วันพฤหัสบดีที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2559

Learning Log หลักการแปลวรรณกรรม

หลักการแปลวรรณกรรม
(8/02/2559)
วรรณกรรม หมายถึง หนังสือที่แต่งขึ้นด้วยความคิดสร้างสรรค์ วรรณกรรมเป็นงานเสี่ยงที่จัดไว้ในประเภทบันเทิงคดี เช่น งานแปลนวนิยาย เรื่องสั้น นิทาน นิยาย บทละคร การ์ตูน บทภาพยนตร์ บทเพลง การแปลวรรณกรรมสิ่งที่สำคัญที่สุดก็คือการรักษาความหมายเดิมไว้ให้ครบถ้วนถูกต้องไม่เปลี่ยนแปร ไม่กลายเป็นตรงกันข้ามรักษารถของความหมายเดิมไว้ให้เป็นรถเดียวกัน ผู้แปลต้องใช้ศิลปะที่ละเอียดลึกซึ้งในการแปล โดยการแปลงานวรรณกรรมหรือวรรณคดีจะมีหลักการแปลและขั้นตอนการแปล ทั้งหลักการและขั้นตอนการแปลนวนิยาย บทละคร บท ภาพยนตร์ นิทานและนิยาย เรื่องเล่า การ์ตูนและกวีนิพนท์
นวนิยาย เป็นหนังสือที่ได้รับความนิยมในมุกประเทศทุกสมัย เป็นหนังสือที่สร้างความบันเทิงให้แก่ผู้อ่าน การแปลนวนิยายจึงมีความสำคัญ ผู้แปลจะต้องมีศิลปะการการใช้ภาษา ทั้งถ้อยคำสำนวนและความสละสลวยของภาษาและต้องสอดคล้องกับต้นฉบับ การแปลจึงต้องมีหลักการแปลนวนิยาย ดังนี้ การแปลชื่อเรื่องนั้นผู้แปลอ่านไม่แปลก็ได้หากชื่อเรื่องเป็นที่รู้จัก และสามารถดึงดูดใจได้เพียงพอแล้ว หรืออาจแปลชื่อเรื่องแปลแบบตรงตัว ถ้าต้นฉบับสมบูรณ์เหมาะสมจะใช้การแปลที่รักษาคำและความหมายที่ดีและกะทัดรัด และอาจแปลชื่อเรื่องแบบแปลบางส่วนดัดแปลงบสงส่วนและอาจตั้งชื่อใหม่โดยการตีความชื่อเรื่องและเนื้อเรื่อง สำหรับการแปลบทสนทนาซึ่งเป็นภาษาพูดนั้นควรแปลให้เป็นธรรมชาติสอดคล้องกับฐานะผู้พูดสอดคล้องกับระดับภาษาที่ใช้ในโอกาสนั้นและรักษาความหมายโดยนัยให้ครบถ้วน การแปลบทบรรยายก็เช่นกันต้องแปลให้สอดคล้องกับต้นฉบับและเหมาะสมกับระดับของภาษาด้วย
ขั้นตอนการแปลก็มีความสำคัญในการแปลอย่างมาก ในการแปลจะต้องมีขั้นตอนดังนี้
1. อ่านเรื่องราวให้เข้าใจเดินไปแล้วสามารถจับใจความสำคัญของเรื่องที่จะแปลได้ ย่อความเนื้อเรื่องจับประเด็นของเรื่องทำแผนผังความสัมพันธ์ของตัวละครสำคัญในเรื่องและพฤติกรรมที่มีความหมายที่มีความโยงใยต่อกัน
2. วิเคราะห์ถ้อยคำสำนวนค้นหาความหมายของคำศัพท์ที่ไม่เคยรู้จักค้นหาความกระจ่างของข้อความที่ไม่เข้าใจค้นหาความแตกต่างด้านวัฒนธรรม
3. ลงมือแปลเป็นภาษาไทยด้วยถ้อยคำสำนวนที่เรียบง่ายอ่านเข้าใจง่ายและชัดเจนโดยเฉพาะอย่างยิ่งเป็นภาษาที่เป็นธรรมชาติ
หลักการแปลบทภาพยนตร์นั้น บทภาพยนตร์ที่นำมาแปลจะถ่ายทอดเป็นบทเขียนก่อนบทภาพยนตร์มีลักษณะเหมือนบทละครคือประกอบด้วยคำสนทนาเป็นส่วนใหญ่แต่ผู้แสดงภาพยนตร์จะมีจำนวนหลากหลายกว่าแต่ละคนจะใช้คำพูดต่างกันตามอุปนิสัยใจคอและพูดจารวดเร็วต่างจากผู้แสดงละครซึ่งจะพูดช้าๆและเน้นย้ำให้ชัดเจน ภาพยนตร์จะมีความเคลื่อนไหวเร็วกว่าการแสดงละครมากบางทีพูดไปเคลื่อนไหวไปมีผลต่อการแปลบทซึ่งต้องแปลให้รวดเร็วและทำกับบทบาทของการแสดงผู้แปลต้องตระหนักถึงลักษณะเฉพาะของบทภาพยนตร์เพื่อป้องกันไม่ให้มีความเข้าใจผิดจนเกิดการแปลผิด วิธีแปลบทภาพยนตร์มีขั้นตอนดำเนินเช่นเดียวกับการแปลบทละครการ์ตูนเรื่องต้องอ่านทั้งข้อความภาพและฉากลงพร้อมกันโดยมีสัมพันธภาพต่อกัน
หลักการแปลนิทาน นิยาย วิธีการแปลนิทานมีขั้นตอนการแปลเช่นเดียวกับหลักการแปลวรรณกรรมประเภทอื่นๆคืออ่านวิเคราะห์และโรงงานแปล โดยการอ่านต้นฉบับนิทานอ่านครั้งแรกอย่างเร็วเพื่อทำความเข้าใจเนื้อเรื่องของนิทานแล้วตรวจสอบความเข้าใจเนื้อเรื่องด้วยคำถาม ใคร ทำอะไร ที่ไหน เมื่อไร ทำไม และอ่านครั้งต่อไปอย่างช้าช้าๆและค้นหาความหมายคำแปลคำและวลี ที่ไม่ทราบความหมายแล้วค้นหาความหมายในพจนานุกรม สำหรับการเขียนบทและการใช้ภาษาในเนื้อนิทานควรใช้ภาษาระดับกลางการใช้ภาษาแปลในการแปลสรรพนามที่เป็นสัตว์ในนิทานควรใช้ภาษาเก่า เช่น เจ้า ข้า และชื่อเรื่องนี้สามารถใช้ในการแปลตรงตัวได้
หลักการแปลเรื่องเล่าเรื่องเล่ามักแฟนด้วยอารมณ์ขันและมักปรากฏตามหนังสือพิมพ์และนิตยสารผู้อ่านจะต้องเข้าใจโปร่งอารมณ์ขันและหยิบยกขึ้นมาแปลถ่ายทอดให้ตรงตามเครื่องฉบับเรื่องเล่าแสงอารมณ์ขันมักจะใช้ถ้อยคำจำกัดกะทัดรัดถ้ามีความกำกวมก็เพราะเพื่อสร้างอารมณ์ขัน วิธีการดำเนินการตามขั้นตอนเช่นเดียวกับพนักงานประเภทอื่นคือเริ่มต้นด้วยการอ่านต้นฉบับให้เข้าใจแล้วเขียนแปล อ่านครั้งต่อไปแล้วค้นหาความหมายและคำแปลของคำว่าดีที่ไม่เข้าใจจากพจนานุกรม เพราะความกำกวมเป็นสาเหตุของความเข้าใจผิดซึ่งก่อให้เกิดอารมณ์ขันดังนั้นการแปลจึงต้องแปลตรงตัว การใช้ภาษาในการแปลต้องควรใช้ภาษาระดับกลาง ผู้แปลต้องเลือกคำที่ฟังดูน่าขบขัน และตรงความหมายของต้นฉบับ
หลักการแปลการ์ตูน การ์ตูนไม่ได้เป็นวรรณกรรมสำหรับเด็กเท่านั้น แต่เป็นวรรณกรรมที่ให้ความบันเทิงแก่ทุกเพศทุกวัย  การ์ตูนให้ความบันเทิงทุกอย่างแก่ผู้อ่านเช่นเดียวกับเรื่องสั้น นวนิยายนิทานและนิยาย นอกจากนี้การ์ตูนยังมีส่วนสร้างสรรค์ความสามารถเชิงสังเกตมีเคราะห์และเชาว์ไหวพริบแก่ผู้อ่านด้วย หลักการสำคัญในการแปลการ์ตูนคือการใช้คำแปลที่สร้างชัดเจนเข้าใจได้หรือสื่อความหมายได้สามารถจำกัดจำนวนคำให้อยู่ภายในกรอบคำพูดได้ ภาษาในบทสนทนาของการ์ตูนมีหลายระดับขึ้นอยู่กับตัวละครที่สร้างขึ้น ซึ่งผู้แปลต้องใช้ความสังเกตและความระมัดระวังให้การเรียนภาษาแปลมีความสอดคล้องกัน วิธีแปลการ์ตูนดำเนินการแปลตามขั้นตอนเช่นเดียวกับการแปลเรื่องเล่าคือเริ่มต้นด้วยการอ่านต้นฉบับไม่เข้าใจโดยสังเกตรายละเอียดของภาพต่อจากนั้นจึงลงมือเขียนบทแปลโดยใช้ถ้อยคำซึ่งสั้นสามารถบรรจุลงในกรอบคำพูดได้พอดี
หลักการแปลกวีนิพนธ์ กวีนิพนธ์เป็นวรรณกรรมที่แต่งเป็นร้อยกรองมีกฎเกณฑ์แน่นอนตายตัวด้วยการจำกัดจำนวนคำ จำนวนพยางค์และจำนวนบรรทัด ทั้งเสียงหนัก-เบา การสัมผัสและจังหวะ  เราเรียกข้อบังคับของกวีนิพนธ์ว่า ฉันทลักษณ์ กวีนิพนธ์ในปัจจุบันจะมีขนาดสั้นลงรูปแสดงความรู้สึกนึกคิดมากกว่าเล่าเรื่องไม่เคร่งครัดฉันทลักษณ์และแสวงหาทางฉันทลักษณ์ใหม่ๆ เพื่อให้มีโอกาสแสดงความรู้สึกนึกคิดได้กว้างขวางยิ่งขึ้นมากกว่ากวีนิพนธ์ในโบราณ ดังนั้นการแปลกวีนิพนธ์จึงต้องแปลให้สอดคล้องกับจุดมุ่งหมายด้วย ลักษณะของการแปลกวีนิพนธ์คือแปลเป็นร้อยกรองและร้อยแก้ว การแปลเป็นร้อยกรองนิยมใช้กับวรรณคดีโบราณที่มุ่งเน้นทั้งเนื้อหาสาระและความไพเราะของภาษาการแปลจะต้องยึดติดกับฉันทลักษณ์  และการแปลเป็นร้อยแก้วที่ประณีต ผู้แปลจะใช้การแปลกวีนิพนธ์เป็นร้อยแก้วต่อเมื่อมีจุดประสงค์เพียงการสื่อสารความคิดและวัฒนธรรมอื่นๆในกวีนิพนธ์ทั้งนี้เพราะบทบาทการใช้งานแปลวรรณคดีได้ทวีความหลากหลายมากขึ้นและทั้งนี้เพื่อความสะดวกรวดเร็วและความชัดเจนของเนื้อหาสาระ นอกจากนี้ก็ยังมีองค์ประกอบหลายอย่างของกวีนิพนธ์เช่นมีจังหวะ สัมผัสนอก สัมผัสใน สัมผัสอักษร และการเล่นคำความหมายอีกด้วย

ดังนั้นในการแลวรรณกรรมต่างๆนั้น การรักษาความหมายเดิมไว้ให้ครบถ้วนถูกต้องไม่เปลี่ยนแปร ไม่กลายเป็นตรงกันข้ามรักษารถของความหมายเดิมไว้ให้เป็นรถเดียวกัน ผู้แปลต้องใช้ศิลปะที่ละเอียดลึกซึ้งในการแปล โดยการแปลงานวรรณกรรมหรือวรรณคดีจะมีหลักการแปลและขั้นตอนการแปล ทั้งหลักการและขั้นตอนการแปล นอกจากนี้ยังต้องคำนึงถึงการใช้ภาษาแปลมีความสอดคล้องกันการใช้สัมผัสต่างๆ จังหวะ และระดับการใช้ภาษาของวรรณกรรมแต่ละประเภทอีกด้วย

1 ความคิดเห็น:

  1. รถ ในที่นี้ควรจะเป็นรส เพราะมาจากคำว่าอรรถรสค่ะ

    ตอบลบ