฤษมาเทียบเคียงกับคำแปลภาไทยได้ เน้นความชัดเจนของภาษา
3. ใช้การแปลแบบตีความ แปลแบบเก็บความเรียบเรียงและเขียนใหม่ ไม่แปลแบบคำต่อคำ
สรุปคุณสมบัติของผู้แปล
1. เป็นผู้ที่ความรู้ในภาษาต้นฉบับและภาที่ใช้แปลดีและหมั่นค้นคว้าหาความรู้เพิ่มเติมอยู่เสมอ
2. เป็นผู้ที่ชอบค้นคว้าหาความรู้ในวิชาการแขนงอื่นๆ
3. เป็นผู้มีวิจารณญาณในการแปล มีพื้นฐานการศึกษามาทางด้นไวยากรณ์ และโครงสร้างของภาษารวมทั้งการใช้ภาษา
4. เป็นผู้ที่มีใจกว้างพอที่จะรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
5. เป็นผู้สามารถอุทิศเวลาให้การแปลได้อย่างจริงจัง
ลักษณะของงานแปลที่ดี
งานแปลจะต้องมีความตรงกันในด้านความหมายของงานต้นฉบับและงานฉบับแปล และมีความสละสลวยในภาษาที่ใช้แปล งานแปลที่ดีต้องมีคุณสมบัติสองประการ คือความถูกต้องตรงกันในเรื่องความหมายและภาษาที่สละสลวย ผู้แปลจึงต้องรู้ทั้งสองภาษา คือมีความรู้อย่างดีทั้งในภาษาต้นฉบับและภาษาที่ใช้แปล
1. ความหมายถูกต้อง และถูกต้องตามต้นฉบับ
2. รูปแบบที่ใช้ในฉบับแปลตรงกันกับต้นฉบับ
3. สำนวนที่ใช้สละสลวยตามระดับของภาษา
การแปลจากภาษาหนึ่งไปสู่อีกภาษาหนึ่งนั้น ผู้แปลจะต้องรักษาความหมายของต้นฉบับเดิมไว้ไม่ให้ขาดตกบกพร่อง โดยมีการปรับปรุงโครงสร้างของภาษาที่แปลที่เหมาะสม
การให้ความหมายในการแปล
การส่งสารโดยวิธีการแปลเป็นภาษาแม่ของตนให้ความหมายมี 2 ประการคือ
1. การแปลที่ใช้ประโยคต่างกันแต่มีความหมายอย่างเดียวกัน
2. การตีความหมายจากบริบทของข้อความต่างๆ
การแปลการตีความจากบริบท
ความใกล้เคียง (Context ) และความคิดรวบยอด ( Concept) ไม่ใช่แปลแบบให้ความหมายเดียวกันในรูปประโยคที่ต่างกัน (paraphasing) แต่ให้ดูสถานภาพที่เป็นอยู่ของข้อความ
การวิเคราะห์ความหมาย
สิ่งที่ต้องนำมาใช้ในการวิเคราะห์คือ
1.องค์ประกอบของความหมาย
2.ความหมายและรูปแบบ
3.ประเภทของความหมาย
องค์ประกอบของความหมายคือ
1. คำศัพท์ 2. ไวยกรณ์ 3.  เสียง
รูปแบบของภาษาแต่ละภาษามีความหมายอาจจะเป็นรูปของเสียงคำศัพท์หรือไวยากรณ์
ความหมายและรูปแบบ มีความสัมพันธ์กันดังนี้
1.  ในแต่ละภาษา ความหมาย 1 อาจจะแสดงออกได้หลายรูปแบบ
2.  รูปแบบเดียวอาจจะมีหลายความหมาย ความหมายของแต่ละรูปแบบไม่แน่นอนตายตัวเสมอไปขึ้นอยู่กับบริบทเป็นสำคัญ
ประเภทของความหมาย
1.  ความหมายอ้างอิง (referential meaning) คือสิ่งใดสิ่งหนึ่งทั้งที่เป็นรูปธรรมและนามธรรม หรือความคิด มโนภาพ
2. ความหมายแปล (Connotative meaning)หมายถึงความรู้สึกทางอารมณ์ของผู้อ่าน ผู้ฟัง
3.ความหมายตามปริบท (Contextual meaning)รูปแบบหนึ่งของภาษาจะมีหลายความหมาย
4. ความหมายเชิงอุปมา(figurative meaning)เป็นความหมายที่เกิดจากการเปรียบเทียบทั้งการเปรียบเทียบโดยเปิดเผยและการเปรียบเทียบโดยนัย
การเลือกบทแปล -ตามวัตถุประสงค์ของการสอนแปล

ความแตกต่างทางโครงสร้างของภาษาไทยกับภาษาอังกฤษ





โครงสร้าง หรือ structure เป็นสิ่งสำคัญมากในการเริยนรู้ภาษาหรือการใช้ภาษา เราพูดเป็นประโยคที่สมบูรณ์และสื่อสารกันรู้เรื่องเพราะเรารู้และเข้าใจโครงสร้างของภาษา
1. ชนิดของคำและ ประเภททางไวยากรณ์ที่สำคัญ
ชนิดของคำ(past of speech) เป็นสิ่งสำคัญโนโครงสร้าง เพราะเราสร้างประโยคเราต้องนำคำมาเรียงร้อยกันให้เกิดความหมายที่ต้องการ
สื่อสารประโยคจะถูก ไวยากรณ์เมื่อเราใช้ชนิด ของคำตรงกับหน้าที่ทางไวยากรณ์ ดังนั้น เมื่อจะสร้างประโยค จึงต้องคำนึงถึงชนิดของคำด้วยประเภททางไวยากรณ์(grammatical category) หมายถึงลักษณะสำคัญใน ไวยากรณ์ของภาโดภาษาหนึ่ง ซึ่งมักสัมพันธ์กับชนิณของคำ
เช่นในภาษาอังกฤษจะบังคับให้ระบุเวลาของเหตุการณ์ให้ชัดเจนว่าเป็นอดีตหรือไม่ใช่อดีต ส่วนภาษาไทยไม่มีการบังคับ
  1.1 คำนาม ประเภททางไวยากรณ์เป็นลักษณะสำคัญหรือมิตัวบ่งชี้ในภาษาอังกฤษแต่ไม่สำคัญในภาษาไทย เช่น บุรุษและ พจน์
       1.1.1 บุรุษ (person) ภาษาอังกฤษแยกรูปสรรพนามตามบุรุษทิ่1,2 และ 3 อย่างเด่นชัดและมีการเติม -s ที่กริยาของประธานบุรุษที่3
เอกพจน์ แต่สำหรับภาษาไทย
       1.1.2 พจน์ (number) ภาษาอังกฤษมีการบ่งชี้พจน์โดยใช้ Determiner และการเติมหน่วยท้ายศัพท์-s
แต่ในภาษาไทยไม่การบ่งชี้เช่นนั้น ตัวอย่างเช่น
            Cats are beautiful animals.
            I like elephants.
       1.2.3 การก(case) คือประเภททางไวยากรณ์ของคำนามนั้นเล่นบทบาทอะไร  ในภาษาอังกฤษ การากของคำนามมักแสดงโดยการเรียงคำ
ในภาษาไทยไม่การเติมหน่วยคำท้ายคำเพื่อการแสดงการก  แต่ใช้การเรียงคำ  เหมือนกับการก ประธานและการากกรรมในภาษาอังกฤษ ส่วนการากของภาษาไทยมีการเรียงคำต่างจากภาษาอังกฤษ เช่น เราพูดว่า"หนังสือครู"ไม่ใช่ "ครูหนังสือ"
       1.1.4 นามนับได้ กับนามนับไม่ได้ (countable and uncountable nouns)
คำนามในภาษาอังกฤษและภาษาไทยในเรื่องการแบ่งเป็น นามนับได้ แและนับไม่ได้  โดยการใช้ตัวกำหนด a/an กับนามนับได้ที่เป็นเอกพจน์
และเติม-s ที่นามนับได้พหุพจน์ ส่วนนามนับไม่ได้ต้องไม่ใช้ a/an และไม่เติม-s
ในภาษาไทยคำนามนับได้ เพราะ เรามีลักษณะนามบอกจำนวนทุกสิ่งได้
       1.1.5 ความชี้เฉพาะ(Definiteness)
การแยกความแตกต่างระหว่างนามชี้เฉพาะกับนามไม่ชี้เฉพาะ ผู้พูดภาษาอังกฤษทุกคนจะเรียนรุ้ลักษณะนี้ตั้งแต่เริ่มหัดพูดภาษาอังกฤษ  เครื่องหมายที่บ่งชี้ความชี้เฉพาะ
คือตัวกำหนด  ได้แก่ a/an บ่งชี้ความไม่ชี้เฉพาะ(indefiniteness)   และ the ซึ่งบ่งชี้ความชี้เฉพาะ(Definiteness)
  
  1.2 คำกริยา
คำกริยานับได้ว่าเป็นหัวใจของประโยค การใช้กริยาซับซ้อน
กว่าคำนาม  เพราะมีประเภททางไวยากรณ์ต่างๆเข้ามาเกี่ยวข้องหลายประเภท
          1.2.1 กาล(tense)
คำกริยาในภาษาอังกฤษต้องแสดง กาลเสมอว่าเป็นอดีตหรือไม่ใช่อดีต ผู้พูดภาษาอังกฤษไม่สามารถใช้กริยาโดยปราศจากการบ่งชี้กาล  เพราะโลกทัศน์ของพวกเขาแยกความแตกต่างระหว่างเหตูการณ์ในอดีตกับไม่ใช่อดีต
          1.2.2 การณ์ลักษณะ(aspect)
 หมายถึง ลักษณะของการกระทำ หรือเหตุการณ์ ในภาษาอังกฤษ การณ์ลักษณะที่สำคัญ ได้แก่ การณ์ลักษณะต่อเนื่อง หรือ การณ์ลักษณะดำเนินอยู่(continuous aspect)
ซึ่งแสดงโดย verb to be +present participle(-ing)  และการณ์ลักษณะเสร็จสิ้น (perfective aspect) ซึ่งเเปลโดย Verb to have+past participle   ในภาษาไทย เหตุการณ์ที่ต่อเนื่องหรือกำลังดำเนินอยู่เเสดงด้วยคำว่า "กำลัง"หรือ "อยู่" หรือใช้ทั้งคู่  ถ้าประโยคมีกริยาหลายตัว กาลของกริยาเหล่านั้นต้องสัมพันธ์กันในเรื่องเวลา
               1.2.3 มาลา (mood)
มาลา เป็นประเภททางไวยากรณ์ที่ใช้กับคำกริยา มีหน้าที่เเสดงว่าผู้พูดมีทัศนคติต่อเหตุการณ์หรือเรื่องที่พูดอย่างไร ในภาษาไทยคำกริยาไม่มีการเเสดงมาลา เเต่ในภาษาอังกฤษมี มาลาในภาษาอังกฤษเเสดงโดยการเปลี่ยนรูปคำกริยา หรืออาจเเสดงโดยคำช่วยกริยาที่เรียกว่า modal auxiliaries เช่น may ,might,can,could,should เป็นต้น
              1.2.4 วาจก (voice)
วาจก เป็นประเภททางไวยากรณ์ที่บ่งชี้ความสัมพันธ์ระหว่างประธานกับการกระทำที่เเสดงโดยคำกริยา ว่าประธานเป็นผู้กระทำหรือประธานเป็นผู้ถูกกระทำ ในภาษาไทย คำกริยาไม่มีการเปลี่ยนรูปในตัวของมันเองเพื่อเเสดงกรรตุวาจกหรือกรรมวาจก
           1.2.5 กริยาเเท้กับกริยาไม่เเท้ (finite vs. non-finite)
คำกริยาในภาษาอังกฤษต่างจากภาษาไทยมากในเรื่องการเเยกกริยาเเท้ออกจากกริยาไม่แท้กล่าวคือในหนึ่งประโยคเดี่ยวจะมีกริยาแท้เพียงตัวเดียวเท่านั้น
ในภาษาไทยไม่มีความเเตกต่างระหว่างกริยาเเท้ กับ กริยาไม่เเท้ กล่าวคือกริยาทุกตัวในประโยคไม่มีการเเสดงรูปที่ต่างกัน
             
      1.3  ชนิดของคำประเภทอื่น
คำที่เป็นปัญหาในตัวศัพท์เอง ได้เเก่ คำบุพบท ซึ่งผู้เเปลต้องมั่นสังเกตบุพบทที่ใช้ต่างกันในสองภาษา นอกจากนั้นคำบุพบทในภาษาอังกฤษสมารถห้อยท้ายวลีหรือประโยคได้เเต่ภาษาไทยไม่มีโครงสร้างเเบบนี้
          คำ adjective ในภาษาอังกฤษต้องใช้กับ verb to be เมื่อทำหน้าที่เป็นภาคเเสดงของประโยค คำอีกประเภทที่ไม่ขนานกัน ระหว่างภาษาไทยกับอังกฤษ ได้เเก่คำลงท้าย เช่น ค่ะ ครับ ซิ เป็นต้น  คำหล่าวนี้มีความหมายละเอียดอ่อนเเละในภาษาอังกฤษไม่มีคำประเภทนี้
2. หน่วยสร้างที่ต่างกันในภาษาไทยเเละภาษาอังกฤษ
หน่วยสร้าง  construction หมายถึง หน่วยทางภาษาที่มีโครงสร้าง เมื่อเปรียบเทียบหน่วยสร้างในภาษาไทยเเละภาษาอังกฤษพบว่ามีหน่วยสร้างที่ต่างกัน ดังนี้
        2.1 หน่วยสร้างนามวลี : ตัวกำหนด (determiner) + นาม (อังกฤษ) vs. นาม (ไทย)
นามวลีในภาษาอังกฤษต้องมีตัวกำหนดอยู่หน้านามเสมอ ถ้าคำนามนั้นเป็นนามนับได้เเละเป็นเอกภพ(ยกเว้นนามที่เป็นชื่อเฉพาะเเละสรรพนาม) เเต่ในภาษาไทยไม่มีตัวกำหนดมีเเต่คำบ่งชี้ซึ่งบ่งบอกความหมายใกล้ไกลเเละเฉพาะเจาะจงเราอาจเรียกคำเหล่านี้ว่าตัวกำหนด ดังนั้น เรามักพบเสมอว่าในขณะที่นามวลีในภาษาอังกฤษมีตัวกำหนดปรากฏเเต่ภาษาไทยไม่มี
        2.2 หน่วยสร้างนามวลี : ส่วนขยาย + ส่วนหลัก (อังกฤษ)  vs. ส่วนขยาย + ส่วนหลัก (ไทย)
ในหน่วยสร้างนามวลี ภาษาอังกฤษวางส่วนขยายไว้ข้างหน้าส่วนหลักส่วนภาษาไทยตรงกันข้ามเวลาเเปลจากอังกฤษเป็นไทน ถ้าส่วนขยายไม่ยาวเราเพียงเเต่ยายที่ส่วนขยายจากหน้าไปหลัง
        2.3 หน่วยสร้างกรรมวาจก (passive constructions)
        ในภาษาอังกฤษหน่วยสร้างกรรมวาจกมีรูปเเบบเด่ดชัดเเหละมีเเบบเดียวคือประธาน/ผู้รับการกระทำ+กริยา verb to be + past participle +(by + นามวลี/ผู้กระทำ)
       2.4 หน่วยสร้างประโยคเน้น supject (อังกฤษ) กับประโยคเน้น topic(ไทย)
       ภาษาไทยได้ชื่อว่าเน้น topic ตรงข้ามกับภาษาอังกฤษ ซึ่งเป็นภาษาที่เน้น subjict
       2.5 หน่วยสร้างกริยาเรียงในภาไทย(serial verb constructions)
       หน่วยสร้างคำในภาษาไทยที่ไม่มีในภาษาอังกฤษเเละมักเป็นปัญหาในการเเปลได้เเก่หน่วยสร้างกริยาเรียง ซึ่งเป็นโครงสร้างที่ประกอบด้วยกริยาตั้งเเต่สองคำขึ้นไปเรียงต่อกันโดยไม่มีอะไรขั้นกลางยกเว้นกรรมของกริยาที่มาข้างหน้า