วันพฤหัสบดีที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2559

Learning Log การแปลบันเทิงคดี

การแปลบันเทิงคดี
(25/04/2559)
บันเทิงคดี หมายถึง งานเขียนประเภทที่ไม่อยู่ในประเภทของงานวิชาการและสารคดีบันเทิงคดีหมายถึงงานเขียนประเภทที่ไม่อยู่ในประเภทของงานวิชาการและสารคดี บันเทิงคดีมีหลายรูปแบบได้แก่ นิทาน นวนิยายเรื่องสั้น บทเพลง บทกวี เป็นต้น ซึ่งบันเทิงคดีเหล่านี้เป็นงานที่สร้างความความสุขความบันเทิง และสร้างอรรถรสต่างๆให้แก่ผู้อ่านผู้ฟัง ดังนั้นการแปลบันเทิงคดีนั้นจำเป็นต้องแปลให้ความรู้สึกเหล่านี้คงเหลืออยู่เหมือนเดิม และจะต้องแปลให้มีความหมายใกล้เคียงกับต้นฉบับมากที่สุด โดยการแปลบันเทิงคดีนั้นควรคำนึงถึงองค์ประกอบของงานเขียนแบบบันเทิงคดีและองค์ประกอบด้านภาษาด้วย บันเทิงคดีมีรูปแบบแตกต่างจากสารคดีทั้งในด้านเนื้อหาและองค์ประกอบทางภาษา การถ่ายทอดสาระความรู้ในงานบันเทิงคดีจะมีจุดประสงค์หลักคือการให้ความบันเทิงแก่ผู้อ่าน ดังนั้นบันเทิงคดีอาจเป็นการถ่ายทอดจินตนาการของผู้เขียนผสมผสานกับความเป็นจริงของสังคม ผู้แปลจึงต้องศึกษาและฝึกแปลภาษาแบบบันเทิงคดีอย่างจริงจังโดยต้องคำนึงถึงองค์ประกอบสำคัญ 2 ประการคือ องค์ประกอบด้านภาษาและองค์ประกอบอื่นๆนั่นก็คือ อารมณ์และท่วงทำนองของงาน ซึ่งจะต้องสะท้อนออกมาในด้านของภาษา
องค์ประกอบด้านภาษาที่เกี่ยวข้องกับการแปลงานบันเทิงคดีนั้นสามารถแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ การใช้สรรพนามและคำเรียกบุคคล การใช้ความหมายแฝงและ ภาษาเฉพาะวรรณกรรม สำหรับการใช้ความหมายแฝงนั้น คำศัพท์ในภาษาใดๆๆก็ตามจีทั้งความหมายตรงหรือความหมายตามตังอักษร และมรคำศัพท์อีกจำนวนมากที่มีความหมายแฝง เช่นคำว่า ไก่ ความหมายตรงตัวคือ สัตว์ปีกชนิดหนึ่ง แต่มีตวมหมายแฝงคือ หญิงสาวอ่อนต่อโลก และคำว่า chicken  ความหมายตรงตัวในภาษาไทยคือไก่ซึ่งเป็นสัตว์ปีกชนิดหนึ่ง แต่สามารถแปลเป็นความหมายแฝงได้ว่า ขี้ลาดตาขาว ดังนั้น ในการแปลงานบันเทิงคดีผู้แปลต้องใส่ใจคำศัพท์ทุกตัวรวมถึงต้องใช้ความสามารถ ปฏิภาณไหวพริบ จิตนาการและวิจารณญาณเพื่อตัดสินว่าคำศัพท์มีความหมายแฝงใดบ้าง ผู้แปลควรพิจารณาต้นฉบับอย่างรอบคอบ ทำความเข้าใจเนื้อหา และไม่ควรใช้พจนานุกรม 2 ภาษา เพียงอย่างเดียว และควรค้นหาความรู้จากหนังสืออ้างอิอื่นประกอบด้วย
รูปแบบภาษาเฉพาะของบันเทิงคดีมีหลายรูปแบบ รูปแบบเฉพาะที่เรียกว่าโวหาร ภาพพจน์ เช่นโวหารอุปมาอุปมัย (simile) อุปลักษณ์ (metaphor) เป็นต้นซึ่งภาษากลุ่มนี้จะสะท้อนวัฒนธรรมต่างๆลงไปในตัวภาษาแต่ละภาษามีวัฒนธรรมเฉพาะของชาติตนที่จนชาติอื่นไม่มี เมื่อความเป็นเอกลักษณ์ของชาติสะท้อนออกมาในวันภาษาหนึ่งและคนชาติอื่นๆซึ่งมีลักษณะดังกล่าวมานั้นซึ่งอาจไม่เข้าใจหรือเข้าใจผิดได้ ดังนั้นในการแปลภาษาคนนี้ผู้แปลจึงต้องศึกษารายละเอียดของวัฒนธรรมภาษาทั้งในภาษาไปและภาษามาอย่างลึกซึ้ง โวหารภาพพจน์อาจปรากฏในการเขียนปกติหรือการเขียนเฉพาะอย่างเช่นปรากฏในสุภาษิต คำคม คำพังเพย โวหารอุปมาอุปไมยเป็นโวหารภาพพจน์ที่ปรากฏบ่อย
โวหารอุปมาอุปไมย (simile) คือการสร้างภาพพจน์ โดยใช้กลวิธีการเปรียบเทียบเพื่อชี้แจงอธิบายหรือเน้นสิ่งที่กล่าวถึงให้ชัดเจนและเห็นภาพพจน์มากขึ้น ข้องสังเกตของอุปมาอุปมัยทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษมักมีคำที่ใช้เป็นลักษณะเฉพาะ อย่างเช่น ดัง ดั่ง เป็นดัง เหมือน เปรียบเหมือน เหมือนกับ(ว่า) ราวกับ เปรียบประดุจ เหมือนดั่ง เสมอ เฉกเช่น และในภาษาอังกฤษ เช่น be  (is, are, was, were ), be like, as…as โวหารอุปมาอุปไมยทั้งนั้นภาษาไทยและภาษาอังกฤษมักเกี่ยวข้องกับการเปรียบเทียบคำนามกับคำนามและเปรียบเทียบคำกริยากับคำกริยา   ส่วนรูปแบบโวหารอุปลักษณ์ (metaphor) หมายถึงการเปรียบเทียบความหมายของ 2 สิ่งโดยนำความเหมือนและความไม่เหมือนของสิ่งหนึ่งเปรียบเทียบมากล่าว เช่น เงินตราคือพระเจ้า เขาเป็นแก้วตาดวงใจของพ่อแม่ สำนวนอุปลักษณ์จำนวนมากมีลักษณะเฉพาะในภาษานั้นๆทั้งนี้ สำนวนอุปลักษณ์เกิดจากความสามารถของนักประพันธ์ในการประดิษฐ์ภาษาขึ้นใช้ในงานระพันธ์ของตน
การแปลโวหารอุปมาอุปไมยและโวหารอุปลักษณ์ที่ปรากฏในภาษาไทยเป็นภาษาอังกฤษ ผู้แปลต้องคำนึงถึงความจริงบางประการประการแรกคือภาษาใดๆเป็นเครื่องสื่อสารซึ่งถ่ายทอดความหมายและวัฒนธรรมของชาตินั้น ดังนั้นโวหารอุปมาอุปไมยหรือโวหารอุปลักษณ์ที่มีความหมายเหมือนกันและใช้คำศัพท์เดียวกัน 2 ภาษาจึงมีจำนวนไม่มากนัก ผู้แปลต้องปรับโวหารเหล่านี้ให้เหมาะสมกับวัฒนธรรมของภาษาแปลโดยยึดหลักรูปแบบภาษาสอดคล้องกันและความหมายเหมือนกันทั้งสองภาษา ผู้แปลต้องแปล โวหารอุปมาอุปไมยนั้นตามตัวอักษรเท่านั้น สืบค้นโวหารอุปมาอุปไมยและโวหารอุปลักษณ์ที่ปรากฏในงานเขียนชนิดต่างๆในภาษาแปล แล้วศึกษาว่าความหมายควรแปลได้ หรือควรตัดทิ้งโดยไม่ให้เสียอรรถรสของต้นฉบับ
งานบันเทิงคดีจะมีจุดประสงค์หลักคือการให้ความบันเทิงแก่ผู้อ่าน ดังนั้นบันเทิงคดีอาจเป็นการถ่ายทอดจินตนาการของผู้เขียนผสมผสานกับความเป็นจริงของสังคม ผู้แปลจึงต้องศึกษาและฝึกแปลภาษาแบบบันเทิงคดีอย่างจริงจังโดยต้องคำนึงถึงองค์ประกอบสำคัญ 2 ประการคือ องค์ประกอบด้านภาษาและองค์ประกอบอื่นๆนั่นก็คือ อารมณ์และท่วงทำนองของงาน ซึ่งจะต้องสะท้อนออกมาในด้านของภาษาการแปลบันเทิงคดีนั้นจำเป็นต้องแปลให้ความรู้สึกเหล่านี้คงเหลืออยู่เหมือนเดิม และจะต้องแปลให้มีความหมายใกล้เคียงกับต้นฉบับมากที่สุด



Learning Log การถ่ายทอดตัวอักษร (Transliteration)

การถ่ายทอดตัวอักษร (Transliteration)
(21/03/2559)
การถ่ายทอดตัวอักษร หมายถึง การนำคำในภาษาหนึ่งมาเขียนด้วยตัวอักษรของอีกภาษาหนึ่งโดยพยายามให้การเขียนในภาษาใหม่นี้ถ่ายทอดเสียงของคำในภาษาเดิมให้ใกล้เคียงที่สุดเท่าที่จะทำได้ การถ่ายทอดตัวอักษรที่มีบทบาทในการแปลภาษาหนึ่งไปอีกภาษาหนึ่งในเมื่อในภาษาต้นฉบับมีความพิเศษแทนชื่อเฉพาะของสิ่งต่างๆ เมื่อคำในภาษาต้นฉบับมีความหมายอ้างอิงถึงสั่งที่เป็นรูปธรรม หรือนามธรรมที่ไม่มีในสังคมของภาษาไทยจึงไม่มีการเทียบเคียงให้ เช่น คำที่ใช้เรียกต้นไม้ สัตว์ และกิจกรรมบางชนิด  ความคิดบางประเภทซึ่งมีในภาษาอังกฤษแต่ไม่มีในภาษาไทยเนื่องจากยังไม่มีการบัญญัติศัพท์ขึ้นในกรณีเช่นนี้ผู้ไปอาจแก้ปัญหาได้ 2 ประการคือใช้วิธีคำนิยามหรือคำอธิบายที่บอกลักษณะตรงกับคำเดิมนั้นหรือใช้คำทับศัพท์ในการถ่ายทอดเสียงของคำผู้แปลควรยึดหลักปฏิบัติในการถ่ายทอดเสียง
หลักปฏิบัติในการถ่ายทอดเสียง คือ ให้อ่านคำนั้นด้วยรู้ว่าคำนั้นออกเสียงอย่างไรประกอบด้วยเสียงอะไรบ้างแล้วหาตัวอักษรในภาษาฉบับแรกที่มีเสียงใกล้เคียงกันมาเขียนแทนเสียงนั้นๆ ภาษาทุกภาษาจะมีเสียงพยัญชนะและสระลงกันเป็นส่วนมากและผู้แปลจะหาตัวอักษรมาเขียนแทนได้เลยเช่นการใช้ "พ"ในการแสดงเสียงแรกในคำว่า Paul แต่ก็จะมีเสียงจำนวนหนึ่งซึ่งไม่มีตัวอักษรที่แทนเสียงตรงกับในฉบับแปลในกรณีนี้ให้หาตัวอักษรตัว 1 หรือ 2 ตัวเรียงกันที่มีเสียงใกล้เคียงที่สุดมาเขียนแทน เสียงบางประเภทจะไม่มีใช้ในภาษาหนึ่งและหรือมีก็เทียบเคียงไม่ได้เช่นเสียงหนักเบาในคำภาษาอังกฤษซึ่งไม่มีในภาษาไทยหรือเสียงวรรณยุกต์ ประจำพยางค์ซึ่งมีในภาษาไทยแต่ไม่มีในภาษาอังกฤษโดยไม่จำเป็นต้องคิดหาเครื่องใหม่มาใช้ในการเขียนดังนั้นการถ่ายทอดเสียงของคำภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทยไม่จำเป็นต้องมีเครื่องหมายบอกเสียงหนักเบาหรือไม่จำเป็นต้องใช้วรรณยุกต์แทนเสียงสูงต่ำ เมื่อกำหนดตัวอักษรตัวใดตัวหนึ่งแทนเสียงใดเสียงหนึ่งแล้วให้ใช้ตัวนั้นตลอดไปในบทแปลบทเดียวกันต้องใช้หลักการถ่ายทอดเสียงอย่างเดียวกัน


ตัวอย่างการถ่ายทอดเสียงพยัญชนะภาษาไทยกับภาษาอังกฤษ

ตัวอักษรไทย
ตัวอักษรอังกฤษ

ตัวอย่าง
ต้นพยางค์
กลางพยางค์
ท้ายพยางค์
ก                   [k]

, , ต          [kh]

ง                   [ŋ]
ศ ษ ส           [s]
k-

kh-

ng-
s-

-k
-g
-k

-ng
-s
กานดา            Kanda
บุนนาค           Bunnag
แขไข              Khaekhai
ภัคคินี             Phakkhini
งาม                 Ngam
แสงเดือน       Saengduean
ประภาศน์      Prapas


ตัวอย่างการถ่ายทอดเสียงสระภาษาไทยกับภาษาอังกฤษ
สระไทย
สระอังกฤษ
ตัวอย่าง
อิ
อี
อึ
อือ
อุ
อู
เอะ, เอ
i
i, ee
ue
ue
u
u, oo
e

      จิตศจี            Jitsajee
      สมนึก          Somnuck
      บันลือ          Bunlue
      กุสุมาลย์  Kusumal, Kusuman
      บุณชู           Bunchoo
      เพ็ญจันทร์    Phenjan



            ดังนั้นในถ่ายทอดเสียงทั้งพยัญชนะและสระนั้นควรมีการการให้ถูกต้องและตรงตามเสียงและพยัญชนะของภาษาที่ถอด ซึ่งการถ่ายทอดเสียงนี้สามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการแปลภาษาได้ ในกรณีคำหรือวลีที่แปลนั้นเป็นภาษาเฉพาะ ชื่อเฉพาะ คำที่มีความหมายอ้างอิงถึงสั่งที่เป็นรูปธรรม หรือนามธรรมที่ไม่มีในสังคมของภาษาไทยจึงไม่มีการเทียบเคียงให้ได้ ในการถอดก็ควรเลือกพยัญชนะ และสระให้เหมาะสมกับเสียงของภาษาที่จะแปลด้วย

Learning Log ภาษาไทยที่เป็นธรรมชาติ

ภาษาไทยที่เป็นธรรมชาติ
(14/03/2559)
            งานแปลที่ดีจำเป็นต้องเขียนด้วย ภาษาไทยที่เป็นธรรมชาติ ซึ่งก็หมายถึง ภาษาเขียนและภาษาพูดที่คนไทยทั่วไปใช้กันจริงในสังคมไทย ทั้งนี้เพื่อให้คนไทยและผู้อ่านผู้ใช้งานสามารถเข้าใจได้ทันทีไม่มีอุปสรรคในการรับสารที่สื่อจากบทแปล อ่านแล้วเข้าใจ ความหมายของภาษายังคงความหมายเดิม นักแปลต้องพิจารณาในการเขียนบทแปลด้วยภาษาไทยที่เป็นธรรมชาตินั้นจะต้องอาศัยองค์ประกอบย่อยของการแปล ได้แก่ คำ ความหมาย การสร้างคำ และสำนวนโวหาร ซึ่งเป็นองค์ประกอบสำคัญอย่างยิ่งของการแปล
            คำและความหมาย คำบางคำมีความหมายแตกต่างกัน คำหนึ่งคำมีทั้งความหมายตรงและความหมายแฝงหรือความหมายเปรียบเทียบ ซึ่งหากต้องการเข้าใจความหมายอย่างชัดเจน จำเป็นต้องดูจากบริบทรอบๆด้วย คำบางคำที่มีความแตกต่างกันไปตามยุคสมัย ในอดีตมีความหมายอีกอย่างหนึ่ง แต่ในปัจจุบันแตกต่างไปเป็นอีกอย่างหนึ่ง ยกตัวอย่าง คำว่า กู เดิมเป็นคำสามัญที่ใช้พูดจากันทั่วไป แต่ปัจจุบันเป็นคำหยาบ บางครั้งในการพูดหรือการเขียนที่ต้องการแสดงอารมณ์ อาจจะนำคำที่มีความหมายไม่ใช่ให้เกิดความหมายที่ดีขึ้นได้ เช่น เก่งบรรลัย มีความหมายว่า เก่งมาก แล้วยังมีองค์ประกอบย่อยคือ การสร้างคำ ซึ่งจะทำให้เราเข้าใจความหมายของภาษามากยิ่งขึ้น
            การสร้างคำกริยาคือเสริมท้ายคำกริยาด้วยคำกริยา บางครั้งอาจจะเห็นว่าทำให้ภาษายุ่งยาก อย่างไรก็ตามบางครั้งก็ชัดเจนมากขึ้น ถ้าเราเข้าใจความหมายที่แท้จริงดั้งเดิมของมัน คำกริยาส่วนมากที่จะนำมาเสริมท้ายนั้น ได้แก่ ขึ้น ลง ไป มา จะไม่มีความหมายเดิมเหลืออยู่เลย แต่กลายเป็นคำบอกปริมาณและทิศทาง ยกตัวอย่างเช่น ทำขึ้น ช้าลง จากไป กลับมา ซึ่งมาการนำคำ ไป มา ขึ้น ลง มาคู่กัน จะหมายความว่าการทำซ้ำๆ บ่อยๆ เช่น เดินไปเดินมา และนอกจากนี้ยังมีการเข้าคู่คำ คือการนำหลายคำมาคู่กันเพื่อให้ได้คำใหม่โดยมีความหมายใหม่หรือมีความหมายเดิม ยกตัวอย่างเช่น คู่คำพ้องความหมายจะเป็นคำในภาษาเดียวกัน หรือคำต่างประเทศ หรือคำภาษาถิ่นก็ได้ ส่วนมากความหมายจะคงเดิม เช่น ทรัพย์สิน เสื่อสาด
            ต่อมาในเรื่องของสำนวนโวหาร ในการแปลขั้นสูงนั้นผู้แปลจะต้องรู้จักสำนวนการเขียน ซึ่งมีการใช้สำนวนโวหารหลายๆแบบ ซึ่งการอ่านจะทำให้เราคุ้นเคยกับสำนวนโวหารแบบต่างๆ แต่สำนวนไทยมักจะถูกละเลยหลงลืมจนกลายเป็นสิ่งเข้าใจยากสำหรับคนไทย ดังนี้ สำนวนประกอบด้วยคำว่า ให้  ให้ ในสำนวนเช่นนี้ไม่มีความหมายเหมือนเมื่อเป็นกริยาสำคัญ ยกตัวอย่างเช่น ให้เขาไปเถอะ ให้ในที่นี้แปลว่า อนุญาต แต่มีความหมายอย่างอื่นดังต่อไปนี้ ได้แก่ จนกระทั่ง เช่นในสำนวนว่า รับประทานให้หมด ฟังให้จบ ดูให้ทั่ว อีกความหมายหนึ่ง กับแก่ คำที่ตามหลัง ให้ทำหน้าที่เป็นกรรมรอง เช่น พ่อค้าขายของให้ลูกค้า คุณพ่อซื้อของขวัญให้ลูก ความหมายสุดท้าย เพื่อที่จะให้เป็นส่วนหนึ่งของวลีที่ทำหน้าที่ขยายกริยา ในกรณีเช่นนี้ ให้ จะวางอยู่ข้างหน้าคำคุณศัพท์ เช่น แต่งตัวให้สบาย เรียนให้เก่ง ดูให้ดี เดินให้เรียบร้อย พูดให้ชัด
            สำนวนที่มีคำซ้ำ หรือหมายถึงทั้งคำเดียวซ้ำกัน (ซ้ำรูป) และคำที่มีความหมายเหมือนกัน (ซ้ำความหมาย) การใช้คำซ้ำมีทั้งดีและเสียปนกันประดุจดาบสองคม ถ้าไม่ระมัดระวังจริงๆทั้งๆที่ตั้งใจจะให้ดีก็อาจกลายเป็นเสียไปได้ ส่วนดีของการใช้คำซ้ำ คือ เพื่อความไพเราะ คำสั้นๆ ถ้ามีการซ้ำรูปจะทำให้สียงทอดยาว อ่อนสลวย ไม่ฟังดูห้วน เพื่อให้ความหมายอ่อนลง เช่น พูดดีๆ นั่งเฉยๆ มักจะใช้กับประโยคคำสั่งเพื่อคลายความบังคับลงให้กลายเป็นขอร้อง บางครั้งการใช้คำซ้ำในกรณีเช่นนี้แสดงความไม่หนักแน่น ไม่แน่ใจ ไม่ปักใจ เพื่อให้ได้คำใหม่ๆใช้ ยกตัวอย่างสำนวนที่ดี เหน็ดเหนื่อยเมื่อยล้า บ้านช่องห้องหอ อาคารบ้านเรือน ห้อยโหนโยนตัว เป็นต้น
โวหารภาพพจน์ กวีมักจะสร้างภาพพจน์อย่างกว้างขวางสลับซับซ้อน ถ้าผู้อ่านมีความรู้ด้านนี้น้อยก็จะอ่านงานเขียนไม่เข้าใจ ดังนั้น เราควรศึกษาแนวคิดในการใช้โวหารภาพพจน์ ซึ่งทั้งผู้เขียนทั้งเก่าและใหม่ทุกชาติ ทุกภาษาใช้ร่วมกัน ดังนี้ โวหารอุปมา (Simile) เป็นการสร้างภาพพจน์ด้วยการเปรียบเทียบ มีจุดมุ่งหมายเพื่อการชี้แจงอธิบาย โวหารต่อมาคือ โวหารอุปลักษณ์ (Metaphor) เป็นการเปรียบเทียบความหมายโดยนำความเหมือนกับไม่เหมือนมาเปรียบเทียบ โวหารเย้ยหยัน (Irony) คือการใช้ภาษาด้วยอารมณ์ขันเพื่อการเย้ยหยันเหน็บแนม โวหารขัดแย้ง (Contrast or Antithesis) คือการใช้คำที่มีความหมายตรงข้ามกันเรียงต่อกันโดยรักษาสมดุลไว้ โวหารที่ใช้ส่วนหนึ่งแทนทั้งหมด (Metonymy) โดยการนำคุณสมบัติสิ่งหนึ่งมาแทนทั้งหมด โวหารบุคลาธิษฐาน (Personification) คือการนำสิ่งต่างๆที่ไม่มีชีวิตรวมทั้งความคิด การกระทำและนามธรรม โวหารที่กล่าวเกินจริง (Hyperbole) โวหารแบบนี้มีจุดประสงค์ที่จะเน้นให้เห็นความสำคัญ ชี้ให้ชัดเจนและชัดเจนมากขึ้น
            ดังนั้นส่วนของลักษณะที่ดีของโวหาร ในหนังสือที่แต่งดีนั้น มักจะประกอบด้วยสำนวนโวหารที่มีลักษณะที่ดีดังต่อไปนี้ ถูกต้องตามหลักภาษานั่นคือการไม่ขัดกับหลักไวยากรณ์ ถึงแม้จะพลิกแพลงบ้างแต่ยังคงความหมายเดิมอยู่ ไม่กำกวม สำนวนโวหารที่ดีจะชัดเจน แม่นยำ มีความชัดเจนต่อมาคือ มีชีวิตชีวาคล้ายๆกับคำว่า ภาษามีชีวิต สามารถดิ้นได้ ชวนให้ผู้อ่านรู้สึกกระตือรือร้น มีความรู้สึกอยากอ่านต่อ และลักษณะที่ดีของโวหารข้อสุดท้าย คือ น่าเชื่อถือ มีเหตุผลรอบคอบ ไม่มีอคติ ไม่สร้างความสับสนให้ผู้อ่าน และเกิดความประทับใจในการอ่านเรื่องนั้นๆอีกข้อของลักษณะที่ดีของโวหาร คือ คมคายเฉียบแหลม นั่นคือการใช้คำพูดที่เข้มข้น หนักแน่น แต่แฝงข้อคิดที่ฉลาด สามารถนำมาเตือนสติได้ ซึ่งภาษาเหล่านี้เราสามารถนำมาประยุกต์กับการแปลได้อย่างมากมาย


Learning Log Text Types (ชนิดของงานเขียน)

Text Types (ชนิดของงานเขียน)
(14/03/2559)
            งานเขียนนั้นมีหลายประเภท ซึ่งแต่ละประเภทของงานเขียนนั้นจะมีจุดประสงค์หรือจุดมุ่งหมายที่แตกต่างกัน ซึ่งการเขียนนั้นเป็นเขียนเพื่อให้ข้อมูล เพื่อโน้มน้าว จูงใจและเพื่อสร้างความบันเทิง นอกจากนนี้ยังการแสดงความคิด ความรู้สึก ความรู้ ให้ปรากฏเป็นลายลักษณ์อักษรเพื่อสื่อความหมายให้ผู้อ่านเข้าใจในเจตนาของผู้เขียน ถึงแม้จุดมุ่งหมายจะแตกต่างกันไปแต่ละประเภทแต่สิ่งที่งานเขียนต้องมีเหมือนกันนั้นคือความชัดเจน ผู้เขียนต้องเลือกใช้คำที่มีความหมายที่ชัดเจน เข้าใจง่าย ไม่คลุมเครือหรือกำกวม มีความถูกต้องของภาษา ความนิยมและความเหมาะสมกับกาลเทศะ  ส่วนของเนื้อหานั้นจะต้องกะทัดรัด ท่วงทำนองการเขียนจะต้องมีลักษณะใช้ถ้อยคำน้อยแต่ได้ความหมายชัดเจน มีน้ำหนัก งานเขียนที่ดีต้องมีลักษณะเร้าความสนใจ สร้างความประทับใจ ซึ่งเป็นผลมาจากการเน้นคา การเรียงลำดับคำในประโยค การใช้ภาพพจน์ มีความเรียบง่าย งานเขียนที่ใช้คำธรรมดาที่เข้าใจง่าย ไม่ใช้คำฟุ่มเฟือย ไม่เขียนอย่างวกวน ไม่ใช้คำปฏิเสธซ้อนปฏิเสธ จะมีผลทำให้ผู้อ่านเกิดความเข้าใจและเกิดความรู้สึกกับงานเขียนนั้นได้ง่าย จึงสามารถแบ่งประเภทของงานเขียนได้ดังนี้
การเขียนแบบบรรยาย ( Descriptive writing) ในการเขียนเรียงความเชิงพรรณนา จะต้องถ่ายทอดให้เห็นเสมือนได้สัมผัส มองเห็น ได้กลิ่นการได้ยินหรือได้รสชาติ ถ่ายทอดความรู้สึกให้ผู้อ่านมองเห็นภาพ สัมผัสได้และเพื่อให้ข้อมูลเพื่อสร้างความน่าสนใจให้กับผู้อ่าน การตอบคำถามใคร อะไร เมื่อไหร่ ที่ไหน และทำไม เป็นการนำเสนอให้เห็นว่าหัวข้อแต่ละอย่างมีความแตกต่างกันเช่นไร ควรให้ผู้อ่านได้ใช้ความรู้สึกและประสบการณ์เพื่อทำความเข้าใจกับเรื่องราวที่เล่า หัวข้อของเราต้องสร้างโดยใช้ความหมายและเรื่องราวที่แตกต่าง ใช้ข้อมูลเป็นตัวช่วยในการอธิบายและวิเคราะห์งานเขียนเชิงบรรยายของเรา
            การเขียนเล่าเรื่อง ( Narrative writing) เป็นข้อเขียนที่เล่าเรื่องราวที่เป็นจริงหรือแต่งขึ้น ประกอบด้วย การเล่าเรื่องชีวประวัติ ของบุคคลต่างๆ เป็นการเล่าเรื่องเกี่ยวกับประสบการณ์สำคัญของชีวิตบุคคล การเล่าเรื่องที่เป็นบันเทิงคดี (Fictional narrative) เป็นการเล่าเรื่องที่ผู้เขียนแต่งขึ้น และการเล่าเรื่องส่วนบุคคล  (Personal narrative)  เป็นการเล่าเรื่องเกี่ยวกับประสบการณ์สำคัญในชีวิตของผู้เขียน งานเขียนอธิบาย (Expository) เป็นข้อเขียนที่อธิบายหรือบอกถึงสารสนเทศ ประกอบด้วย เรียงความเปรียบเทียบความเหมือนและความต่าง (Compare-contrast essay) เป็นข้อเขียนที่แสดงถึงความคล้ายคลึงและความแตกต่างระหว่างสิ่งสองสิ่ง 
            งานเขียนที่เป็นสารสนเทศ (Information report) เป็นข้อเขียนที่ให้สารสนเทศตามลำดับที่เป็นเหตุผลเป็นการรายงานข้อมูล จะระวังในเรื่องของการวางแผนดำเนินเรื่อง แต่ละเนื้อหาจะเชื่อโยงกันเป็นพารากราฟ ใช้ present tense ในการแต่งประโยค โทนของเรื่องจะกล่าวถึงบุคคลที่สาม และจะสรุปใจความสำคัญไว้ในประโยคสุดท้าย Explanation เป็นงานเขียนชนิดที่มีลักษณะคือเป็นการอธิบายแผนภูมิ ตาราง ใช้ ใช้ present tense ในการแต่งประโยค  มี คำศัพท์เฉพาะที่ใช้ในการอธิบาย มีเหตุและผลสอดคล้องกัน การเขียนโน้มน้าว (Persuasive) เป็นข้อเขียนที่นำเสนอความคิดเห็นของผู้เขียนและพยายามโน้มน้าวให้ผู้อ่านเห็นด้วย ประกอบด้วย เรียงความที่เป็นความคิดเห็น (personal response) เป็นข้อเขียนที่แสดงความคิดเห็น ทรรศนะ หรือความเชื่อของผู้เขียนที่ไม่อาจพิสูจน์ได้ว่าเป็นข้อเท็จจริง เรียงความที่กล่าวถึงปัญหาและการแก้ไข (Problem-solution) เป็นข้อเขียนที่กล่าวถึงปัญหาและโน้มน้าวผู้อ่านให้เชื่อว่า วิธีการแก้ปัญหาของผู้เขียนสามารถแก้ปัญหาได้ เรียงความที่กล่าวถึงการสนับสนุนและการคัดค้าน (Pro-con essay) เป็นข้อเขียนที่ประเมินข้อดี ข้อเสียของความคิดหรือสถานการณ์ ชนิดงานงานเขียนเกี่ยวกับวิธีการ (procedure) เป็นข้อเขียนที่บอกผู้อ่านถึงวิธีการทำ สิ่งใดสิ่งหนึ่งอย่างมีขั้นตอนและหลักปฏิบัติ
            สำหรับงานเขียนประเภทที่มีรูปแบบกำหนด หรือที่เรียนกันว่า Teat types with specific formats จะมีงานเขียนประเภทดังต่อไปนี้ the personal letter จดหมายส่วนตัว เป็นจดหมายส่วนตัวของบุคคลใดบุคคลหนึ่งเพื่อส่งต่อให้อีกคนหนึ่ง งานเขียนชนิดนี้จะต้องมีความชัดเจนทางด้านเนื้อหา พร้อมทั้งชัดเจนทางด้านรูปแบบของจดหมาย  the envelope จดหมายธุรกิจ the formal letter จดหมายเฉพาะกิจเป็นจดหมายที่รูปแบบต้องชัดเจน มีคำนำ เนื้อเรื่อง สรุป และคำจบท้ายอย่างชัดเจน letter to the editor งานเขียนประเภทนี้จะเป็นงานเขียนที่ใช้เยอะ จะแสดงมุมมองสำคัญอย่างชัดเจน เขียนอย่างมีความสัมพันธ์กัน postcards การเขียนโปสการ์ด เขียนเพื่อสรุป เชื่อความสัมพันธ์ มิตรภาพอย่างไม่เป็นทางการระหว่างบุคคล
            diary extract เป็นการเขียนประสบการณ์ของแต่ละบุคคล แสดงความคิดเห็นรวมทั้งอารมณ์ ความรู้สึก interviews  เป็นการสัมภาษณ์เพื่อให้ได้ข้อมูลบางอย่างที่ต้องการพร้อมทั้งจดบันทึกอย่างละเอียด  script writing เป็นการเขียนสคริปต์งานต่างๆ จะต้องมีการเขียนที่คำนึกถึงระดับภาษาอีกด้วยพร้อมทั้งเวลา สถานที่ ตัวละคร รวมถึงพล็อตของเรื่องอีกด้วย feature article บทความสารคดีจะเป็นการเขียนระดับทางการหมายของผู้เขียนอีกด้วยและโทนของเรื่องจะต้องตอบสอนงต่อจุดมุ่งหมายของผู้เขียนอีกด้วย editorial บทวิพากษ์วิจารณ์จะเขียนโดยใช้ระดับภาษาของผู้เขียน มีหลากหลายประโยค มีจำนวนคำพอดีกับเนื้อหา มีคำนำ เนื้อหา และสรุปและจะมี linking word เพื่อบอกลำดับขั้นตอนของเนื้อหา  pamphlet แผ่นปลิว จะเป็นการสรุปของเนื้อหาที่ต้องการเผยแพร่โดยจะสั้นกะทัดรัดและได้ใจความสำคัญของเรื่อง advertising  โฆษณาสำหรับการเขียนโฆษณานั้นจะต้องน่าสนใจ อธิบายสิ่งที่ต้องการสื่ออย่างชัดเจนมีกลุ่มเป้าหมายที่ต้องการสื่อ
            งานเขียนประเภทกลอนหรือกวี (Poetry writing) สามารถแบ่งลักษณะของประเภทกวีหรือกลอนได้ดังต่อไปนี้ The word poem จะเป็นการที่หนึ่งคำและสร้างเพิ่มจำนวนคำขึ้นไปเรื่อยๆ จากหนึ่งไปสองคำ จากสองคำไปยังสามคำ เป็นอีกหลายคำ the syllable poem จะเป็นการนับพยางค์แล้วนำพยางค์ของคำมาเว้นช่วงจังหวะให้ไพเราะ จะมีลักษณะพิเศษของกวีนั้นคือจะนับพยางค์ของแต่ละบรรทัดโดยจะใช้พยางค์แต่ละบรรทัดดังนี้คือ 5 ; 7; 5  The shape poem เป็นการใช้คำที่ทำให้มองเห็นภาพ สามารถจินตนาการตามได้และเข้าถึงอารมณ์ได้ Rhyming poetry เป็นจังหวะหรือช่วงทำนองของกลอนหรือกวีนั้นๆเพื่อเพิ่มความไพเราะของงานกวี
            การวิเคราะห์วิจารณ์งานเขียน เป็นข้อเขียนที่กล่าวถึง  การสำรวจตรวจสอบเกี่ยวกับแก่นของเรื่อง (Theme) โครงเรื่อง (Plot) ตัวละครและด้านอื่นๆของบทในหนังสือ หนังสือทั้งเล่มหรือเรื่องที่อ่าน รวมทั้งคำประพันธ์ประกอบร้อยกรอง ประกอบด้วย การบรรยายสั้นๆ เกี่ยวกับตัวละครเป็นข้อเขียนที่เน้น การบรรยายถึงตัวละครสำคัญๆ การสรุปโครงเรื่อง (Plot summary) เป็นข้อเขียนที่บอกให้ทราบว่ามีอะไรเกิดขึ้น ในเรื่องการวิเคราะห์แก่นของเรื่อง (Theme analysis) เป็นข้อเขียนที่เน้นถึงสาระเกี่ยวกับชีวิตที่ผู้เขียนเสนอในเรื่อง และการเขียนรายงานการศึกษาค้นคว้า (Research) เป็นข้อเขียนที่นำเสนอสารสนเทศ         
            รูปแบบการเขียนต่างๆมีความแตกต่างกัน โดยจุดประสงค์ในแต่ละประเภทก็ย่อมมีความแตกต่างเช่นกัน การเขียนตามรูปแบบการเขียนที่หลากหลายมีลักษณะแตกต่างกันไป แต่ละประเภทของงานเขียนนั้นจะมีจุดประสงค์หรือจุดมุ่งหมายที่แตกต่างกัน ซึ่งการเขียนนั้นเป็นเขียนเพื่อให้ข้อมูล เพื่อโน้มน้าว จูงใจและเพื่อสร้างความบันเทิง นอกจากนนี้ยังการแสดงความคิด ความรู้สึก ความรู้ ให้ปรากฏเป็นลายลักษณ์อักษรเพื่อสื่อความหมายให้ผู้อ่านเข้าใจในเจตนาของผู้เขียน ถึงแม้จุดมุ่งหมายจะแตกต่างกันไปแต่ละประเภทแต่สิ่งที่งานเขียนต้องมีเหมือนกันนั้นคือความชัดเจน ผู้เขียนต้องเลือกใช้คำที่มีความหมายที่ชัดเจน เข้าใจง่าย ไม่คลุมเครือหรือกำกวม มีความถูกต้องของภาษา ความนิยมและความเหมาะสมกับกาลเทศะ  ส่วนของเนื้อหานั้นจะต้องกะทัดรัด ท่วงทำนองการเขียนจะต้องมีลักษณะใช้ถ้อยคำน้อยแต่ได้ความหมายชัดเจน


Learning Log Model 1 Relations between ideas

Model 1 Relations between ideas (29/02/2559)
การเขียน Essay หรือการเขียนความเรียงไม่ว่าจะเป็นภาษาอังกฤษหรือภาษาไทยนั้น จำเป็นต้องเขียนให้มีความถูกต้อง ตรงประเด็น และทำให้คนอ่านเข้าใจในบริบทที่เราต้องการสื่อสาร จำเป็นต้องใช้การสั่งสมด้วยการอ่านบทความ หนังสือพิมพ์ และฝึกฝนการเขียนของเราให้สม่ำเสมอ ดังนั้นจึงจำเป็นที่ผู้เขียนต้องวางแผนการเขียนให้รัดกุม จัดแบ่งย่อหน้าให้ชัดเจนก่อนเริ่มลงมือเขียนในการเขียนเรียงความแต่ละครั้ง ในการเขียนนั้นสิ่งที่จำเป็นต่องานเขียนนั่นคือกลวิธีหรือลำดับขั้นตอนของการเขียนเพื่อให้เขียนออกมาแล้วมีจุดประสงค์ของงานเขียนที่ชัดเจน เข้าใจงานเขียนได้ง่ายขึ้น ซึ่งจะมีลำดับขั้นตอนในการเขียนดังนี้


Note***   the main idea= Topic sentence มีการเชื่อมความสัมพันธ์กับ Title
 แต่ละ main idea เชื่อมต่อกับ body ในส่วนของ main idea
แต่ละ main idea เชื่อมกับ supporting ideas
            จากโมเดลนี้สามารถสรุปได้ว่า ส่วนที่กว้างครอบคลุมคือ Topic ซึ่งจะเป็นส่วนที่ครอบคลุมเนื้อหาทั้งหมด ส่วนความสัมพันธ์ต่อมาคือ Title นั้นจะมีองค์ประกอบไปในส่วนรายละเอียดของเนื้อหาซึ่งเนื้อหานั้นจะต้องสัมพันธ์กับชื่อเรื่อง เนื้อหาส่วนนี้คือ Thesis statement ซึ่ง Thesis statement จะต้องมี main idea ซึ่งจะต้องมีความเชื่อมโยงและสอดคล้องกันทุก main idea และมันจะต้องสอดคล้องกับ Supporting Idea ซึ่งในส่วนของ Supporting Idea จะมี Supporting Idea  เพื่อเป็นเนื้อหาสนับสนุน main idea ซึ่ง Supporting Idea จะเป็นการให้รายละเอียดอธิบาย ยกตัวอย่างและสนับสนุนเพื่อเสริมความชัดเจนของ main idea เพื่อให้มีความหมายและเนื้อหาชัดเจนพร้อมทั้งถูกต้องอีกด้วย นอกจากนี้โมเดลนี้เป็นลำดับขั้นตอนการเขียนที่เป็นพื้นฐานสามารถนำไปปรับใช้ในงานเขียนได้เป็ฯอย่างดี

Learning Log โครงสร้างประโยคพื้นฐาน

โครงสร้างประโยคพื้นฐาน
(29/02/2559)
โครงสร้างประโยคในภาษาอังกฤษ มีความสำคัญมากในการแปลภาษาซึ่งต้องแปลจากภาษาหนึ่งเป็นอีกภาษาหนึ่ง โครงสร้างประโยคจะเป็นสิ่งหนึ่งที่ทำให้เราสามารถแปลภาษานั้นให้มีความหมายที่ถูกต้องถามความหมายของภาษานั้น สำหรับในภาษาอังกฤษนั้นจะโครงสร้างประโยคหลากหลายรูปแบบทั้งแบบง่ายที่เรารู้จักกันแล้ว แต่บางรูปแบบนั้นเราจำเป็นต้องได้รับการเรียนรู้ ประโยคภาษาอังกฤษไม่ว่าจะยาวหรือซับซ้อน สามารถกระจายเป็นโครงสร้างพื้นฐานได้ โครงสร้างประโยคพื้นฐานหรือที่เรียกกันว่า basic sentence หรืองคนเรียกว่า bare sentence (ประโยคเปลือย) ซึ่งประโยคพื้นฐานนี้จะใช้คำเฉพาะมีใจความสมบูรณ์ ถูกต้องตามหลักภาษา มีความยาวไม่มาก สื่อความหมายตรงไปตรงมา และในการแปลภาษานั้น การแปลประโยคที่ซับซ้อน ถ้าแยกหน่วยประโยคที่สั้นหรือเล็กที่สุดตามลักษณะประโยคโครงสร้างพื้นฐานแต่ละแบบแล้ว จะช่วยให้การวิเคราะห์ความหมายได้ดีขึ้น ประโยคพื้นฐานนั้นสามรถแยกได้ 25 แบบตามที่ฮอร์นบีและคณะได้แยกไว้ใน The Advanced Learner’s Dictionary of Current English โดยได้ถือแบบของคำกริยา (verb pattern)เป็นหลัก
ในการเรียนการแปลของเรานั้น เราได้เรียนถึงแบบคำกริยาของฮอร์นบีนั้นมีทั้งหมด 25 แบบ เราได้มีการฝึกแต่งประโยคตามลักษณะของฮอร์นบี และฝีกแปลด้วย โดยทั้ง 25 แบบของฮอร์นบีมีดังนี้
1.       Subject +Verb + Direct Object
เช่น       He cut his finger.
2.       Subject +Verb + Not + to + infinitive, etc.
เช่น      He want to go.
3.       Subject +Verb + Noun or Pronoun +  Not + to + infinitive
4.       Subject +Verb + Noun or Pronoun + (to be ) + Complement
5.        Subject +Verb + Noun or Pronoun + infinitive
6.       Subject +Verb + Noun or Pronoun + Present participle
7.       Object +Verb + Object + Adjective
8.       Subject +Verb + Object + Noun
9.       Subject +Verb + Object +Past participle
10.   Subject +Verb + Object + Adverb, Adverb phrase, etc.
11.   Subject +Verb + (that) + Cause
12.   Subject +Verb + Noun or Pronoun + (that) + Cause
13.   Subject +Verb + Conjunctive + to + Infinitive, etc.
14.   Subject +Verb + Noun or Pronoun + Conjunctive + to + Infinitive, etc.
15.   Subject +Verb + Conjunctive + Clause
16.   Subject +Verb + Noun or Pronoun + Conjunctive + Clause
17.   Subject +Verb + Gerund
18.   Subject +Verb + Direct object + Prep. + Prepositional Object
** Prep. = to / for / with /on / at /from
19.   Subject +Verb + Indirect object + Direct object
20.   Subject +Verb + (for ) + Complement
21.   Subject +Verb
22.   Subject +Verb + Predicative
23.   Subject +Verb + Adverbial Adjunct
24.   Subject +Verb + Prep. + Prepositional Object
25.   Subject +Verb + to + Infinitive


การแปลภาษาหนึ่งเป็นอีกภาษาหนึ่งนั้น ผู้แปลจะต้องมีความสามรถและความรู้ทั้งสองภาษาในการแยกประโยคที่ซับซ้อนเป็นประโยคพื้นฐานสามารถช่วยผู้แปลได้อย่างดีมาก เหมาะกับผู้แปลมือใหม่ที่ยังไม่ค่อยชำนาญอีกด้วย

Learning Log หลักการแปลวรรณกรรม

หลักการแปลวรรณกรรม
(8/02/2559)
วรรณกรรม หมายถึง หนังสือที่แต่งขึ้นด้วยความคิดสร้างสรรค์ วรรณกรรมเป็นงานเสี่ยงที่จัดไว้ในประเภทบันเทิงคดี เช่น งานแปลนวนิยาย เรื่องสั้น นิทาน นิยาย บทละคร การ์ตูน บทภาพยนตร์ บทเพลง การแปลวรรณกรรมสิ่งที่สำคัญที่สุดก็คือการรักษาความหมายเดิมไว้ให้ครบถ้วนถูกต้องไม่เปลี่ยนแปร ไม่กลายเป็นตรงกันข้ามรักษารถของความหมายเดิมไว้ให้เป็นรถเดียวกัน ผู้แปลต้องใช้ศิลปะที่ละเอียดลึกซึ้งในการแปล โดยการแปลงานวรรณกรรมหรือวรรณคดีจะมีหลักการแปลและขั้นตอนการแปล ทั้งหลักการและขั้นตอนการแปลนวนิยาย บทละคร บท ภาพยนตร์ นิทานและนิยาย เรื่องเล่า การ์ตูนและกวีนิพนท์
นวนิยาย เป็นหนังสือที่ได้รับความนิยมในมุกประเทศทุกสมัย เป็นหนังสือที่สร้างความบันเทิงให้แก่ผู้อ่าน การแปลนวนิยายจึงมีความสำคัญ ผู้แปลจะต้องมีศิลปะการการใช้ภาษา ทั้งถ้อยคำสำนวนและความสละสลวยของภาษาและต้องสอดคล้องกับต้นฉบับ การแปลจึงต้องมีหลักการแปลนวนิยาย ดังนี้ การแปลชื่อเรื่องนั้นผู้แปลอ่านไม่แปลก็ได้หากชื่อเรื่องเป็นที่รู้จัก และสามารถดึงดูดใจได้เพียงพอแล้ว หรืออาจแปลชื่อเรื่องแปลแบบตรงตัว ถ้าต้นฉบับสมบูรณ์เหมาะสมจะใช้การแปลที่รักษาคำและความหมายที่ดีและกะทัดรัด และอาจแปลชื่อเรื่องแบบแปลบางส่วนดัดแปลงบสงส่วนและอาจตั้งชื่อใหม่โดยการตีความชื่อเรื่องและเนื้อเรื่อง สำหรับการแปลบทสนทนาซึ่งเป็นภาษาพูดนั้นควรแปลให้เป็นธรรมชาติสอดคล้องกับฐานะผู้พูดสอดคล้องกับระดับภาษาที่ใช้ในโอกาสนั้นและรักษาความหมายโดยนัยให้ครบถ้วน การแปลบทบรรยายก็เช่นกันต้องแปลให้สอดคล้องกับต้นฉบับและเหมาะสมกับระดับของภาษาด้วย
ขั้นตอนการแปลก็มีความสำคัญในการแปลอย่างมาก ในการแปลจะต้องมีขั้นตอนดังนี้
1. อ่านเรื่องราวให้เข้าใจเดินไปแล้วสามารถจับใจความสำคัญของเรื่องที่จะแปลได้ ย่อความเนื้อเรื่องจับประเด็นของเรื่องทำแผนผังความสัมพันธ์ของตัวละครสำคัญในเรื่องและพฤติกรรมที่มีความหมายที่มีความโยงใยต่อกัน
2. วิเคราะห์ถ้อยคำสำนวนค้นหาความหมายของคำศัพท์ที่ไม่เคยรู้จักค้นหาความกระจ่างของข้อความที่ไม่เข้าใจค้นหาความแตกต่างด้านวัฒนธรรม
3. ลงมือแปลเป็นภาษาไทยด้วยถ้อยคำสำนวนที่เรียบง่ายอ่านเข้าใจง่ายและชัดเจนโดยเฉพาะอย่างยิ่งเป็นภาษาที่เป็นธรรมชาติ
หลักการแปลบทภาพยนตร์นั้น บทภาพยนตร์ที่นำมาแปลจะถ่ายทอดเป็นบทเขียนก่อนบทภาพยนตร์มีลักษณะเหมือนบทละครคือประกอบด้วยคำสนทนาเป็นส่วนใหญ่แต่ผู้แสดงภาพยนตร์จะมีจำนวนหลากหลายกว่าแต่ละคนจะใช้คำพูดต่างกันตามอุปนิสัยใจคอและพูดจารวดเร็วต่างจากผู้แสดงละครซึ่งจะพูดช้าๆและเน้นย้ำให้ชัดเจน ภาพยนตร์จะมีความเคลื่อนไหวเร็วกว่าการแสดงละครมากบางทีพูดไปเคลื่อนไหวไปมีผลต่อการแปลบทซึ่งต้องแปลให้รวดเร็วและทำกับบทบาทของการแสดงผู้แปลต้องตระหนักถึงลักษณะเฉพาะของบทภาพยนตร์เพื่อป้องกันไม่ให้มีความเข้าใจผิดจนเกิดการแปลผิด วิธีแปลบทภาพยนตร์มีขั้นตอนดำเนินเช่นเดียวกับการแปลบทละครการ์ตูนเรื่องต้องอ่านทั้งข้อความภาพและฉากลงพร้อมกันโดยมีสัมพันธภาพต่อกัน
หลักการแปลนิทาน นิยาย วิธีการแปลนิทานมีขั้นตอนการแปลเช่นเดียวกับหลักการแปลวรรณกรรมประเภทอื่นๆคืออ่านวิเคราะห์และโรงงานแปล โดยการอ่านต้นฉบับนิทานอ่านครั้งแรกอย่างเร็วเพื่อทำความเข้าใจเนื้อเรื่องของนิทานแล้วตรวจสอบความเข้าใจเนื้อเรื่องด้วยคำถาม ใคร ทำอะไร ที่ไหน เมื่อไร ทำไม และอ่านครั้งต่อไปอย่างช้าช้าๆและค้นหาความหมายคำแปลคำและวลี ที่ไม่ทราบความหมายแล้วค้นหาความหมายในพจนานุกรม สำหรับการเขียนบทและการใช้ภาษาในเนื้อนิทานควรใช้ภาษาระดับกลางการใช้ภาษาแปลในการแปลสรรพนามที่เป็นสัตว์ในนิทานควรใช้ภาษาเก่า เช่น เจ้า ข้า และชื่อเรื่องนี้สามารถใช้ในการแปลตรงตัวได้
หลักการแปลเรื่องเล่าเรื่องเล่ามักแฟนด้วยอารมณ์ขันและมักปรากฏตามหนังสือพิมพ์และนิตยสารผู้อ่านจะต้องเข้าใจโปร่งอารมณ์ขันและหยิบยกขึ้นมาแปลถ่ายทอดให้ตรงตามเครื่องฉบับเรื่องเล่าแสงอารมณ์ขันมักจะใช้ถ้อยคำจำกัดกะทัดรัดถ้ามีความกำกวมก็เพราะเพื่อสร้างอารมณ์ขัน วิธีการดำเนินการตามขั้นตอนเช่นเดียวกับพนักงานประเภทอื่นคือเริ่มต้นด้วยการอ่านต้นฉบับให้เข้าใจแล้วเขียนแปล อ่านครั้งต่อไปแล้วค้นหาความหมายและคำแปลของคำว่าดีที่ไม่เข้าใจจากพจนานุกรม เพราะความกำกวมเป็นสาเหตุของความเข้าใจผิดซึ่งก่อให้เกิดอารมณ์ขันดังนั้นการแปลจึงต้องแปลตรงตัว การใช้ภาษาในการแปลต้องควรใช้ภาษาระดับกลาง ผู้แปลต้องเลือกคำที่ฟังดูน่าขบขัน และตรงความหมายของต้นฉบับ
หลักการแปลการ์ตูน การ์ตูนไม่ได้เป็นวรรณกรรมสำหรับเด็กเท่านั้น แต่เป็นวรรณกรรมที่ให้ความบันเทิงแก่ทุกเพศทุกวัย  การ์ตูนให้ความบันเทิงทุกอย่างแก่ผู้อ่านเช่นเดียวกับเรื่องสั้น นวนิยายนิทานและนิยาย นอกจากนี้การ์ตูนยังมีส่วนสร้างสรรค์ความสามารถเชิงสังเกตมีเคราะห์และเชาว์ไหวพริบแก่ผู้อ่านด้วย หลักการสำคัญในการแปลการ์ตูนคือการใช้คำแปลที่สร้างชัดเจนเข้าใจได้หรือสื่อความหมายได้สามารถจำกัดจำนวนคำให้อยู่ภายในกรอบคำพูดได้ ภาษาในบทสนทนาของการ์ตูนมีหลายระดับขึ้นอยู่กับตัวละครที่สร้างขึ้น ซึ่งผู้แปลต้องใช้ความสังเกตและความระมัดระวังให้การเรียนภาษาแปลมีความสอดคล้องกัน วิธีแปลการ์ตูนดำเนินการแปลตามขั้นตอนเช่นเดียวกับการแปลเรื่องเล่าคือเริ่มต้นด้วยการอ่านต้นฉบับไม่เข้าใจโดยสังเกตรายละเอียดของภาพต่อจากนั้นจึงลงมือเขียนบทแปลโดยใช้ถ้อยคำซึ่งสั้นสามารถบรรจุลงในกรอบคำพูดได้พอดี
หลักการแปลกวีนิพนธ์ กวีนิพนธ์เป็นวรรณกรรมที่แต่งเป็นร้อยกรองมีกฎเกณฑ์แน่นอนตายตัวด้วยการจำกัดจำนวนคำ จำนวนพยางค์และจำนวนบรรทัด ทั้งเสียงหนัก-เบา การสัมผัสและจังหวะ  เราเรียกข้อบังคับของกวีนิพนธ์ว่า ฉันทลักษณ์ กวีนิพนธ์ในปัจจุบันจะมีขนาดสั้นลงรูปแสดงความรู้สึกนึกคิดมากกว่าเล่าเรื่องไม่เคร่งครัดฉันทลักษณ์และแสวงหาทางฉันทลักษณ์ใหม่ๆ เพื่อให้มีโอกาสแสดงความรู้สึกนึกคิดได้กว้างขวางยิ่งขึ้นมากกว่ากวีนิพนธ์ในโบราณ ดังนั้นการแปลกวีนิพนธ์จึงต้องแปลให้สอดคล้องกับจุดมุ่งหมายด้วย ลักษณะของการแปลกวีนิพนธ์คือแปลเป็นร้อยกรองและร้อยแก้ว การแปลเป็นร้อยกรองนิยมใช้กับวรรณคดีโบราณที่มุ่งเน้นทั้งเนื้อหาสาระและความไพเราะของภาษาการแปลจะต้องยึดติดกับฉันทลักษณ์  และการแปลเป็นร้อยแก้วที่ประณีต ผู้แปลจะใช้การแปลกวีนิพนธ์เป็นร้อยแก้วต่อเมื่อมีจุดประสงค์เพียงการสื่อสารความคิดและวัฒนธรรมอื่นๆในกวีนิพนธ์ทั้งนี้เพราะบทบาทการใช้งานแปลวรรณคดีได้ทวีความหลากหลายมากขึ้นและทั้งนี้เพื่อความสะดวกรวดเร็วและความชัดเจนของเนื้อหาสาระ นอกจากนี้ก็ยังมีองค์ประกอบหลายอย่างของกวีนิพนธ์เช่นมีจังหวะ สัมผัสนอก สัมผัสใน สัมผัสอักษร และการเล่นคำความหมายอีกด้วย

ดังนั้นในการแลวรรณกรรมต่างๆนั้น การรักษาความหมายเดิมไว้ให้ครบถ้วนถูกต้องไม่เปลี่ยนแปร ไม่กลายเป็นตรงกันข้ามรักษารถของความหมายเดิมไว้ให้เป็นรถเดียวกัน ผู้แปลต้องใช้ศิลปะที่ละเอียดลึกซึ้งในการแปล โดยการแปลงานวรรณกรรมหรือวรรณคดีจะมีหลักการแปลและขั้นตอนการแปล ทั้งหลักการและขั้นตอนการแปล นอกจากนี้ยังต้องคำนึงถึงการใช้ภาษาแปลมีความสอดคล้องกันการใช้สัมผัสต่างๆ จังหวะ และระดับการใช้ภาษาของวรรณกรรมแต่ละประเภทอีกด้วย