วันเสาร์ที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

Learning Log 7

(22/09/15)
(In class)
            Sentence ในภาษาอังกฤษอาจเข้าใจได้ทันที่สำหรับคนที่เคยเรียนเคยอ่านมาก่อน ตำว่า Sentence ในภาษาไทยก็คือ ประโยคนั่นเอง ประโยคในภาษาไทยและภาษาอังกฤษนั้นมีลักษณะที่ใกล้เคียงกันมาก ทั้งรูปแบบโครงสร้างประโยค การเรียงประโยค แต่ก็จะมีสิ่งที่แตกต่างเช่นกัน เช่น คำนาม ในภาษาอังกฤษจะแจกรูปสรรพนามตามบุรุษที่ 1,2 และ 3 อย่างเด่นชัดและมีการเติม –s ที่กริยาของประธานบุรุษที่ 3 เอกพจน์ แต่ภาษาไทยไม่ คำกริยา คำที่นับได้ว่าเป็นหัวใจของประโยคคำกริยาในภาษาในภาษาอังกฤษต้องแสดงกาล (tence) เสมอว่าเป็นอดีตหรือไม่ใช่อดีต และอีกมากมายที่ประกอปอยู่ในประโยคนั้นๆ ในภาษาอังกฤษ ประโยคหรือ Sentence หมายถึง กลุ่มคำที่ประกอบด้วยภาคประธานและภาคขยายประธาน ที่เรียงประกอบเข้าด้วยกันอย่างเป็นระเบียบ โดยแสดงข้อความที่มีความหมายอย่างใดอย่างหนึ่งโดยทั่วไปแล้ว Sentence จะประกอบด้วยภาคประธาน(Subject) และภาคขยายประธานหรือภาคแสดง(predicate)ประโยคในภาษาอังกฤษสามารถแบ่งได้ออกเป็น 4 ประเภท คือ Simple sentence ประโยคความเดียว มีใจความสำคัญเพียงใจความเดียว มีประธานและกริยาที่บ่งบอกแค่การทำอย่างเดียว Compound sentence ประโยคความรวม ประโยคที่มีใจความสำคัญมากกว่า 1 โดยทั้งสองจะเชื่อมด้วยคำเชื่อม (and,but,or,so,for,nor,yet) และเมื่อแยกประโยคทั้งสองออกจากกันจะได้ประโยคที่มีใจความสมบูรณ์ และอีกประโยคจะมีใจความไม่สมบูรณ์ ไม่สามารถอยู่โดยลำพังได้ (Dependent clause) และประเภทสุดท้ายคือ Compound Complex sentence ประโยคที่มีทั้งความรวมและความซ้อนอยู่ด้วยกัน จึงประกอบไปด้วยประโยคที่มีใจความสมบูรณ์อย่างน้อย 2 ประโยค และที่ไม่สมบูรณ์อีก 1 ประโยค โดยประโยคที่มีใจความสมบูรณ์นี้เรียกอีกอย่างได้ว่า กลุ่มคำหรืออนุประโยคหรือ Clause นั่นเอง
            Clause หรือ อนุประโยค คือกลุ่มคำซึ่งมีประธานและกริยาในประโยคแต่มีใจความไม่สมบูรณ์ในตัวเอง จึงไม่สามารถใช้โดยลำพังได้ ต้องอาศัยใจความจากประโยคหลัก (main clause) เข้ามาช่วยหรืออีกนัยหนึ่ง clause คือประโยคที่ซ่อนอยู่ในประโยคนั่นเอง
Clause สามารถใช้เสมือนเป็น Noun, Adjective หรือ Adverb ก็ได้ โดย clause สามารถแบ่งได้ออกเป็น 3 ชนิด คือ Noun clause ประโยคที่ทำหน้าที่เหมือนคำนามในประโยค แต่มีใจความสมบูรณ์ในตัวเอง ต้องอาศัยใจความประโยคหลัก Noun clause จะขึ้นต้นด้วยคำแสดงคำนาม เช่น how, what, which, where, why, who, whom, whose และมักขึ้นต้นประโยคด้วย that ซึ่งแปลว่า ว่า” Noun clause จะทำหน้าที่เป็นประธานของกริยา กรรมของกริยา กรรมของบุพบท เป็นส่วนสมบูรณ์ของประโยคและเป็นคำซ้อนของนามหรือสรรพนาม ประเภทที่สอง Adjective Clause ประโยคที่ทำหน้าที่เป็นคุณศัพท์คือขยายคำนามหรือสรรพนาม ลักษณะของ Adjective Clause จะทำหน้าที่ด้วยคำเชื่อม relative pronoun (who, whom, that, which, whose) และ relative adverb (when, where, why) และชนิดสุดท้ายคือ Adverb clause ประโยคที่ทำหน้าที่เหมือน adverb clause มี 9 ชนิด ได้แก่ Adverb Clause of time, place, manner comparison, cause or reason, purpose, result และ concession นอกจากนี้ยังมี Adverb clause of condition ประโยคที่ทำหน้าที่ขยายกริยาเพื่อแสดงเงื่อนไข หรือ IF-Clause นั่นเอง
            If-Clause หรือ Condition sentences คือประโยคที่มีข้อความแสดงเงื่อนไขหรือการสมมุติซึ่งประกอบด้วยประโยคเล็ก 2 ประโยครวมกัน และเชื่อมด้วย condition “if” ประโยคที่นำหน้าด้วย if แสดงเงื่อนไข เราเรียกว่า if-clause และประโยคที่แสดงผลเงื่อนไขนั้นเราเรียกว่า main clause เช่น

If it rains, I shall stay at home
                                               If – Clause                               main clause

If – Clause หรือ Condition sentences จะมี 3 แบบใหญ่ๆ ดังนี้
1.       >>>Present Possible             If + present verb, will/may/can + V. จะใช้กับเหตุการณ์ที่เป็นจริงตามธรรมชาติ เป็นความจริง ตามหลักวิทยาศาสตร์ ใช้กับเหตุการณ์ที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต ตัวอย่างประโยค เช่น
-          If you turn to the east, you see the sun rising.
-          If I have a new dress, I will go to the party.
2.       >>>Present Unreal               If + past tense verb, would/might/could + V. ใช้กับเหตุการณ์ที่เป็นไปไม่ได้ในปัจจุบัน
3.       >>>Past Unreal ใช้กับเหตุการณ์ที่เป็นไปไม่ได้ในอดีต                 If + past perfect tense verb, would have + V.ed Past Unreal จะใช้เพื่อเหตุการณ์นั้นเป็นไปไม่ได้เลย ตัวอย่างประโยคเช่น
-          If you had eaten fat and carbohydrate lass,
You would have been thin.
นอกจากนี้เราสามารถใช้ Unless (ถ้าไม่) ใน If – Clause ได้ด้วย สามารถใช้แทนคำว่า if…not ตัวอย่างประโยคเช่น
            Unless I study hard, I wouldn’t pass the exam. ใน If – clause หรือ Condition sentence มีข้อสังเกตอยู่หลายข้อ คือ ใน If – Clause จะไม่ตามด้วย Future Tense เลย แม้ว่าความหมายจะเป็นอนาคตก็ตาม ข้อสังเกตประการต่อ will จะใช้ใน If – Clause แต่ไม่ได้แสดงความหมาย อนาคตกาลแต่แสดงถึงความเต็มใจหรือตั้งใจทำ (willingness) เช่น If you will sign this agreement, I will let you have the money at once. ในตัวอย่างประโยคนี้เราสามารถใช้ would แทน will ได้จะทำให้สุภาพยิ่งขึ้น ข้อสังเกตต่อมาใน If – Clause ที่แสดงเงื่อนไขไม่จริงในอนาคต มักจะใช้ “were” กับทุกๆประธาน ข้อสังเกตประการสุดท้ายในการวาง If – Clause กับ main clause การวาง If – clause ก่อนและตามด้วย main clause ไว้ก่อนจะต้องมีเครื่องหมาย comma กั่นระหว่าง If – clause ก่อนและตามด้วย main clause จะมีความหมายว่าที่เน้นมาก ซึ่งส่วนมากจะวางในลักษณะแบบนี้ แต่หากว่า If – clause ได้ก่อนจะต้องมีเครื่องหมาย comma คั่นระหว่าง If – Clause กับ main clause ด้วย หากวาง main clause ไว้ข้างหน้า แล้วตามด้วย If – clause ความหมายของ If – clause แบบนี้จะไม่เน้น แต่เป็นการกล่าวธรรมดา
            สรุปสิ่งที่ได้เรียน
            จากการเรียนรู้ในห้องเรียนจากที่อาจารย์ได้สอนในเรื่องของ IF – Clause หรือ Condition Sentence ทำให้มีความเข้าใจมากขึ้นส่วนหลังจากนั้นได้มีการค้นหาค้นคว้าหาความรู้เพิ่มเติมในเรื่อง If – Clause ซึ่งก็คือ If – clause คือ ประโยคที่มีข้อความแสดงเงื่อนไขหรือสมมุติซึ่งประกอบด้วยประโยคเล็ก 2 ประโยครวมกัน และเชื่อมด้วย Condition if ประโยคที่นำหน้าด้วย if เรียกว่า if – clause และประโยคที่แสดงเงื่อนไขเรียกว่า main clause โดย If – Clause จะมี 3 แบบใหญ่ๆ คือ Present Possible, Present Unreal และ Past Unreal ซึ่งแต่ละแบบจะมีความหายแต่งต่างกัน และจะมีข้อสังเกตให้เราได้เห็นถึง If – clause ในแบบต่างๆนอกจากนี้ยังมีโครงสร้างที่แตกต่างกันไปด้วย เราควรที่จะเลือกใช้ให้ถูกต้องและหมั่นฝึกฝนการใช้ประโยค If – clause ด้วย

Learning Log 7
(Out class)
            ทุกวันนี้โลก สังคม ได้พัฒนาและมีความเจริญเข้ามาอย่างมากมาย การใช้เทคโนโลยีก็มาเพิ่มเติมอยู่เสมอ เครื่องมือต่างๆ หรืออุปกรณ์ต่างๆที่ใช้งานง่ายและสามารถหาซื้อได้ง่ายเช่นกัน การเรียนรู้เป็นสิ่งที่สำคัญ การเรียนจะทำให้เรามีความรู้ความเข้าใจและสามารถเข้าใจเรื่องต่างๆได้ง่ายขึ้น การเรียนรู้ภาษาอังกฤษก็เช่นกันภาษาจะทำให้เราและโลกเปิดกว้าง สามารถหาความรู้จากแหล่งการเรียนรู้จากแหล่งใดก็ได้ เราบางคนชอบเรียนภาษาอังกฤษมาก แต่บางคนก็ไม่ชอบวิชานี้กัน เพราะน่าเบื่อสำหรับพวกเขา ปัจจุบันมีวิธีการเรียนรู้ภาษามากขึ้น เราสามารถประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่มาใช้ในการเรียนรู้ภาษาได้ และนอกจากวิธีการต่างๆ เราก็สามารถนำมาประยุกต์ใช้ในการเรียนรู้ภาษาได้ เช่นกัน การบูรณาการความบันเทิงและเรียนรู้เข้าด้วยกันจะทำให้เราเกิดความไม่น่าเบื่อและมีความสนุกในการเรียนภาษา วิธีการหนึ่งที่จะช่วยให้เราไม่น่าเบื่อ เป็นสิ่งใกล้ตัวเราที่เราทำเกือบจะทุกวัน และเราชอบที่ทำด้วย วิธีการนี้ก็คือ การดูหนัง ดูภาพยนตร์ ดิฉันได้ยินวิธีการฝึกภาษาโดยวิธีการนี้จากอาจารย์หลายๆท่านจึงลองทำดู
            ด้วยความอยากรู้ของดิฉัน จึงได้ทดลองทำวิธีการนี้เพื่อฝึกภาษาของตนเองโดยการหาหนังหรือภาพยนตร์ที่เป็นการ์ตูนหรือไม่ก็ Animation จึงไว้ค้นหาดูจาก Internet แล้วเจอกับเรื่อง Corpse Bride เนื่องด้วยดิฉันเป็นคนชอบดูการ์ตูนจึงอยากเริ่มฝึกจากเรื่องนี้ เรื่องนี้เป็นเรื่องของชายหญิงคู่หญิงที่ถูกจับแต่งงานกันโดยไม่เคยพบกันมาก่อน ทั้งสองครอบครัวที่มีความแตกต่างกันต้องจำใจให้จัดงานแต่งงานให้วิกเตอเรียและแวนดอร์ท ท่ามกลางความวุ่นวายทุกคนตื่นเต้น ยกเว้นเจ้าสาวและเจ้าบ่าวที่ต้องแต่งงานโดยไม่รู้รักกัน แต่ในวันซ้อมงานแต่ง วิกเตอเรีย  เธอกล่าวคำ สาบานพลาดไป และจุดไฟบนว่าที่แม่ยายโดยไม่ได้ตั้งใจ และเธอก็ถูกบาทหลวงไล่ออกจากโบสถ์และเดินไปอย่างไร้จุดมุ่งหมาย และมีหญิงสาวสวมชุดเจ้าสาวโผล่ขึ้นมาจากดิน มีแหวนของวิดตอเรียอยู่ในนิ้วของกระดูกของเธอ เธอสาบานตัวเองเพื่อแต่งงานกับเจ้าสาวซากศพ ตั้งแต่เธอถูกฆ่าในคืนวิวาห์ วิคเตอร์กลายเป็นเจ้าบ่าวโดยไม่ได้ตั้งใจ และถูกลากลงไปใต้พื้นดิน ดินแดนแห่งความตาย เขาเฝ้ารอคอยเพื่อที่จะกลับมาหาวิดเตอเรีย เขาพยายามที่จะหาทางหนีจากดินแดนแห่งความตายนี้แต่เจ้าสาวซากศพไม่สวย  วิกเตอร์หาทางกลับมาสู่อ้อมกอดแห่งรักแท้ของเขา
            หนังเรื่องนี้มีชื่อเรื่องไทยว่า เจ้าสาวศพสวย เป็นหนัง Animation โดยค่าย  Warner Bros Protures คือค่ายผู้ผลิต เป็นหนังที่สนุกตื่นเต้นมาก ถึงแม้ว่าจะผลิตและเข้าฉายมาหลายปีแล้ว โดยดิฉันเริ่มจากการฟังเสียงพากย์ไทยก่อนเพื่อให้เข้าใจถึงเรื่องราวต่างๆ ของหนังก่อน ต่อมาดูอีกรอบแต่ให้เปลี่ยนเป็นพากย์ภาษาอังกฤษแล้วลองฟังเสียง ถือเป็นการฝึกทักษะการฟังไปด้วยอีกทางหนึ่ง หลังจากนั้นดูซ้ำอีกครั้งโดยเพิ่ม sub ภาษาอังกฤษ ให้เราดูการใช้ภาษาการเขียนประโยคต่างๆสำนวนคำพูดที่ใช้ เพราะมักจะเป็นสำนวนที่ใช้ประจำและเป็นเรื่องใกล้ตัวของเราด้วยทำให้เราจำได้ เข้าใจง่ายด้วย ยิ่งเป็นหนังที่เราชอบและสนุกไปกับหนังการเรียนรู้ของเราก็จะเป็นไปได้ง่าย และเกิดความเข้าใจและได้เรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้การใช้วิธีการนี้ จะทำให้เราได้ฝึกทักษะการฟัง การอ่าน เพิ่มเติมไปอีกด้วยการเรียนรู้ของเราก็ยิ่งดีและพัฒนาขึ้นอีกมาก
            สรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้
            โลกสังคม พัฒนา เทคโนโลยีมีให้เลือกใช้มากมาย ในการเรียนภาษาเราสามารถใช้มันมาบูรณาการประยุกต์ใช้ได้ ไม่ว่าจะวิธีการเรียนรู้ของทักษะใดก็ตาม แต่วิธีการหนึ่งที่นิยมกันก็คือ การเขียนภาษาจากการดูหนังได้เพื่อไม่ให้เกิดความเบื่อ เราควรเลือกหนังที่เราชอบ และเป็นการใช้ภาษาที่ไม่ยากนัก เพื่อให้เราเข้าใจง่าย เมื่อเราดูแล้วเราควรพัฒนาระดับความยากของหนังด้วย เราจะได้พัฒนาตัวเราไปเพิ่มขึ้นด้วย




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น