วันเสาร์ที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

Learning Log 9

(In class)
            ประโยคในภาษาอังกฤษนั้นเกิดจากคำหลายๆคำ หรือ วลีที่นำมาเรียงต่อกันอย่างเป็นระเบียบ มีใจความสมบูรณ์ แสดงให้เรารู้ว่า ใคร ทำอะไร ที่ไหน อย่างไร ประโยคหนึ่งๆ จะประกอบด้วยภาคประธานและภาคแสดงเป็นหลัก และอาจมีคำขยายต่างๆได้ คำขยายต่างๆนั้นอาจเป็น อนุประโยคต่างๆ คือ Adjective clause, Adverb clause และ Noun clause หรืออนุประโยค คือกลุ่มคำซึ่งมีประธานและกริยาในประโยคแต่มีใจความไม่สมบูรณ์ในตัวเอง จึงไม่สามารถใช้โดยลำพังได้ ต้องอาศัยใจความหลักเข้ามาช่วย ซึ่งอาจกล่าวอีกนัยหนึ่งว่า clause ก็คือ ประโยคที่ซ่อนอยู่ในประโยคนั่นเอง clause อาจใช้เสมือนเป็น Adjective Adverb หรือ Noun ก็ได้
            Noun clause หมายถึง อนุประโยคที่ทำหน้าที่เสมือนกับ Noun (คำนาม) คำหนึ่ง ซึ่งอาจเป็นประธาน (Subject) หรือ กรรม (Object) วิธีข้อสังเกตว่า Clause ใดเป็น Noun clause นั้นให้สังเกตดังนี้คือ
-          Noun Clause มักจะขึ้นต้นด้วย That ซึ่งแปลว่า ว่า
-          Noun Clause มักจะขึ้นต้นประโยคด้วยคำที่แสดงคำถาม คือ how, what, which, where, why, who, whose, whom
เช่น
            I don’khow how he did it.
            ผมไม่รู้ว่าเขาทำมันได้อย่างไร
            What you want is in the dag.
            สิ่งที่คุณต้องการอยู่ในถุงนี้แล้ว
            Who you want is still a question.
            หล่อเป็นใครยังเป็นคำถามอยู่
-          Noun Clause ขึ้นต้นประโยคด้วย If หรือ Whether
1.       การใช้ Noun clause ที่ขึ้นต้นด้วย “that” ในกรณีต่อไปนี้ ใช้ตามหลัง verb บางตัวที่แสดงความรู้สึก ความคิด หรือความคิดเห็น เช่น agree, feel, know, remember, believe, forget, hope, understand เช่น Sompong Knows all along that his mum loves him so much.
ถ้าเป็นภาษาพูด มักจะละ that ซึ่งเป็นคำขึ้นต้น clause ส่วนใหญ่ verb ที่ปรากฏอยู่ใน main clause มักจะเป็น Present Simple Tense ธรรมดา ส่วนกริยา Verb ใน noun clause จะเป็น Tense อะไรก็ได้ ถ้าต้องการหลีกเลี่ยงการพูด that พูดเกินไป สามารถตอบโดยใช้คำว่า so หรือ not หลัง main clause ได้
2.       การใช้ Noun clause ที่ขึ้นต้นด้วย Wh – Word มีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า Indirect wh- question และแม้ว่า noun clause เหล่านี้จะขึ้นต้นด้วยคำแสดงคำถาม แต่ลำดับคำในอนุประโยคนี้ จะเป็นลำดับของประโยคบอกเล่า ไม่ใช่ลำดับของประโยคคำถาม เช่น
I know why she comes home very late.
I don’t know when she will arrive.
ใช้ Noun clause ที่ขึ้นต้นด้วย  Wh – Word เพื่อแสดงให้คู่สนทนาทราบว่า เราใช้ไม่รู้ หรือเราไม่แน่ใจ เช่น I don’t know how much it costs.
            I’m not sure which house is his.
ใช้ noun clause เพื่อถามหาข้อมูลอย่างสุภาพ เช่น
            Could you tell me who are injured in the accident?
3.       การใช้ Noun clause ที่ขึ้นต้นด้วย If หรือ Whether หรือ indirect yes/no question นั่นเอง เช่น
Did they pass the exam?
-          I don ‘know if they passed the exam.
ลำดับคำในประโยคและเครื่องหมายจบประโยคจะใช้ full stopฟีดประโยค จะขึ้นต้น Noun Clause ด้วยคำว่า If หรือ Whether ก็ได้แต่มักใช้ Whether ในสถานการณ์ที่ค่อนข้างเป็นทางการ เช่น
Sir, I would like to know whether you prefer coffee or tea.
Tell me if you want to go with us or not.
ใช้ Noun Clause ที่ขึ้นต้นด้วย if และ whether เมื่อ main clause แสดงการใช้ความคิดหรือความคำนึงเช่น
            I can’t remember if I had already paid him.
            I wonder whether he will arrive in time.
หรืออาจใช้เมื่อต้องการถามคำถามอย่างสุภาพ เช่น
            Do you know if the principal is in his office?
            Can you tell me whether the tickets include drinks?
การละ that ในประโยค Noun clause that ที่นำหน้า Noun clause ที่ทำหน้าที่บางหน้าที่ใน complex sentence สามารถละได้ในกรณีดังนี้ คือ กรณีที่ Noun clause เป็น Abject เช่น
            We believe (that) he told the truth.
            I wish (that) I would win the first prize.
กรณีที่ noun clause เป็น subject complement เช่น
            The reason is (that) he speaks English fluently.
กรณีตามหลังคำคุณศัพท์ เช่น
            I am sure (that) he can get a good job.
            They are afraid (that) they can’t reach the 6 o’clock train.
แต่บางกรณีไม่สามารถละ that ได้ คือเมื่อ that ขึ้นต้นประโยคเช่น
            That coffee grow in Brazil is true.
            That she had decided to be engaged frightens me very much.
เมื่อ that – clause เป็นคำซ้อนนามที่อยู่ข้างหน้ามัน (Appositive) เช่น
            The news that he was murderer is not true.
เมื่อ that – clause อยู่หลัง It is หรือ It was เช่น
            It is true that earth moves round the sun.
สรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้
            ในการเรียนรู้ที่ได้จากการเรียนรู้ในห้องเรียนทำให้รู้จัก Noun clause ต่างๆ ที่มีคำขึ้นต้นด้วย that, yes/no question และ wh-words การใช้อาจแตกต่างกันบ้างแต่ก็มีความหายคล้ายกัน


(Out class)
            ภาษาอังกฤษถือเป็นภาษาสากลที่ใช้ในการติดต่อสื่อสารระดับนานาชาติทั้งในวงการศึกษาหรืออื่นๆ ดังนั้นทักษะภาษาอังกฤษทั้งสี่ด้าน ได้แก่ การฟัง การพูด การอ่าน และการเรียน ซึ่งล้วนแต่เป็นทักษะที่จำเป็นในการนำภาษาอังกฤษไปใช้ในการประกอบอาชีพหรือการศึกษาต่อ ในทั้งสี่ทักษะนี้ ทักษะการเขียนถือเป็นทักษะที่สำคัญเมื่อเราต้องการสื่อสาร ถ่ายทอดความรู้ แสดงความคิดเห็น และการอธิบายชี้แจงเรื่องราวไปยังผู้อ่าน อย่างไรก็ตามทักษะการเขียนเป็นทักษะที่ค่อนข้างยาก เนื่องจากการเขียนเป็นทักษะที่ผสมผสานหรือเป็นกระบวนการที่ซับซ้อน และการถ่ายทอดความรู้และความคิดโดยผ่านการเขียนไม่ใช่สิ่งง่าย โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าเป็นภาษาที่ใช้เป็นภาษาต่างประเทศ ซึ่งไม่ใช่ภาษาของแม่เรา ยิ่งเป็นเรื่องยาก มีปัญหาการเขียนมากมายที่เกิดขึ้น ซึ่งสาเหตุมาจากหลายประการ ไม่ว่าจะเป็นการไม่รู้คำศัพท์ ใช้คำศัพท์ผิด ผิดหลักไวยกรณ์ (Grammar) ใช้คำขยายไม่ถูกต้อง การลำดับเนื้อหาความคิดสับสน และไม่รู้จักกลยุทธ์การเขียน โดยปัจจัยที่มีผลต่อกระบวนการและผลผลิตในการเขียนภาษาอังกฤษ ได้แก่ ความสามารถทางภาษา ความสามารถในการเขียนภาษาที่หนึ่ง การใช้กลไกในการเชื่อมโยงความรู้ กลยุทธ์ในการเขียนและลักษณะของนักเขียน ซึ่งสิ่งที่สำคัญที่สุดคือ กลยุทธ์ในการเขียน
            กลยุทธ์ในการเรียนรู้เป็นเสมือนกับการกระทำโดยเฉพาะพฤติกรรมขั้นตอนและกระบวนการคิดที่ใช้โดยผู้เขียน เพื่อที่จะทำให้การเรียนรู้ง่ายขึ้น เร็ว สนุกสนานขึ้น ควบคุมตัวเองได้ มีประสิทธิภาพและสามารถนำไปใช้ในการเรียนครั้งต่อไปได้ กลยุทธ์ในการเรียนรู้ที่ใช้ในการเรียน ซึ่งกลยุทธ์เหล่านี้จะช่วยพัฒนาทักษะการเขียนได้อย่างมีประสิทธิภาพ จะมีด้านกลยุทธ์ด้านความความจำที่ช่วยให้ผู้เขียนสามารถเก็บข้อมูลความถี่ และสามารถเรียกนำมาใช้เมื่อต้องการซึ่งจะมีความรู้เดิมและความรู้ใหม่ สัมพันธ์กัน กลยุทธ์ด้านความรู้ ความคิด คือ ความรู้ ความคิดอย่างเป็นขั้นตอน หรือ เป็นการแก้ปัญหาที่ต้องใช้การวิเคราะห์รวมถึงการถ่ายโอนความรู้ การแปล การคำนึงถึงรูปแบบของภาษา การใช้เหตุผลและการวิเคราะห์ข้อความ กลยุทธ์ในการใช้ภาษา เพื่อสื่อความหมายในการเขียน การเขียนอธิบายแทนการเขียนคำศัพท์ตรงตัวที่ไม่รู้จัก กลยุทธ์ที่ผู้เขียนใช้ในการวางแผนและตรวจสอบงานเขียน และกลยุทธ์ที่ใช้ในการควบคุมตัวเองด้านอารมณ์ และทัศนคติ การพัฒนาความเชื่อมั่นของผู้เขียน รวมไปถึงการลดความกังวลต่างๆ ด้วย
            การเขียนนั้น ผู้เขียนจะเป็นผู้ที่มีความสามารถอย่างมากในการประยุกต์คำศัพท์ ไวยากรณ์ และโครงสร้าง ของประโยคเข้าด้วยกันเพื่อสร้างประโยคให้ผู้อ่านเข้าใจและไม่สับสน สำหรับไวยากรณ์นั้นผู้เขียนจะต้องฝึกฝน และทบทวนความรู้อยู่เสมอ วิธีการฝึกฝนไวยากรณ์ก็มีอยู่หลายวิธี ทั้งจากการอ่านหนังสือต่างๆ และการเรียนรู้ไวยากรณ์ผ่านเพลงและภาพยนตร์ วิธีต่างๆนี้จะช่วยพัฒนาเรื่องของไวยากรณ์ได้ดีมาก แต่ต้องขึ้นอยู่กับตัวผู้เขียนด้วย ที่จะต้องฝึกเขียนอยู่เสมอ เมื่อเขียนเสร็จก็จะต้องดูหลายๆ ครั้งเพื่อหาข้อผิดพลาดในการเขียนของตัวเองหรืออาจใช้วิธีให้คนอื่นมาอ่าน หากมีตรงไหนติดขัดหรือยังไม่เข้าใจ ก็ควรหาข้อผิดพลาดและแก้ไขในส่วนที่ผิดพลาดนั้นให้ถูกต้อง เมื่อแก้ไขแล้วก็ควรดูให้ละเอียดอีกครั้ง เพื่อให้งานเขียนมีประสิทธิภาพมากที่สุด
            ในการเขียนแต่ละครั้งผู้เขียนควรคิดให้ชัดว่า ประเด็นหลักหนึ่งประเด็นคืออะไร และมีเหตุผลอะไร มา 2-3 ประเด็นในการ support ประเด็นหลัก โดยจะต้องพยายามจูงใจให้ผู้อ่านเห็นคล้อยตามเรา เพื่อให้เหตุผลของแข็งแรงเราต้องหาเหตุผลต่างๆ มา การเขียนจะต้องเขียนด้วยความชอบมิใช่เพียงการเขียนอะไรก็ได้ให้ผ่านๆ ไป เราต้องเชื่อมั่นว่าสิ่งที่เราเขียน แสดงออก ให้คนอื่นเชื่อเราตามไปด้วย ก่อนลงมือเขียนให้เขียนโครงสร้าง (Outline) ด้วย Key word หลักเพื่อใช้เป็นเหตุผลรองรับความคิดหลัก การที่เราวางแผนไว้ก่อนนั้นทำให้การเขียนของเรามีระบบมากขึ้น ในแต่ละประโยคที่เขียนลงไปจะต้องชัดเจนไม่มีความกำกวม ในการเขียนทุกครั้งจะต้องมีการตรวจทานหาข้อผิดพลาดเสมอ
            จากการได้เรียนรู้ดังข้างต้นดิฉันได้ฝึกการเรียน Essay แบบสั้นๆ Essay ที่ได้ก็คือ My name is Onjira Kaewprasert . I am studying English major in Rajabhat Nakhon Si Thammarat University my home country. Here student spend five year to graduate Edution. I am 21 years old. I work a panttime job with my friends in town Nakhon Si Thammarat. I am very happy for this job but sometime it’s very tire. Howerer, I love it. จาก Easay แนะนำตัวเองดิฉัน ยังคงมีข้อผิดพลาดที่ควรแก้ไขอีกมากมายไม่ว่าจะเป็นโครงสร้างประโยค และคำศัพท์ที่ใช้ อาจเนื่องมาจากคลังคำศัพท์ของดิฉันยังไม่มีมากเพียงพอ ดิฉันจะต้องเพิ่มเติมคำศัพท์ที่มีให้มากขึ้น และ ดิฉันได้เจอหนังสือเล่มหนึ่ง มีชื่อว่า More Than 1,000 word
            หากจะพูดถึงวิธีการเรียนรู้คำศัพท์ของแต่ละคนนั้นแตกต่างกัน แล้วเราจะต้องจำคำศัพท์มากขนาดไหน จึงจะพูด เขียน ฟังภาษาอังกฤษได้ ในหนังสือเล่มนี้ ได้บอกไว้ว่าขึ้นอยู่ว่าเราต้องการพูด เขียน ฟัง และอ่านเกี่ยวกับเรื่องอะไร เราก็ควรเรียนรู้ศัพท์และสำนวนในเรื่องนั้น ในการจดจำอย่างน้อยวันละ 1 คำ และการท่องจำก็ให้อ่านจากคำอ่านที่ให้มา และการลงเสียงหนักเบาให้ถูกต้องเพราะจะต้องช่วยแก้ไขปัญหาการออกเสียงผิดของเราด้วย หลายคนมีวิธีการจำคำศัพท์แบบของพวกเขา แต่สำหรับวิธีการจำคำศัพท์ของดิฉันคือ ดิฉันจะจดจำคำศัพท์หรือสำนวนต่างๆ ไว้ในสมุด โยจะจดให้เป็นระเบียบ และ จด past of speech ของคำกำกับไว้ข้างท้ายของคำศัพท์ด้วย ตัวอย่างเช่น
            Quibble (V.) = ทะเลาะ, เล่นลิ้น, ติฝีปาก
จะบอกเลยว่าคำศัพท์หนึ่งอาจมีความหมายได้ หลายความหมายดิฉันจะจดทุกๆความหมายของคำศัพท์ไว้ เพื่อเมื่อเรานำไปใช้เราก็จะเลือกใช้คำศัพท์ได้หลากหลายและสำหรับคำที่เขียนคล้ายๆกันออกเสียงคล้ายกันนั้น ดิฉันจะเขียนไว้ใกล้ๆกัน หรือ คำศัพท์ที่อยู่ในหมวดหมู่เดียวกัน จะจดไว้ด้วยกันอย่างเช่น
            Cutinize (V.)     = วิพากษ์วิจารณ์
            Critical (adj.)     = เชิงวิจารณ์
            Critic (n.)          = นักวิจารณ์
            Criticism (n.)     = คำวิจารณ์
และสำหรับการจำคำที่คล้ายกันจะเลือกจำได้คำหนึ่งไปเลย เพราะเราจะไม่สับสนและไม่จำสลับกัน แล้วถ้าจดจำคำศัพท์ไว้ในสมุดแล้วไม่เปิดดูบ่อยๆ เราจะจดจำคำศัพท์ได้อย่างไร ฉะนั้นสิ่งที่ต้องทำก็คือ ต้องนำสมุดคำศัพท์ที่จดไว้ มาเปิดดูทบทวนบ่อยๆ และควรฝึกนำคำศัพท์ต่างๆ ไปใช้บ่อยๆด้วย เพราะเราทำแบบนี้จะทำให้สามารถจดจำคำศัพท์ไว้ได้ในระยะยาว
            นอกจากการเรียนรู้จดจำคำศัพท์แล้ว การเรียนรู้สำนวนต่างๆในภาษาอังกฤษก็จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการเขียนของเราได้อีกทางหนึ่ง สำนวนคือ ถ้อยคำ กลุ่มคำ หรือ ข้อความที่เรียบเรียงขึ้นในเชิงอุปมาอุปมัย โดยมีความนัยแฝงอยู่อย่างลึกซึ้ง เพื่อให้ผู้รับได้ตีความ ทำความเข้าใจด้วยตนเองอีกครั้งหนึ่ง สำหรับสำนวนภาษาอังกฤษจะยิ่งทำให้เราตีความยากขึ้น เนื่องจากภาษาอังกฤษไม่ใช่ภาษาแม่ของเราคำศัพท์ที่ใช้ในสำนวนไม่ได้แปลตรงตัวสักเท่าไร ยิ่งทำให้เข้าใจยากยิ่งขึ้น ซึ่งในการฝึกสำนวนของดิฉันจะทำเช่นเดียวกับการจดจำคำศัพท์ คือ เจอสำนวนที่ไม่คุ้นเคยจะจดไว้ในสมุด แล้วจะเขียนตัวอย่างประโยคไว้ และจะคอยทบทวนความหมายของสำนวนนั้นๆ บ่อยๆ ตัวอย่างสำนวนที่ดิฉันได้เรียนรู้ เช่น
            Mushroom into something (idm.) = บานปลาย
จะเห็นได้ว่าคำศัพท์ในสำนวน mushroom แปลว่า เห็ด แต่เมื่อมาอยู่ในรูปของสำนวนแล้วกลับมีความหมายที่ต่างไป
            Hot air (idm.) = การพูดโอ้อวด, เพ้อเจ้อ
สำนวนนี้ยิ่งต่างกันโดยสิ้นเชิง แต่ดิฉันได้หาข้อมูลเพิ่มเติมปรากฏว่าสำนวนนี้มีที่มา จาก Hot air balloon    balloon จะต้องใช้ความร้อนในการลองลอยและ balloon  จะต้องลอยไป
ตามลมไม่มีทิศทาง เป็นการเปรียบเทียมกับคำพูดที่ซึ่งชอบพูดจาโอ้อาด  และเพ้อเจ้อไม่มีทิศทางของคำพุดที่แน่นอน

            To   purr  like  a   cat  cidm.) = เปล่งเสียงอย่างมีความสุข
สำนวนนี้เป็นการเปรียบเสียงต่างๆ กับเสียงของแมว สามารถใช้สำนวนนี้กับรถยนต์และคนก็ได้
            สำนวนต่างๆ นี้เราสามารถเลือกนำไปใช้ได้   แต่เราจะต้องศึกษาหาข้อมูล
ของแต่ละสำนวนให้รู้ดีเสียก่อน  เนื่องจากสำนวนบางสำนวนสามารถใช้ได้กับคนได้
สิ่งของได้  เราจะเลือกใช้สำนวนใดก็ควรศึกษาให้ดีก่อนว่าจะใช้ได้อย่างไร สามารถใช้ในกรณีไหน อาจจะต้องดูไปถึงค่านิยมและความเชื่อที่แผงเป็นนัยอยุ่ในคำๆนั้น ในด้านของการเขียนด้วย  หากเราเลือกใช้สำนวนที่ผิด หรือไม่เหมาะสมกับเรื่องที่เขียนจะทำให้งานเขียนที่ได้มาไม่มีความถูกต้อง ไม่น่าอ่าน และจะบ่งบอกไปถึงผู้เขียนด้วยว่าผู้เขียนยังไม่มีความชำนาญเพียงพอในการเขียน ดังนั้นผู้เขียนทุกคนจะต้องหมั่นพัฒนาตนเองเสมอ  หาความรู้เพิ่มเติม ฝึกฝนทักษะต่างๆ อยู่เสมอ เพื่อให้งานเขียนที่ได้มามีคุณภาพมากขึ้น
            สรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้
            ภาษาอังกฤษเป็นภาษาสากลที่ใช้ในการติดต่อสื่อสารระดับนานาชาติดังนั้น ทักษะทั้งสี่ด้าน  การฟัง  การอ่าน  การพูดและการเขียน มีความจำเป็นอย่างมากโดยเฉพาะอย่างยิ่งการเขียนเป็นทักษะที่ค่อนข้างยาก และซับซ้อนยิ่งถ้าเป็นภาษาอังกฤษยิ่งเป็นเรื่องยาก ผู้เขียนที่จะเขียนงานให้มีคุณภาพนั้นมีกลยุทธ์ในการเขียนกลยุทธ์ด้านความจำที่จะช่วยเก็บข้อมูลความรู้และเรียกมาใช้เมื่อต้องการกลยุทธ์ด้านความคิด คิดอย่างเป็นขั้นตอนการวิเคราะห์และการถ่ายโอนความรู้ กลยุทธ์การใช้ภาษาเพื่อสื่อสารความหมายเขียนเพื่ออธิบายความรู้ กลยุทธ์ในการวางแผ่นตรวจสอบงานเขียน  และกลยุทธ์ในด้านอารมณ์ทัศนคติ การเขียนผู้เขียนจะต้องมีความสามารถในการประยุกต์คำศัพท์ ไวยากรณ์และ  tneture  ของประโยคเข้าด้วยกัน ผู้เขียนที่จะเขียนงานในแต่ละครั้งควรคิดให้ชัดเจนว่าประเด็นหลักคืออะไรแล้วมีเหตุผลอะไรบ้างโดยในการเขียนจะต้องจูงผู้อ่านให้เห็นคล้อยตามเรา หากเราจะฝึกเป็นผู้เขียนที่ดีควรฝึกฝนการเขียนบ่อยๆหาความรู้เพิ่มเติมบ่อยๆทั้งการใช้สำนวน คำศัพท์ต่างๆด้วย
















ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น