วันเสาร์ที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

Learning Log 13 “อบรมเชิงปฏิบัติการเทคนิคการสอนภาษาอังกฤษ แบบบูรณาการทักษะ”29/10/58 (ภาคเช้า)

29/10/58 (ภาคเช้า)
            จากการได้เข้าอบรมเชิงปฏิบัติการเทคนิคการสอนภาษาอังกฤษแบบบูรณาการทักษะในครั้งนี้ตอนเช้าของการอบรมได้มีการพูดคุยกัน และเปลี่ยนทัศนคติระหว่าง ดร.สุจินต์ หนูแก้ว, ผศ.ดร.ประกาศิต และ ดร.สุทร ในหัวข้อที่ว่า สอนอย่างไรให้ “go beyong language learning” สิ่งที่ดิฉันได้เรียนรู้ คือ ปัจจุบันปะเทศพยายามให้การเรียนการสอนภาษาอังกฤษก้าวหน้าขึ้น ไม่ใช่เพียงแค่การสื่อสารเท่านั้น แต่จะต้องเชื่อมโยงกับทักษะด้านอื่นด้วย และต้องสัมพันธ์ไปถึงวัฒนธรรมต่างๆ ด้วย เช่นเดียวกับ ทฤษฎีพหุปัญญาที่ว่าทุกคนมีความสามารถหลากหลาย และแต่ละคนจะมีความสามารถแต่ละด้านต่างๆ ไม่เท่ากัน หรืออีกนัยหนึ่งอาจกล่าวได้ว่าการเรียนการสอนภาษานั้นการสื่อสาร วัฒนธรรม ข้อเปรียบเทียบและการเชื่อมโยง จะต้องนำมาใช้ในการเรียนการสอน นอกจากนี้ปัจจุบันเด็กไทยมักจะเรียนรู้ผ่านการจำมากกว่าการคิดวิเคราะห์ ในการเรียนการสอนเพื่อให้การศึกษา go beyong (ก้าวหน้า) จำเป็นต้องมีการนำทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณและการแก้ปัญหาบวกด้วยทักษะการอ่านและการเขียนด้วย
            นอกจากปัญหาที่เด็กไทยขาดการวิเคราะห์ การศึกษาในช่วงที่ผ่านมามักเป็นการแข่งขัน ในการจะทำให้การเรียนการสอนพัฒนาก้าวหน้าขึ้นนั้น ต้องมีการร่วมมือทำงานร่วม ร่วมกันพัฒนาศักยภาพของการศึกษา และการเรียนการสอน ควรจะสอนให้นักเรียนมีความเป็นผู้นำ และผู้ตามที่ดีด้วย โดยในการฝึกนั้นควรฝึกให้เป็นไปตามขั้นการเรียนรู้ของ พลูม ซึ่งได้แก่ 1. ขั้นความจำ ขั้นที่ต่ำที่สุด ขั้นที่ 2 ขั้นความเข้าใจ ขั้นที่ 3 สามารถนำความรู้ไปประยุกต์ได้และขั้นต่อไป ขั้นวิเคราะห์ ขั้นที่ 4  สังเคราะห์ และขั้นที่ 5 ประเมินค่า นอกจากนี้ในยุคของสื่อสารและเทคโนโลยี การรู้เท่าทันสื่อก็เป็นสิ่งสำคัญที่มองข้ามไม่ได้ และควรนำวัตกรรมต่างๆ มาประยุกต์กับการเรียนการสอนด้วยโดยนวัตกรรมนั้นจะต้อง ใหม่ แตกต่าง และดีกว่าด้วย
            ในการอบรมในภาคเช้านี้นอกจากความรู้ด้านงานวิจัยจากการเสวนาของ ผศ.ดร.ประภาศิต และ ดร.สุจินต์ และ ดร.สุนทรแก้ว ยังได้มีการกล่าวถึง project  ของอาจารย์ ดร.สุนทร ด้วย ซึ่งเป็น project ที่นำนักศึกษาชั้นปีที่สี่ไปฝึกงานที่ต่างประเทศนานถึงสามเดือน ดิฉันคิดว่าเป็นสิ่งที่ดีเพราะการที่นักศึกษาได้ไปเรียนรู้วัฒนธรรมและภาษาที่มีการใช้ภาษาจริง จะทำให้นักศึกษาเรียนรู้ได้มากกว่า แต่อาจารย์ สุนทรได้กล่าวว่า ผลของ project ครั้งนี้ยังเห็นผลทางภาษายังไม่ชัดเจนนัก แต่ความสามารถด้านความมั่นใจ เพิ่มขึ้น ในการเรียนรู้ในครั้งนี้สิ่งที่นักศึกษาได้จากมาเลเซีย คือได้เรียนรู้จากสิ่งแวดล้อม (Environment) ได้เรียนสำเนียงภาษา แต่สำหรับสิ่งที่เน้นคือการพูดสื่อสารให้ได้ โดยในการเรียนรู้การใช้ภาษาด้วยตนเอง (Self Knowledge learning) ได้เรียนรู้บริบทการใช้ภาษาในการท่องเที่ยว

            ดังนั้นดิฉันจึงสรุปประเด็นสิ่งที่ได้เรียนรู้จากการอบรมภาคเช้าของวันแรกในหัวข้อ Beyond language learning ได้ดังนี้ การเรียนการสอนภาษาอังกฤษให้มีการก้าวหน้าได้นั้นจะต้องมีการพัฒนาหลายๆ ด้านทั้งความคิด และการเรียนการสอนด้วย และนอกจากนี้การที่มีการสอนผ่าน สิ่งแวดล้อมและประสบการณ์จริงๆ จะยิ่งทำให้เรียนรู้ได้ดีขึ้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น