วันพฤหัสบดีที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2559

Learning Log หลักเกณฑ์การถอดอักษรไทยเป็นอักษรโรมันแบบถ่ายเสียง

หลักเกณฑ์การถอดอักษรไทยเป็นอักษรโรมันแบบถ่ายเสียง
(ราชบัณฑิตสถาน)
(1/02/59)
            การแปลภาษาจากภาษาหนึ่งเป็นอีกภาษาหนึ่งนั้นเราจำเป็นต้องรู้ อักษรของภาษานั้น โดยการถ่ายทอดอักษรไทยเป็นอักษรโรมัน (อักษรภาษาอังกฤษ) ในการแปลภาษาไทยเป็นภาษาอังกฤษนั้นจำเป็นต้องคำนึงถึงหลักเกณฑ์การถอดอักษรไทยเป็นอักษรโรมันแบบถ่ายเสียง  เนื่องจากงานแปลนั้นจะต้องใช้หลักเกณฑ์การถอดอักษรไทยเป็นอักษรโรมันแบบถ่ายเสียงแบบเดียวกันทั้งหมดเพราะว่างานแปลชิ้นนั้นจะได้มีความเข้าใจได้ง่ายยิ่งขึ้นการถ่ายทอดตัวอักษรส่วนมากนั้นจะใช้ในการแปลชื่อ ดังนั้นหากมีการถ่ายทอดตัวอักษรผิดสักคำหนึ่งความหมายของคำนั้นหรือการแปลชิ้นนั้นมีความหมายผิดเพี้ยนได้ รวมทั้งจะทำให้ผู้อ่านงานแปลชิ้นนั้นจะเข้าใจจุดประสงค์และเนื้อหาของงานแปลชิ้นนั้นก่อให้เกิดความสนุกสนาน ความเพลิดเพลิน รวมทั้งได้รับประโยชน์จากงานแปลชิ้นนั้น
            หลักเกณฑ์การถอดอักษรไทยเป็นอักษรโรมันแบบถ่ายเสียงเป็นการถ่ายทอดโดยวิธีถ่ายเสียง (Transcription) เพื่อให้อ่านคำภาษาไทยที่เขียนด้วยอักษรโรมันให้ได้เสียงใกล้เคียง โดยไม่คำนึงถึงการสะกดการันต์และวรรณยุกต์ เช่น พระ Phra  แก้ว Kheo โดยจะแสดงให้เห็นตัวอย่างตารางเทียบเสียงพยัญชนะและสระ

ตัวอักษรไทย
ตัวอักษรอังกฤษ

ตัวอย่าง
ต้นพยางค์
กลางพยางค์

ก            
,, ต ฆ     
ง                   [ŋ]
ศ ษ ส           [s]
k
kh
ng
s
k
k
ng
t

กา = Ka,  นก = nok
ขอ = kho,   สุข =  suk
งาม ngam
จีน chin, อำนาจ =   amnat

            นอกจากจะต้องคำนึงถึงการถ่ายทอดโดยวิธีถ่ายเสียงแล้วยังต้องคำนึงถึงความหมายของคำ การใช้เครื่องหมาย “-” เพื่อแยกพยางค์ การแยกคำ การใช้ตัวอักษรดรมันตัวใหญ่ การถอดเครื่องหมายต่างๆ การถอดคำย่อ และสุดท้ายคือการถอดตัวเลข ซึ่งแต่ละลักษณะการถ่ายทอดตัวอักษรแต่ละแบบจะไม่เหมือนกัน สำหรับความหมายของคำจะกล่าวถึงไปยังหน่วยคำ คำ คำประสม คำสามานยนาม คำวิสามานยนาม คำนำหน้านาม คำทับศัพท์ ซึ่งทั้งหมดนี้จะต้องคำนึงถึงความหมายของคำ ต่อมาจะเป็นการใช้เครื่องหมาย “-” เพื่อแยกพยางค์ ในกรณีที่มีคำซึ่งมีหลายพยางค์ อักษรตัวสุดท้ายของพยางค์หน้ากับอักษรตัวแรกของพยางค์ตามมา อาจจะทำให้อ่านยาก หรืออ่านผิดได้ ให้ใช่เครื่องหมาย “-” เป็นตัวแยก การแยกคำซึ่งสามารถแยกได้ในกรณีชื่อเรียกเฉพาะ ยกเว้นคำประสมซึ่งถือว่าเป็นคำเดียวกัน และวิสามานยนามที่เป็นชื่อบุคคลให้เขียนติดกัน การใช้ตัวอักษรโรมันตัวใหญ่จะใช้ในกรณี ตัวอักษรแรกของชื่อและคำนำหน้านามที่อยู่หน้าคำวิสามานยนาม และขึ้นต้นย่อหน้า การถอดชื่อภูมิสาสตร์ให้ถอดตามเกณฑ์การถ่ายอักษรแบบเสียงโดยทับศัพท์เลย เช่นเดียวกับคำทับศัพท์  สำหรับการถอดเครื่องหมายต่างๆ ให้ถอดตามหลักการอ่านภาษาไทยได้เลย หากเป็น ไปยาลน้อย และไปยาลใหญ่ ให้ใช้ชื่อเต็มในการถอดแบบอักษร การถอดคำย่อให้ถอดตามหลักการอ่านแบบเต็มตามการอ่าน สำหรับคำย่อที่ยาวสามารถถอดแบบย่อและแบบเต็มได้ขึ้นอยู่กับผู้แปล แลการถอดตัวเลขก็จะถอดตามเสียงที่อ่าน
            ดังนั้นหลักเกณฑ์การถอดอักษรไทยเป็นอักษรโรมันแบบถ่ายเสียงมีความจำเป็นต่องานแปลที่ดีนั้นจะถือว่าเป็นการแปลที่มีความหมายใกล้เคียงกับงานต้นฉบับมากที่สุดเท่าที่จะแปลงานชิ้นนั้นได้ซึ่งขึ้นอยู่กับความสามารถของผู้แปลด้วย ซึ่งในการแปลจะมีการเทียบตัวอักษรระหว่างภาษาต้นฉบับไปยังภาษาฉบับงานแปลหรือที่เรียกว่าการแทนชื่อซึ่งการแทนชื่อในภาษานั้นจะเป็นการถ่ายทอดตัวอักษร การถ่ายทอดตัวอักษรส่วนมากนั้นจะใช้ในการแปลชื่อ  หากมีการถ่ายทอดตัวอักษรผิดสักคำหนึ่งความหมายของคำนั้นหรือการแปลชิ้นนั้นมีความหมายผิดเพี้ยน


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น