วันจันทร์ที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2558

Learning Log 5


(out class)
            ปัจจุบันเทคโนโลยีมีความก้าวหน้า ทำให้โลกมีวิวัฒนาการและเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว มนุษย์สามารถติดต่อสื่อสารกันได้อย่างไร้พรมแดน สังคมประเทศไทยเป็นประเทศหนึ่งที่ได้รับผลกระทบจากการเจริญเติบโตของเทคโนโลยี ทำให้ประเทศไทยจำเป็นต้องมีการจัดการศึกษา เร่งพัฒนา ปรับปรุง เปลี่ยนแปลงเพื่อพัฒนาคนไทย ให้มีศักยภาพพอเพียง ในการดำรงชีวิตอย่างมีคุณภาพ ในการเรียนการสอนภาษาอังกฤษควรให้ความสำคัญกับการอ่าน เพราะการอ่านเป็นทักษะที่สำคัญในการดำรงชีวิต การอ่านเป็นเครื่องมือที่ใช้ในการแสวงหาความรู้ เนื่องจากการอ่านจะช่วยสร้างเสริมความรู้ความคิดของมนุษย์ให้เพิ่มพูนยิ่งขึ้น แต่ปัจจุบันเทคโนโลยีมีมากขึ้น คนไทยจึงอาจละเลยการอ่านหนังสือไปบ้างเช่นเดียวกับตัวดิฉัน เป็นคนที่อ่านหนังสือน้อยมาก เนื่องจากอ่านแล้วไม่เข้าใจ ในการอ่านแต่ละครั้งจะอ่านเมื่อใกล้จะสอบแล้วเท่านั้น แต่มักจะเกิดปัญหาคืออ่านแล้วสับสนไม่สามารถจับใจความสำคัญของเรื่องที่อ่านได้ ในสัปดาห์นี้จึงอยากที่จะฝึกฝนการอ่านของตนเอง จึงได้ค้นหาวิธีการอ่านหรือเทคนิควิธีการต่างๆ ในการพัฒนาฝึกฝนการอ่านให้ง่ายขึ้น สนุกและไม่เครียด และอ่านอย่างไรให้เข้าใจการอ่านภาษาที่ไม่ใช่ภาษาประจำชาติของตัวเราเอง โดยไม่ต้องนั่งเปิดพจนานุกรรมให้เสียเวลา
            ในการค้นหาวิธีการอ่านภาษาอังกฤษให้เก่ง ดิฉันได้เจอกับเว็บไซด์หนึ่งชื่อว่า เว็บไซด์เด็กดีดอทคอม (www.dek–d.com/education/31069/.) เป็นเว็บไซด์สำหรับคนที่ต้องการฝึกฝนภาษาอังกฤษ จะมีเทคนิค วิธีการต่างๆ ในการเรียนและยังมีแนวทางการเรียนรู้ ฝึกฝน ทักษะทั้ง การฟัง การพูด การอ่าน และการเขียน โดยในเว็บไซด์จะพูดถึงการฝึกทักษะการอ่าน อ่านอย่างไรให้เก่ง อ่านอย่างไรให้เข้าใจ โดยจะมีเนื้อหาเกี่ยวกับรูปแบบของการอ่าน ข้อสงสัยเมื่ออ่านภาษาอังกฤษไปแล้ว การสร้างคลังคำศัพท์ ความสม่ำเสมอในการฝึกฝน และการพัฒนาระดับความยากของการอ่านภาษาอังกฤษ นอกจากนี้เว็บนี้ยังสามารถแบ่งปันวิธีการฝึกฝนการอ่าน หรือทักษะอื่นๆ ที่สามารถนำมาแบ่งปันกันได้ หากทุกคนได้ทำตามเคล็ดไม่ลับวิธีการพัฒนาการอ่านนี้ และทำเป็นประจำแล้ว การอ่านภาษาอังกฤษจะคล่องขึ้น
            วิธีการอ่านที่สามรถพัฒนาการอ่านของเราวิธีการแรกคือ
            1. อ่านหลากหลายรูปแบบ ถ้าหากอยากจะเก่งด้านการอ่าน จะต้องปรับทัศนคติในเรื่อง สื่อเป็นอันดับแรก ต้องเปิดใจอ่านสื่อให้ได้ทุกประเภท ไม่ว่าจะเป็นหนังสือพิมพ์ภาษาอังกฤษ นิตยาสาร/วารสารภาษาอังกฤษ โบรชัวร์ภาษาอังกฤษ หรือเว็บไซด์-บล็อก-ข่าว จากเว็บต่างประเทศ สื่อทุกๆสื่อ คือแหล่งเรียนรู้ที่ดีมาก เพียงแค่เราเปิดใจเราก็จะเป็นคนที่อ่านเก่งได้ นอกจากนี้ เรื่องที่จะอ่านไม่ว่าจะเป็นแนวไหน ทั้งนิยาย บทความ คอลัมน์ ข่าว หรือแม้กระทั่งประกาศต่างๆ พยายามฝึกตัวเองให้เข้าหาสื่อ ฝึกความเร็วในการอ่าน และจะทำให้เราชินกับสำนวนภาษาอังกฤษที่ใช้ในงานเขียน และทำให้เราอ่านแล้วเกิดความเข้าใจมากขึ้น
            2. สงสัยแล้วให้หาคำตอบ ในช่วงแรกๆ อาจจะมีปัญหา และเกิดความสงสัย ให้โน้ตเอาไว้ แล้วค่อยไปกาคำตอบ คำตอบที่หามาได้นั้นแหละจะเป็นสิ่งที่อยู่ในความจำของเราได้นาน
            3. ขยันเปิด Dictionary ในการอ่านแต่ละครั้งเรามักจะเจอคำศัพท์ที่เราไม่รู้ความหมาย หากเป็นช่วงแรกเราควรเปิด Dictionary ให้บ่อยๆ ไว้ก่อน แต่ถ้าหากฝึกจนเกิดความชำนาญอาจจะดูความหมายของคำศัพท์ที่ไม่รู้ความหมายจากบริบทรอบๆ วิธีนี้จะทำให้เรารู้คำศัพท์มากขึ้น เมื่อรู้คำศัพท์ การอ่านก็จะเข้าใจมากขึ้นด้วย
            4. สร้างคลังคำของตัวเอง คือจัดระบบคำศัพท์ให้ง่ายต่อการนำมาใช้ เราอาจจดคำศัพท์ไว้ในสมุด อาจทำเป็นตาราง เสร็จแล้วหาคำศัพท์ที่มีความหมายใกล้เคียงหรือความหมายตรงกันข้าม วิธีนี้จะทำให้เรามีคลังคำศัพท์
            5. ฝึกอ่านทุกวัน ฝึกทุกวันจนเป็นนิสัย อาจแบ่งเวลาจากการเรียนแรกๆ อาจอ่านเรื่องสั้นๆ แบบพื้นฐานก่อน ที่คำศัพท์ไม่ยากมาก แล้วค่อยๆเพิ่มเป็นเรื่องที่ยากขึ้นเรื่อยๆ และหากอ่านแล้วเกิดไม่รู้คำศัพท์แล้วสงสัยเราก็ใช้วิธีการในข้อ 2 และข้อ 3 เลย
            ขั้นตอนทั้งหมดนี้อาจดูไม่เยอะ แต่เมื่อเราได้ลองลงมือทำจริงๆ มันจะเป็นการวัดตัวเราว่าเราจะทำได้หรือไม่ เราพยายามมากพอหรือยัง ในการฝึกฝนตัวเราเอง แต่หากเราต้องการเก่งจริงๆ เราต้องพยายามฝึกฝนตัวเองอยู่เป็นประจำ และต้องมีความตั้งใจ เชื่อว่าหากเราตั้งใจทำอะไรเราต้องทำได้และทำได้ดีด้วย
               จากวิธีการในเว็บไซด์ทั้ง 5 ข้อที่กล่าวมา ดิฉันได้ลองทำในวิธีการที่ 1 และ 2 และมีความคิดว่าเป็นวิธีที่ได้ผลใช้ได้ แต่ดิฉันอาจยังไม่มีความพยายามมากพอยังคงจะต้องพยายามฝึกฝนให้ดีกว่านี้ ทั้งห้าวิธีการนี้เป็นวิธีที่ดี ไม่ยากเกินไปในการฝึกฝน อีกวิธีการหนึ่งในการฝึกฝนการอ่านเป็นวิธีที่ได้ศึกษาจาก เว็บไซด์เช่นกัน เป็นเว็บไซด์ที่ชื่อว่า Eduzones ซึ่งจะเป็นเทคนิคการอ่านภาษาอังกฤษให้ get ไวและเข้าใจเร็ว ! ผ่านเทคนิคการอ่าน “2S” โดยมีวิธีการดังนี้ S ตัวแรกเท่ากับ Skimming (กวาดตาให้ไว) การดูภาพรวมกว้างๆ อย่างเร็วง่ายๆโดยการเริ่มจาก อ่านชื่อเรื่อง ดูรูปภาพ อ่านหัวข้อใหญ่ อ่านบทนำ และดูสรุปในย่อหน้าสุดท้าย พอเราวิธีการ S ตัวแรกเราก็จะรู้เรื่องราวไปบางส่วนแล้ว  หลังจากนั้นต่อด้วย วิธีการ S ตัวที่สอง นั้นคือ Scanning (เจาะลึก เก็บประเด็น เน้น detail) คือการอ่านหารายละเอียดลึกๆ ของเรื่อง เมื่อเรารู้เรื่องราวคล่าวๆ จากการ Skimming มาแล้ว การ Scanning ก็ไม่ยากแล้ว เทคนิคนี้จะช่วยให้เราอ่านได้ไว และอ่านได้เร็วขึ้น
            วิธีการ 2S นี้ดิฉันเคยมีพื้นฐานจากการเรียน Reading มาบ้างแล้วทำให้ดิฉันสามารถปฏิบัติได้ง่ายขึ้น แต่ไม่ว่าจะเป็นวิธีการใด การอ่านจะพัฒนาดีขึ้นหรือไม่จะต้องขึ้นอยู่กับตัวเราด้วย วิธีการเทคนิคต่างๆ นี้หากตัวเราไม่ฝึกปฏิบัติเราก็ไม่อาจเก่งขึ้นได้
            สรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้

            เมื่อเทคโนโลยีก้าวหน้า โลกมีวิวัฒนาการ โลกสังคมไทยได้รับผลกระทบ การศึกษาไทยจำเป็นต้องมีการจัดการศึกษา และเร่งพัฒนาคนไทยให้มีศักยภาพ ทักษะการอ่านเป็นทักษะสำคัญที่คนไทยจำเป็นต้องพัฒนา เนื่องจากการอ่านจะช่วยเสริมสร้างความรู้ ความคิดให้เพิ่มพูน ในปัจจุบันมีวิธีการหรือเทคนิคในการฝึกอ่านมากมาย แต่จากการศึกษาค้นคว้าดูแล้ว มี 2 เว็บไซด์ที่ดิฉันได้ลองฝึกฝนแล้วสามารถพัฒนาด้านการอ่านได้ดีขึ้นนั้นคือเว็บไซด์ dek.d และ Eduzones แม้ว่า 2 เว็บนี้จะมีเทคนิคที่ต่างกัน แต่ทั้ง 2 เว็บก็มีเทคนิคที่ดีในการฝึกฝน และเป็นวิธีที่สามารถพัฒนาศักยภาพในด้านการอ่านได้ดี และตัวเราต้องฝึกฝนบ่อยๆ เพื่อให้การฝึกฝนเกิดประสิทธิภาพจริงๆ  

วันศุกร์ที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2558

Learning Log 4


(In class)
            ปัจจุบันสังคมไทยให้ความสำคัญกับการเรียนรู้ภาษาอังกฤษ  เนื่องจากภาษาอังกฤษเป็นภาษาสากล เป็นภาษที่ใช้สื่อสารกันทั่วโลก ดังนั้นภาษาอังกฤษจึงมีความสำคัญเป็นอย่างมาก นอกจากนี้การแปลความหมายและการเขียนประโยคในภาษาอังกฤษก็มีความสำคัญมากเช่นกัน เนื่องจากคนไทยมักจะมีปัญหาด้านการใช้หลัก   ไวยากรณ์ และโครงประโยคที่ชัดเจน ทำให้เมื่อเขียนประโยคออกมา ประโยคที่ได้มาจะไม่ถูกต้องหรือไม่ถูกหลักของไวยากรณ์ ดังนั้นในการแปลและเขียนประโยแต่ละครั้ง ผู้ที่จะทำการแปลแลเขียนประโยค ควรจะต้องมีความรู้และมีความเข้าใจในเรื่องนี้ก่อน ทั้งหลักไวยากรณ์และโครงสร้างของประโยคต่างๆ ซึ่งประโยค(sentence)  มี4ประเภท คือ ประโยคความเดียว(simple sentence)  ประโยคความรวม(complex sentence)  ประโยคความซ้อน(compound sentence) และประโยคผสม(compound and complex sentence) ประเภทของประโยคเหล่านี้จะมีความแตกต่างกันออกไป ทั้งเทคนิคและวิธีการเขียนของรูปประโยคต่างๆ หลักการของประโยคเหล่านี้หากเขียนตามหลักการจะทำให้มีความถูกต้องตามหลักของไวยากรณ์
            ประโคเกิดจากคำหลายๆคำ หรือวลีที่นำมาเรียนต่อกันอย่างเป็นระเบียบ ให้แต่ละคำมีความสัมพันธ์กัน มีใจความที่สมบูรณ์ และแสดงให้รู้ว่า ใคร ทำอะไร ที่ไหน อย่างไร โดยแต่ละประโยคหนึ่งๆ จะต้องมีภาคประธานและภาคแสดงเป็นหลักและอาจมีส่วนขยายต่างๆมาขยายได้ หรืออีกนัยหนึ่งอาจกล่าวได้ว่า  ประโยคหนึ่งๆ จะประกอบด้วย ประโยคย่อย (clause) ตั้งแต่ 1 ประโยคย่อยขึ้นไป และส่วนประกอบที่สำคัญของแต่ละประโยคย่อยก็คือ กริยา (verb) โดยประโยคความเดียว หรือในภาษาอังกฤษเรียกว่า simple sentence คือ กลุ่มคำหรือข้อความที่พูดออกไปแล้วจะมีใจความเดียวมีประธาน(Subject)ตัวเดียว และกริยาตัวเดียว เช่น
-          Little boy often buy some toys.                           
-          Unfortunately, she found her house burned.         
Simple sentence สามารถแบ่งเป็นประโยคย่อยได้อีก 5 รูปประโยค คือ ประโยคบอกเล่า    ประโยคคำถาม ประโยคปฏิเสธ   ประโยคขอร้อง และประโยคอุทาน


ประโยคความรวม(compound sentence) คือ ประโยคที่ประกอบด้วย simple sentence 2 ประโยคมารวมกันโดยอาศัย ตัวเชื่อม เป็นแกนนำเชื่อมประโยคเข้าด้วยกัน เช่น
-          Weerayut is lazy, but Weerayut is diligent.
-          It rained heavily last night, so the yard was flooded.
ประโยคความซ้อน (compound sentence) คือประโยคที่เกิดจาก clause 2 clause คือ  independent clause และ dependent clause (clause เป็นกลุ่มคำที่ไม่มีความหมายที่สมบูรณ์) เช่น
-          They are laughing at the TV, which join bought.
-          Vinai works as if he were a machine.
และประโยคสุดท้าย ประโยคความผสม (compound complex sentence) คือประโยคที่ผสมกันระหว่าง ประโยคความรวมและประโยคความซ้อน เช่น
-          I couldn’t remember what his name is, but I will ask him.
-          I saw no one in the house which you had told me about, so I didn’t go in.
อีกหนึ่งอย่างในการเขียนประโยคให้มีใจความที่สมบรูณ์ คือ clause ต่างๆที่ทำหน้าที่แตกต่างกันไป clause ทีทำหน้าที่เป็นคุณศัพท์ เพื่อขยายคำเสมอนามได้เช่นเดียวกันกับคำคุณศัพท์(adjective) ธรรมดาclause คือ adjective clause ซึ่ง adjective clause หน้าที่เช่นเดียวกับ adjective  แต่ adjective clause จะทำให้ข้อความที่มันมาขยาย หนักแน่นขึ้น และเด่นชัดกว่าเดิม โดยเราสามารถเรียก adjective clause ได้อีกอย่างว่า relative clause ซึ่งลักษณะของ adjective clause จะนำหน้าด้วยคำเชื่อมสัมพันธ์(relative word) ได้แก่คำต่อไปนี้ 1. Relative pronoun (who, whom, whose, of which, that a) และ 2. Relative adverb ได้แก่ when, why, where ตัวอ่าประโยคเช่น
-          This is the house where I live.
-          I have lose the book which you lent me.
Who จะใช้กับคำนามที่เป็นบุคคลหรือเกี่ยวกับคน ซึ่งเป็นประธานของใจความขยายและ whom ใช้กับคำนามที่เป็นบุคคลหรือเกี่ยวกับคนซึ่งเป็นกรรมของใจความขยาย ส่วน whose ใช้แสดงความเป็นเจ้าของของบุคคล และ which ใช้กับคำนามหรือสรรพนามที่เป็นสิ่งของ สัตว์ ซึ่งถ้าหากเป็นกรรมของใจความ สามารถละทิ้งได้ ต่อไปคือ where ใช้กับคำนามประเภทสถานที่ ซึ่งถ้าหากเป็นกรรมของใจความ สามารถละทิ้งได้เช่นเดียวกับ which
When ใช้กับคำนามที่ใช้บอกเวลา เพื่อขยายที่ที่อยู่ข้างหน้าของมัน และตัวสุดท้าย that ใช้กับคำนามที่เป็นบุคคล สัตว์ สิ่งของ สถานที่ หรือเรียกได้ว่า that สามารถใช้แทน who, which whom, where ได้นั่นเอง
            Adjective clause สามารถแบ่งได้ 3 ประเภท ได้แก่ 1.definning clause ใช้ชี้เฉพาะคำนามที่มาข้างหน้าว่าเป็นคนไหน สิ่งไหน อันไหน โดยไม่ใช้เครื่องหมายใดๆคั่นระหว่างคำนาม adjective clause ที่ตามมา เช่น
-          A letter which was in a pink envelope was one seeking for a donation to conserve wildlife.
2. non-defining clause ใช้ในการให้ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับคำนามที่มาข้างหน้าโดยมีเครื่องหมาย comma(,) คั่นระหว่าง adjective clause เช่น
-      His wife, who teaches English a NIDA, get a Ph.D. from the USA.
3. sentential relative clause ใช้ในการให้ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับทั้งข้อความ ไม่ใช่เฉพะคำนามที่มาข้างหน้า และจะใช้ which นำหน้าเท่านั้น โดยมี (,) คั่นจาก main clause ที่มาข้างหน้า เช่น
                        -      Jane gave him a smile, which surprised him a great deal.
            Adjective clause สามารถลดรูปได้ให้เป็นกลุ่มคำหรือ phrase ต่างๆได้ โดยคำนำหน้า “who, which” และ “that”ดังนี้
1.       Appositive Noun Phrase  who which that สามารถลดรูปได้ หากหลังwho which และ  that มี BE และ ให้ตัด BE ออกด้วย   เช่น
-          Prof.Chakrarin, who is my thesis adviser, will retire next year.
Prof.Chakrarin, my thesis adviser, will retire next year.
2.       Preposition Phrase สามารถลดรูปได้หากหลังwho which และ  that เป็นประธาน มีกริยาและคำบุพบท ที่ถ้าตัดคำกริยาแล้วจะเหลือแต่บุพบท แล้วยังมีความหมายเหมือนเดิม ให้ตัด กริยาออกได้ เช่น
-          The lady who is dressed in the national costume is a beauty queen.
-          The lady in the national costume is a beauty queen.
3.       Infinitive Phrase สามารถลดรูปได้หากหลังwho which และ  thatมีกริยาในรูป BE+infinitive with to เช่น

-          He is the first person who is to be blamed for the violence yesterday.
-           He is the first person to be blamed for the violence yesterday.
4.       Participial Phrase
1)      Present Participial Phrase ถ้าหลัง who มีกริยาแท้ ลดรูปโดยตัด who เปลี่ยนกริยาหลัง who เป็น Present Participle เช่น
-          The school students who visited the national museum were very excited.
The school students visiting the national museum were very excited.
2)      Past Participial Phrase  สามารถลดรูปได้ถ้าหลัง which และ who มีกริยาในรูป passive form ลดรูปโดยตัด which/who และ BE ออก เหลือแต่ Past Participle เช่น
-          The money which was lose during the trip was returned to its owner.
-          The money lose during the trip was returned to its owner.
สรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้
ภาษาอังกฤษเป็นเรื่องที่จำเป็นและมีความสำคัญ ในการแปลและการเขียนประโยคภาษาอังกฤษเป็นสิ่งที่จะต้องศึกษาให้เข้าใจ โดยประโยคในภาษาอังกฤษมี 4 ประเภท แต่ละประเภทจะมีโครงสร้างที่แตกต่างกันไป โดยประโยคเกิดจาดคำหลายๆคำหรือวลีที่นำมาเรียงต่อกัน มีใจความสมบูรณ์ และ จะต้องมีภาคประธานและภาคแสดงเป็นหลัก ซึ่งอาจมี clause หรือประโยคย่อย เป็นส่วนประกอบเพื่อขยายประโยคด้วย โดย adjective clause จะทำหน้าที่ขยายคำนามหรือขยายคำเสมอนาม เช่นเดียวกับ adjective ธรรมดา โดยจะทำให้ข้อความนั้นหนักแน่นและชัดเจนขึ้น และสามารถแบ่งได้เป็น 3 ประเภท ใน 3 ประเภทนี้ก็จะมีความแตกต่างกันไปในการใช้ clause มีการใช้เครื่องหมาย comma นอกจากนี้ adjective clause สามารถลดรูปให้เป็นกลุ่มคำ หรือ phrase ได้ทั้ง appositive noun phrase, preposition phrase และ Infinitive phrase ได้ ดังนั้น ในการเรียนรู้ภาษาอังกฤษจะต้องเป็นผู้ที่รู้จริง และเข้าใจการใช้ภาษาเป็นอย่างมาก




(Out class)
            การเรียนวิชาภาษาอังกฤษ ซึ่งเป็นวิชาทักษะนั้น การเรียนจะต้องมีความมานะ พยายามและอดทน นอกจากนี้จะต้องอาศัยทั้งความเข้าใจและฝึกฝนทบทวนบ่อยๆ ไม่ว่าจะเป็นทักษะการฟัง ทักษะการพูด ทักษะการอ่าน และทักษะการเขียน   แต่ละทักษะมีความจำเป็นในการเรียนภาษาอังกฤษ ปัจจุบันมีสื่อต่างๆ และเทคโนโลยีมากมายที่จะช่วยศึกษาและพัฒนาทักษะต่างๆนี้   ทักษะการฟังทั้งรายการโทรทัศน์ สารคดี  รายการวิทยุ ภาพยนตร์  เพลงและเทคโนโลยีอีกมากมาย ที่จะช่วยพัฒนาทักษะการฟังให้ดีขึ้น  ทักษะการอ่านก็เช่นกันมีความสำคัญต่อการเรียนภาษอังกฤษมาก เพราะทักษะด้านนี้จะทำให้เรามีโลกทัศน์ที่กว้างขึ้น และการอ่านจะทำให้เรามีความรู้และได้เรียนรู้ผ่าตัวหนังสือมากขึ้น  ทักษะการเขียน หากอ่าออกแต่ไม่สามารถเขียนได้ก็เหมือนได้เรียนรู้แต่ไม่ได้นำมาใช้ เพราะทักษะการเขียนเป็นทักษะกระบวนการทางความคิด เมื่อเราได้รับความรู้จากการอ่านแล้ว การได้ผ่านกระบวนการทางความคิดโดยการเขียนจะทำให้เราเป็นคนเก่งภาษาและสามารถสื่อสารความหมายผ่านตัวหนังสือได้  และอีกทักษะที่สำคัญ คือทักษะการพูด ซึ่งเป็นพฤติกรรมทางด้านการแสดงออก และเนื่องจากคนไทยและเด็กไทยจะมีปัญหาทางด้านการออกเสียงและการพูดภาษาอังกฤษอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็นปัญหาการออกเสียงหรือสำเนียง จะผิดเพี้ยนและไม่กล้าที่จะพูด เพราะกลัวพูดผิด เป็นปัญหาที่ควรแก้ไขอย่างยิ่ง
            ทักษะการพูดภาษาอังกฤษ อาจเป็นทักษะที่ดูค่อนจะยากสำหรับคนไทยเพราะเนื่องจากไม่ใช่ภาษาในชนชาติ  แต่หากผู้เรียนมีความเพียรพยายาม และหมั่นฝึกฝนบ่อยๆ ก็สามารถทำได้ดี และออกเสียงได้ไม่แพ้คนชนชาติของเจ้าของภาษาเลย  โดยวิธีในการฝึกพูดนั้นจะต้องมีทักษะอื่นมาเกี่ยวข้องด้วยนั่นก็คือทักษะการฟัง    5วิธีง่ายๆ หรือเทคนิคง่ายๆสำหรับการฝึกพูด ประการแรกคือ Start with listening! (เริ่มต้นจากการฟัง)  ฟังจากสื่อที่ไม่ยากเกินไป ฟังทุกวัน ต้องต้องใจและมีวินัย อย่างน้องวันละ 1 ชั่วโมง อาจจะแบ่งเป็น เช้า 20 เที่ยว 20 และเย็นอีก 20 เราจะมีความคุ้นชินคุ้นเคยกับสำเนียงของการออกเสียงมากขึ้น และถือว่าเป็นการพัฒนาการฟังไปด้วย ประการที่สองคือ Use photographic memory! การเรียนรู้เป็นภาพไม่ใช่ตัวอักษร เลิกท่องสัพท์แบบเดิมๆที่จะต้องนำมาแปลเป็นไทย เพราะเราจะจดจำได้เพียงระยะสั้น การท่องศัพท์โดยการจินตนาการภาพคำศัพท์นั้นให้มีตัวตนจริง เชื่อมโยงกับสิ่งที่เรารู้จักและFeeling การจำแบบนี้เป็นการใช้สมองซีกขวา ซึ่งเป็นการจำภาพทำให้ความจำมีระยะยาว เรียนรู้แล้วก็จะต้องทบทวนและฝึกใช้บ่อยๆ เมื่อเราพูดก็สามารถพูดออกมาเองโดยไม่รู้ตัว  ประการที่สาม Don’t study grammar rules!หยุดท่องกฎแกรมม่า สำหรับการเขียน Writing หรือ Essaysต่างๆ ท่องได้ แต่ถ้าจะพูด อาจต้องนึกโครสร้างกันยาว เพราะธรรมชาติของมนุษย์ได้เกิดมาพูดได้เลยจากการนั่งสะกดคำ เช่นคำว่า แม่ เด็กสามารถพูดได้โดยไม่ต้องเรียนมาก่อน ภาษาอังกฤษก็เช่นเดียวกัน  ประการที่สี่ No translation! อย่าแปลเป็นไทย อยากพูดได้อย่างอัตโนมัติจะต้องฟัง คิด แล้วจึงจะพูด โดยจะต้องไม่มีการแปลเป็นไทยในหัว พยายามแปลเป็นไทยให้น้อยที่สุด และประการสุดท้ายประการที่ห้า คือ  Change Environment!เปลี่ยนสภาพแวดล้อมให้เหมือนอยู่เมืองนอก พยายามเปลี่ยนทุกอย่างในชีวิตประจำวันให้เป็นภาษาอังกฤษให้ได้มากที่สุด ดูหนัง ดุละครภาษาอังกฤษ อ่านหนังสือ ดูข่าว ฟังเพลงที่เป็นภาษาอังกฤษ การมราเราฝึกฟังและดู เราจะสามารถเข้าใจความหมายwords, phrases และsentences ต่างๆเป็นภาพ เป็นอัตโนมัติ โดยไม่ต้องแปลความหมายเป็นไทยเลย  แต่การดูหนังจะต้องไม่เป็นหนังพากย์ไทย ซับอังกฤษ เพราะเราจะมัวแต่จดจ้องอยู่กับซับ หากทำตามเทคนิคทั้ง5 ประการนี้แล้วจะช่วยพัฒนาการพูดได้ดีขึ้น
            การเรียนรู้วิชาภาษาอังกฤษในแต่ละทักษะจะต้องมีความขยัน และพยายามอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็นทักษะการฟังที่ต้องขยันและหมั่นฝึกฝนเพื่อให้เกิดความคุ้นชินกับสำเนียงของเจ้าของภาษา ทักษะการอ่านจะต้องมีสมาธิ ตั้งใจ เพื่อศึกษาหาความรู้ต่างๆ นอกเหนือจากการอ่าภาษาไทยเพียงอย่างเดียว ทักษะการเขียน ที่จะต้องใช้กระบวนการคิดเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย  ทักษะการพูดก็เป็นทักษะที่สำคัญและมีความจำเป็นอย่างยิ่งในการสื่อสาร  ภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่เป็นสากล เป็นภาษาที่ใช้กันทั่วโลก ทักษะการพูดจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งในการสื่อสาร  ปัจจุบันจึงต้องมีเทคนิควิธีการต่างๆ ดังที่กล่าวมาข้างต้น เพื่อให้ทักษะการพูดมีการฝึกฝนที่ง่ายขึ้น  แต่ละวิธีการหรือเทคนิคต่างๆจะต้องใช้ความตั้งใจ และความมีระเบียบของผู้ฝึกฝน แต่ละวิธีจะช่วยในการพัฒนาศักยภาพด้านการพูดให้ดีขึ้น และง่ายกว่าการนั่งเรียนโดยจะต้องฝึกฝนทุกวัน ฝึกฝนซ้ำๆ เพราะเด็กไทยจะมีปัญหาในการพูดภาษาอังกฤษ ซึ่งเป็นปัญหาสำคัญ เทคนิคทั้ง 5 ประการนี้จะช่วยแก้ปัญหาการออกเสียง การพูดสำเนียงผิดเพี้ยนได้เป็นอย่างมากแค่เพียงต้องฝึกฝนเท่านั้น


Learning Log 3

Learning Log 3

(in class)

ภาษาอังกฤษถือได้ว่าเป็นภาษาที่สองของทุกคนบนโลกทั่วโลกใช้ภาษาอังกฤษในการสื่อสารกัน แม้แต่หลักสูตรการศึกษาของไทยก็เช่นกัน ภาษาอังกฤษเป็นหลักสูตรการศึกษาแทนกลางของทุกระดับ เป็นภาษาที่สองรองมาจากภาษาประจำชาติ ทั้งนี้สังคมไทยในปัจจุบันเน้นให้เด็กเรียนรู้ภาษาที่สองมากขึ้น ยิ่งมีความรู้ทางด้านภาษามากเท่าไรเด็กจะยิ่งสื่อสารเก่งและคล่องแคล่วมากเท่านั้นยิ่งด้วยประเทศไทยเน้นให้เด็กได้เรียนรู้ด้วยตนเอง ผู้สอนสอนให้น้อยลง ภาษาอังกฤษจึงเป็นวิชาหนึ่งที่เด็กจะต้องเรียนรู้ด้วยตนเอง ซึ่งในภาษาอังกฤษ Tense  มีความสำคัญและเป็นหัวใจของภาษา
            ในการเรียนในวันนี้ผู้สอนได้มีการทบทวน เกี่ยวกับ Tense ทั้ง 12 Tense ซึ่ง Tense  เป็นหัวใจหลักของไวยากรณ์ทางภาษา และเชื่อมโยงและเกี่ยวพันกับภาษาศาสตร์ทั้ง Syntax (โครงสร้างประโยค) , Phonology และ Semantic (ความหมาย) Tense  เป็นเรื่องยากมากสำหรับใครหลายๆ คนรวมถึงดิฉันด้วย มันเป็นสิ่งที่ยากมาก ในการนั่งจดจำหลักการใช้และจดจำโครงสร้างของแต่ละ Tense แต่ Tense ก็ยังคงมีความสำคัญและบทบาทที่จำเป็นในการใช้ภาษา ฉะนั้นเราจะต้องรู้หลักการใช้และโครงสร้าง และควรทำความเข้าใจเรื่อง Tense ให้ลึกซึ้งและแม่นยำ เพราะ Tense จะเป็นตัวบ่งบอก กาล กริยา ในภาษาไทยจะไม่มีการบ่งบอกกาลซึ่งต่างจากภาษาอังกฤษ กริยาจะเปลี่ยนไปตามกาลหรือ Tense นั่นเอง นอกจากนี้โครงสร้างของประโยคก็จะเปลี่ยนไปตามโครงสร้างของแต่ละ Tense เช่นกัน ไม่ว่าจะเป็น Present simple: S+V1  , Past simple : S+V2   ,และ Future simple: S+ will + V infinitive และอี 9 Tenses ก็ยังมีความแตกต่างกันไปอีก แต่สำหรับ Future perfect  continuous Tense เป็นโครงสร้างที่ไม่ได้ถูกนำมาใช้สักเท่าไรนัก

            อย่างไรก็ตามการที่ได้ทบทวนเรื่อง Tense ในวันนี้ ได้รับความรู้และได้เข้าใจในการใช้ Tense มากขึ้น ได้เรียนรู้หลักการใช้  ความแตกต่างของ Future Tense  ,Present Tense และPast Tense        มากขึ้นแต่ก็ยังมีบาง Tense ที่ยังคงสับสน และไม่เข้าใจ ดังนั้นเราจะต้องไปศึกษาหาความรู้เพิ่มเติม และทำความเข้าใจอย่างถ่องแท้ เพื่อการนำไปใช้ได้อย่างถูกต้อง และที่สำคัญการที่เราจะไปเป็นครูในอนาคต เราจะต้องเป็นผู้ที่ให้ความรู้ในสิ่งที่ดีและถูกต้องที่สุดให้กับนักเรียน

(Out class)

           การเรียนภาษาอังกฤษ เป็นเรื่องยากสำหรับใครหลายๆคน แต่กลับง่ายสำหรับบางคน  กระบวนการเรียนรู้ภาษาอังกฤษนั้น เป็นกระบวนการเรียนรู้ที่ต้องค่อยเป็นค่อยไป การเรียนรู้ทุกๆอย่างก็เช่นกันต้องใช้เวลาในการเรียนรู้ แต่การเรียนรู้แบบเดิมเดิมๆอยู่เสมอนั้นก็อาจเกิดความน่าเบื่อ และเกิดความเครียดได้ทำให้การเรียนรู้ล้าช้าตามไปด้วย การเรียนรี่เกิดจากความสุขความบันเทิง จะทำให้เรียนรู้ได้ดีและมีประสิทธิภาพ ปัจจุบันเราสามารถฝึกฝนและเรียนรู้ภาษาอังกฤษได้โดยไม่ต้องนั่งเครียดอยู่ในห้องเรียนพิเศษ  อย่างไม่มีความสุขและไม่สนุก แล้วยังต้องเสียเงินอีกด้วย มีวิธีการง่ายๆที่เราไม่ต้องลงทุน  เป็นวิธีการที่ทำให้เรามีความสุข เราสามารถเรียนรู้ได้ตลอดเวลา ทุกวันทุกเวลา และยังได้ความรู้อีกด้วยคือการเรียนรู้ภาษาอังกฤษผ่านเพลง แนวทางหนึ่งในการเรียนรู้ภาษาอังกฤษได้ทุกวันทุกเวลา วิธีนี้จะช่วยให้เราฝึกทักษะการฟังได้มากขึ้น และยังฝึกทักษะการพุด ทั้งสำเนียงภาษา ทำให้ถูกต้องอีกด้วย
วิธีการในการฝึกภาษาอังกฤษผ่านเพลง เป็นการฝึกภาษาด้วยตนเอง เป็นวิธีการหนึ่งที่มีประสิทธิภาพมาก เพราะนอกจากจะได้ฟังสำนวนภาษาและเรียนรู้วิธีการออกเสียงแล้ว เพลงจะทำให้เราเพลิดเพลินและโฟกัสการเรียนรู้ได้นานขึ้น  เป็นวีธีการที่ฉันได้ทดลองแล้ว ได้ผลดีมาก วิธีการนี้จะต้องเริ่มจากการรู้จักแหล่งหาเพลงดีๆ และแน่นอนว่าเว็บไซต์ที่เป็นที่นิยมที่สุดคือ YouTube และVimeo  แค่เพียงสองเว็บนี้เราก็สามารถเลือกเพลงได้มากมาย โดยใส่คีย์เวิร์ด subtitle หรือ lyrics ต่อท้ายด้วย จะช่วยให้ฟังง่ายขึ้น  สองเราต้องเลือกเพลงที่เหมาะสม เลือกเพลงที่ชอบ เลือกเพลงที่มีภาษาไม่ง่ายและไม่ยากเกินไป และนึกภาพตามง่ายด้วย และควรเลือกจากเพลงป๊อป เพราะเพลงป๊อปจะใช้คำง่ายๆซ้ำๆ จากนั้นค่อยๆแตกสาขาไปฝึกเพลงประเภทอื่นๆ  ในการฝึกแต่ละครั้งต้องฝึกอย่างเป็นขั้นตอน ฟังครั้งแรกควรฟังแบบไม่ดูเนื้อเพลงก่อนและควรพยายามเขียนคำศัพท์หรือประโยคออกมาให้ได้มากที่สุด จากนั้นฟังซ้ำๆและเปิดเนื้อเพลงไปด้วย   ร้องตามไปด้วยอย่างเต็มเสียงโดยพยายามร้องเพลงจากความจำ  แล้วลองร้องโดยไม่ดูเนื้อเพลง  ฟังไปเรื่อยๆสลับไปสลับมา เมื่อเริ่มชำนาญลองค้นหาเพลงใหม่ที่มี่ระดับความยากขึ้น เพื่อพัฒนาศักยภาพตัวเราให้ดีขึ้นอีก
อย่างไรก็ตาม วิธีการฝึกภาษาอังกฤษผ่านเพลง  วิธีการนี้เป็นเพียงวิธีการหนึ่งที่ทำให้การเรียนรู้ภาษาอังกฤษเป็นสิ่งที่น่าสนใจและง่ายขึ้น  ยังมีวิธีการอีกมากมาย  ในการเรียนรู้ภาษาอังกฤษ แต่จากการทดลองแล้ววิธีการนี้เป็นวิธีการที่ทำให้เราเรียนรู้ได้ดีที่สุด  เพราะเพลิดเพลิน ไม่เครียด  ประหยัด สามารถเรียนรู้ได้ทุกวัน ทุกเวลา  ไม่น่าเบื่อ เพลงที่ฟังก็สามารถค้นหาจากเว็บไซต์ต่างๆได้มากมายทั้ง Youtube,Vimeo และอีกมากมาย ขั้นตอนการเรียนรู้ง่าย ไม่ยุ่งยาก แต่สิ่งที่ได้มาให้กับตัวเรามากมาย ทั้งทักษะการฟัง ทักษะการเขียน และทักษะการพูด ซึ่งวิธีการนี้จะทำให้เราพูดสำเนียงภาษาอังกฤษได้ดีและถูกต้องด้วย หรือใครที่ไม่ชอบวิธีการนี้ วิธีการฝึกภาษาอังกฤษผ่านการดูหนัง ก็อาจเป็นอีกแนวทางหนึ่งนารเรียนภาษาก็ได้