วันพฤหัสบดีที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2559

Learning Log การแปลบันเทิงคดี

การแปลบันเทิงคดี
(25/04/2559)
บันเทิงคดี หมายถึง งานเขียนประเภทที่ไม่อยู่ในประเภทของงานวิชาการและสารคดีบันเทิงคดีหมายถึงงานเขียนประเภทที่ไม่อยู่ในประเภทของงานวิชาการและสารคดี บันเทิงคดีมีหลายรูปแบบได้แก่ นิทาน นวนิยายเรื่องสั้น บทเพลง บทกวี เป็นต้น ซึ่งบันเทิงคดีเหล่านี้เป็นงานที่สร้างความความสุขความบันเทิง และสร้างอรรถรสต่างๆให้แก่ผู้อ่านผู้ฟัง ดังนั้นการแปลบันเทิงคดีนั้นจำเป็นต้องแปลให้ความรู้สึกเหล่านี้คงเหลืออยู่เหมือนเดิม และจะต้องแปลให้มีความหมายใกล้เคียงกับต้นฉบับมากที่สุด โดยการแปลบันเทิงคดีนั้นควรคำนึงถึงองค์ประกอบของงานเขียนแบบบันเทิงคดีและองค์ประกอบด้านภาษาด้วย บันเทิงคดีมีรูปแบบแตกต่างจากสารคดีทั้งในด้านเนื้อหาและองค์ประกอบทางภาษา การถ่ายทอดสาระความรู้ในงานบันเทิงคดีจะมีจุดประสงค์หลักคือการให้ความบันเทิงแก่ผู้อ่าน ดังนั้นบันเทิงคดีอาจเป็นการถ่ายทอดจินตนาการของผู้เขียนผสมผสานกับความเป็นจริงของสังคม ผู้แปลจึงต้องศึกษาและฝึกแปลภาษาแบบบันเทิงคดีอย่างจริงจังโดยต้องคำนึงถึงองค์ประกอบสำคัญ 2 ประการคือ องค์ประกอบด้านภาษาและองค์ประกอบอื่นๆนั่นก็คือ อารมณ์และท่วงทำนองของงาน ซึ่งจะต้องสะท้อนออกมาในด้านของภาษา
องค์ประกอบด้านภาษาที่เกี่ยวข้องกับการแปลงานบันเทิงคดีนั้นสามารถแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ การใช้สรรพนามและคำเรียกบุคคล การใช้ความหมายแฝงและ ภาษาเฉพาะวรรณกรรม สำหรับการใช้ความหมายแฝงนั้น คำศัพท์ในภาษาใดๆๆก็ตามจีทั้งความหมายตรงหรือความหมายตามตังอักษร และมรคำศัพท์อีกจำนวนมากที่มีความหมายแฝง เช่นคำว่า ไก่ ความหมายตรงตัวคือ สัตว์ปีกชนิดหนึ่ง แต่มีตวมหมายแฝงคือ หญิงสาวอ่อนต่อโลก และคำว่า chicken  ความหมายตรงตัวในภาษาไทยคือไก่ซึ่งเป็นสัตว์ปีกชนิดหนึ่ง แต่สามารถแปลเป็นความหมายแฝงได้ว่า ขี้ลาดตาขาว ดังนั้น ในการแปลงานบันเทิงคดีผู้แปลต้องใส่ใจคำศัพท์ทุกตัวรวมถึงต้องใช้ความสามารถ ปฏิภาณไหวพริบ จิตนาการและวิจารณญาณเพื่อตัดสินว่าคำศัพท์มีความหมายแฝงใดบ้าง ผู้แปลควรพิจารณาต้นฉบับอย่างรอบคอบ ทำความเข้าใจเนื้อหา และไม่ควรใช้พจนานุกรม 2 ภาษา เพียงอย่างเดียว และควรค้นหาความรู้จากหนังสืออ้างอิอื่นประกอบด้วย
รูปแบบภาษาเฉพาะของบันเทิงคดีมีหลายรูปแบบ รูปแบบเฉพาะที่เรียกว่าโวหาร ภาพพจน์ เช่นโวหารอุปมาอุปมัย (simile) อุปลักษณ์ (metaphor) เป็นต้นซึ่งภาษากลุ่มนี้จะสะท้อนวัฒนธรรมต่างๆลงไปในตัวภาษาแต่ละภาษามีวัฒนธรรมเฉพาะของชาติตนที่จนชาติอื่นไม่มี เมื่อความเป็นเอกลักษณ์ของชาติสะท้อนออกมาในวันภาษาหนึ่งและคนชาติอื่นๆซึ่งมีลักษณะดังกล่าวมานั้นซึ่งอาจไม่เข้าใจหรือเข้าใจผิดได้ ดังนั้นในการแปลภาษาคนนี้ผู้แปลจึงต้องศึกษารายละเอียดของวัฒนธรรมภาษาทั้งในภาษาไปและภาษามาอย่างลึกซึ้ง โวหารภาพพจน์อาจปรากฏในการเขียนปกติหรือการเขียนเฉพาะอย่างเช่นปรากฏในสุภาษิต คำคม คำพังเพย โวหารอุปมาอุปไมยเป็นโวหารภาพพจน์ที่ปรากฏบ่อย
โวหารอุปมาอุปไมย (simile) คือการสร้างภาพพจน์ โดยใช้กลวิธีการเปรียบเทียบเพื่อชี้แจงอธิบายหรือเน้นสิ่งที่กล่าวถึงให้ชัดเจนและเห็นภาพพจน์มากขึ้น ข้องสังเกตของอุปมาอุปมัยทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษมักมีคำที่ใช้เป็นลักษณะเฉพาะ อย่างเช่น ดัง ดั่ง เป็นดัง เหมือน เปรียบเหมือน เหมือนกับ(ว่า) ราวกับ เปรียบประดุจ เหมือนดั่ง เสมอ เฉกเช่น และในภาษาอังกฤษ เช่น be  (is, are, was, were ), be like, as…as โวหารอุปมาอุปไมยทั้งนั้นภาษาไทยและภาษาอังกฤษมักเกี่ยวข้องกับการเปรียบเทียบคำนามกับคำนามและเปรียบเทียบคำกริยากับคำกริยา   ส่วนรูปแบบโวหารอุปลักษณ์ (metaphor) หมายถึงการเปรียบเทียบความหมายของ 2 สิ่งโดยนำความเหมือนและความไม่เหมือนของสิ่งหนึ่งเปรียบเทียบมากล่าว เช่น เงินตราคือพระเจ้า เขาเป็นแก้วตาดวงใจของพ่อแม่ สำนวนอุปลักษณ์จำนวนมากมีลักษณะเฉพาะในภาษานั้นๆทั้งนี้ สำนวนอุปลักษณ์เกิดจากความสามารถของนักประพันธ์ในการประดิษฐ์ภาษาขึ้นใช้ในงานระพันธ์ของตน
การแปลโวหารอุปมาอุปไมยและโวหารอุปลักษณ์ที่ปรากฏในภาษาไทยเป็นภาษาอังกฤษ ผู้แปลต้องคำนึงถึงความจริงบางประการประการแรกคือภาษาใดๆเป็นเครื่องสื่อสารซึ่งถ่ายทอดความหมายและวัฒนธรรมของชาตินั้น ดังนั้นโวหารอุปมาอุปไมยหรือโวหารอุปลักษณ์ที่มีความหมายเหมือนกันและใช้คำศัพท์เดียวกัน 2 ภาษาจึงมีจำนวนไม่มากนัก ผู้แปลต้องปรับโวหารเหล่านี้ให้เหมาะสมกับวัฒนธรรมของภาษาแปลโดยยึดหลักรูปแบบภาษาสอดคล้องกันและความหมายเหมือนกันทั้งสองภาษา ผู้แปลต้องแปล โวหารอุปมาอุปไมยนั้นตามตัวอักษรเท่านั้น สืบค้นโวหารอุปมาอุปไมยและโวหารอุปลักษณ์ที่ปรากฏในงานเขียนชนิดต่างๆในภาษาแปล แล้วศึกษาว่าความหมายควรแปลได้ หรือควรตัดทิ้งโดยไม่ให้เสียอรรถรสของต้นฉบับ
งานบันเทิงคดีจะมีจุดประสงค์หลักคือการให้ความบันเทิงแก่ผู้อ่าน ดังนั้นบันเทิงคดีอาจเป็นการถ่ายทอดจินตนาการของผู้เขียนผสมผสานกับความเป็นจริงของสังคม ผู้แปลจึงต้องศึกษาและฝึกแปลภาษาแบบบันเทิงคดีอย่างจริงจังโดยต้องคำนึงถึงองค์ประกอบสำคัญ 2 ประการคือ องค์ประกอบด้านภาษาและองค์ประกอบอื่นๆนั่นก็คือ อารมณ์และท่วงทำนองของงาน ซึ่งจะต้องสะท้อนออกมาในด้านของภาษาการแปลบันเทิงคดีนั้นจำเป็นต้องแปลให้ความรู้สึกเหล่านี้คงเหลืออยู่เหมือนเดิม และจะต้องแปลให้มีความหมายใกล้เคียงกับต้นฉบับมากที่สุด



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น