วันพฤหัสบดีที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2559

Learning Log การถ่ายทอดตัวอักษร (Transliteration)

การถ่ายทอดตัวอักษร (Transliteration)
(21/03/2559)
การถ่ายทอดตัวอักษร หมายถึง การนำคำในภาษาหนึ่งมาเขียนด้วยตัวอักษรของอีกภาษาหนึ่งโดยพยายามให้การเขียนในภาษาใหม่นี้ถ่ายทอดเสียงของคำในภาษาเดิมให้ใกล้เคียงที่สุดเท่าที่จะทำได้ การถ่ายทอดตัวอักษรที่มีบทบาทในการแปลภาษาหนึ่งไปอีกภาษาหนึ่งในเมื่อในภาษาต้นฉบับมีความพิเศษแทนชื่อเฉพาะของสิ่งต่างๆ เมื่อคำในภาษาต้นฉบับมีความหมายอ้างอิงถึงสั่งที่เป็นรูปธรรม หรือนามธรรมที่ไม่มีในสังคมของภาษาไทยจึงไม่มีการเทียบเคียงให้ เช่น คำที่ใช้เรียกต้นไม้ สัตว์ และกิจกรรมบางชนิด  ความคิดบางประเภทซึ่งมีในภาษาอังกฤษแต่ไม่มีในภาษาไทยเนื่องจากยังไม่มีการบัญญัติศัพท์ขึ้นในกรณีเช่นนี้ผู้ไปอาจแก้ปัญหาได้ 2 ประการคือใช้วิธีคำนิยามหรือคำอธิบายที่บอกลักษณะตรงกับคำเดิมนั้นหรือใช้คำทับศัพท์ในการถ่ายทอดเสียงของคำผู้แปลควรยึดหลักปฏิบัติในการถ่ายทอดเสียง
หลักปฏิบัติในการถ่ายทอดเสียง คือ ให้อ่านคำนั้นด้วยรู้ว่าคำนั้นออกเสียงอย่างไรประกอบด้วยเสียงอะไรบ้างแล้วหาตัวอักษรในภาษาฉบับแรกที่มีเสียงใกล้เคียงกันมาเขียนแทนเสียงนั้นๆ ภาษาทุกภาษาจะมีเสียงพยัญชนะและสระลงกันเป็นส่วนมากและผู้แปลจะหาตัวอักษรมาเขียนแทนได้เลยเช่นการใช้ "พ"ในการแสดงเสียงแรกในคำว่า Paul แต่ก็จะมีเสียงจำนวนหนึ่งซึ่งไม่มีตัวอักษรที่แทนเสียงตรงกับในฉบับแปลในกรณีนี้ให้หาตัวอักษรตัว 1 หรือ 2 ตัวเรียงกันที่มีเสียงใกล้เคียงที่สุดมาเขียนแทน เสียงบางประเภทจะไม่มีใช้ในภาษาหนึ่งและหรือมีก็เทียบเคียงไม่ได้เช่นเสียงหนักเบาในคำภาษาอังกฤษซึ่งไม่มีในภาษาไทยหรือเสียงวรรณยุกต์ ประจำพยางค์ซึ่งมีในภาษาไทยแต่ไม่มีในภาษาอังกฤษโดยไม่จำเป็นต้องคิดหาเครื่องใหม่มาใช้ในการเขียนดังนั้นการถ่ายทอดเสียงของคำภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทยไม่จำเป็นต้องมีเครื่องหมายบอกเสียงหนักเบาหรือไม่จำเป็นต้องใช้วรรณยุกต์แทนเสียงสูงต่ำ เมื่อกำหนดตัวอักษรตัวใดตัวหนึ่งแทนเสียงใดเสียงหนึ่งแล้วให้ใช้ตัวนั้นตลอดไปในบทแปลบทเดียวกันต้องใช้หลักการถ่ายทอดเสียงอย่างเดียวกัน


ตัวอย่างการถ่ายทอดเสียงพยัญชนะภาษาไทยกับภาษาอังกฤษ

ตัวอักษรไทย
ตัวอักษรอังกฤษ

ตัวอย่าง
ต้นพยางค์
กลางพยางค์
ท้ายพยางค์
ก                   [k]

, , ต          [kh]

ง                   [ŋ]
ศ ษ ส           [s]
k-

kh-

ng-
s-

-k
-g
-k

-ng
-s
กานดา            Kanda
บุนนาค           Bunnag
แขไข              Khaekhai
ภัคคินี             Phakkhini
งาม                 Ngam
แสงเดือน       Saengduean
ประภาศน์      Prapas


ตัวอย่างการถ่ายทอดเสียงสระภาษาไทยกับภาษาอังกฤษ
สระไทย
สระอังกฤษ
ตัวอย่าง
อิ
อี
อึ
อือ
อุ
อู
เอะ, เอ
i
i, ee
ue
ue
u
u, oo
e

      จิตศจี            Jitsajee
      สมนึก          Somnuck
      บันลือ          Bunlue
      กุสุมาลย์  Kusumal, Kusuman
      บุณชู           Bunchoo
      เพ็ญจันทร์    Phenjan



            ดังนั้นในถ่ายทอดเสียงทั้งพยัญชนะและสระนั้นควรมีการการให้ถูกต้องและตรงตามเสียงและพยัญชนะของภาษาที่ถอด ซึ่งการถ่ายทอดเสียงนี้สามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการแปลภาษาได้ ในกรณีคำหรือวลีที่แปลนั้นเป็นภาษาเฉพาะ ชื่อเฉพาะ คำที่มีความหมายอ้างอิงถึงสั่งที่เป็นรูปธรรม หรือนามธรรมที่ไม่มีในสังคมของภาษาไทยจึงไม่มีการเทียบเคียงให้ได้ ในการถอดก็ควรเลือกพยัญชนะ และสระให้เหมาะสมกับเสียงของภาษาที่จะแปลด้วย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น