วันพฤหัสบดีที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2558

ความแตกต่างทางโครงสร้างของภาษาไทยกับภาษาอังกฤษ





โครงสร้าง หรือ structure เป็นสิ่งสำคัญมากในการเริยนรู้ภาษาหรือการใช้ภาษา เราพูดเป็นประโยคที่สมบูรณ์และสื่อสารกันรู้เรื่องเพราะเรารู้และเข้าใจโครงสร้างของภาษา
1. ชนิดของคำและ ประเภททางไวยากรณ์ที่สำคัญ
ชนิดของคำ(past of speech) เป็นสิ่งสำคัญโนโครงสร้าง เพราะเราสร้างประโยคเราต้องนำคำมาเรียงร้อยกันให้เกิดความหมายที่ต้องการ
สื่อสารประโยคจะถูก ไวยากรณ์เมื่อเราใช้ชนิด ของคำตรงกับหน้าที่ทางไวยากรณ์ ดังนั้น เมื่อจะสร้างประโยค จึงต้องคำนึงถึงชนิดของคำด้วยประเภททางไวยากรณ์(grammatical category) หมายถึงลักษณะสำคัญใน ไวยากรณ์ของภาโดภาษาหนึ่ง ซึ่งมักสัมพันธ์กับชนิณของคำ
เช่นในภาษาอังกฤษจะบังคับให้ระบุเวลาของเหตุการณ์ให้ชัดเจนว่าเป็นอดีตหรือไม่ใช่อดีต ส่วนภาษาไทยไม่มีการบังคับ
  1.1 คำนาม ประเภททางไวยากรณ์เป็นลักษณะสำคัญหรือมิตัวบ่งชี้ในภาษาอังกฤษแต่ไม่สำคัญในภาษาไทย เช่น บุรุษและ พจน์
       1.1.1 บุรุษ (person) ภาษาอังกฤษแยกรูปสรรพนามตามบุรุษทิ่1,2 และ 3 อย่างเด่นชัดและมีการเติม -s ที่กริยาของประธานบุรุษที่3
เอกพจน์ แต่สำหรับภาษาไทย
       1.1.2 พจน์ (number) ภาษาอังกฤษมีการบ่งชี้พจน์โดยใช้ Determiner และการเติมหน่วยท้ายศัพท์-s
แต่ในภาษาไทยไม่การบ่งชี้เช่นนั้น ตัวอย่างเช่น
            Cats are beautiful animals.
            I like elephants.
       1.2.3 การก(case) คือประเภททางไวยากรณ์ของคำนามนั้นเล่นบทบาทอะไร  ในภาษาอังกฤษ การากของคำนามมักแสดงโดยการเรียงคำ
ในภาษาไทยไม่การเติมหน่วยคำท้ายคำเพื่อการแสดงการก  แต่ใช้การเรียงคำ  เหมือนกับการก ประธานและการากกรรมในภาษาอังกฤษ ส่วนการากของภาษาไทยมีการเรียงคำต่างจากภาษาอังกฤษ เช่น เราพูดว่า"หนังสือครู"ไม่ใช่ "ครูหนังสือ"
       1.1.4 นามนับได้ กับนามนับไม่ได้ (countable and uncountable nouns)
คำนามในภาษาอังกฤษและภาษาไทยในเรื่องการแบ่งเป็น นามนับได้ แและนับไม่ได้  โดยการใช้ตัวกำหนด a/an กับนามนับได้ที่เป็นเอกพจน์
และเติม-s ที่นามนับได้พหุพจน์ ส่วนนามนับไม่ได้ต้องไม่ใช้ a/an และไม่เติม-s
ในภาษาไทยคำนามนับได้ เพราะ เรามีลักษณะนามบอกจำนวนทุกสิ่งได้
       1.1.5 ความชี้เฉพาะ(Definiteness)
การแยกความแตกต่างระหว่างนามชี้เฉพาะกับนามไม่ชี้เฉพาะ ผู้พูดภาษาอังกฤษทุกคนจะเรียนรุ้ลักษณะนี้ตั้งแต่เริ่มหัดพูดภาษาอังกฤษ  เครื่องหมายที่บ่งชี้ความชี้เฉพาะ
คือตัวกำหนด  ได้แก่ a/an บ่งชี้ความไม่ชี้เฉพาะ(indefiniteness)   และ the ซึ่งบ่งชี้ความชี้เฉพาะ(Definiteness)
  
  1.2 คำกริยา
คำกริยานับได้ว่าเป็นหัวใจของประโยค การใช้กริยาซับซ้อน
กว่าคำนาม  เพราะมีประเภททางไวยากรณ์ต่างๆเข้ามาเกี่ยวข้องหลายประเภท
          1.2.1 กาล(tense)
คำกริยาในภาษาอังกฤษต้องแสดง กาลเสมอว่าเป็นอดีตหรือไม่ใช่อดีต ผู้พูดภาษาอังกฤษไม่สามารถใช้กริยาโดยปราศจากการบ่งชี้กาล  เพราะโลกทัศน์ของพวกเขาแยกความแตกต่างระหว่างเหตูการณ์ในอดีตกับไม่ใช่อดีต
          1.2.2 การณ์ลักษณะ(aspect)
 หมายถึง ลักษณะของการกระทำ หรือเหตุการณ์ ในภาษาอังกฤษ การณ์ลักษณะที่สำคัญ ได้แก่ การณ์ลักษณะต่อเนื่อง หรือ การณ์ลักษณะดำเนินอยู่(continuous aspect)
ซึ่งแสดงโดย verb to be +present participle(-ing)  และการณ์ลักษณะเสร็จสิ้น (perfective aspect) ซึ่งเเปลโดย Verb to have+past participle   ในภาษาไทย เหตุการณ์ที่ต่อเนื่องหรือกำลังดำเนินอยู่เเสดงด้วยคำว่า "กำลัง"หรือ "อยู่" หรือใช้ทั้งคู่  ถ้าประโยคมีกริยาหลายตัว กาลของกริยาเหล่านั้นต้องสัมพันธ์กันในเรื่องเวลา
               1.2.3 มาลา (mood)
มาลา เป็นประเภททางไวยากรณ์ที่ใช้กับคำกริยา มีหน้าที่เเสดงว่าผู้พูดมีทัศนคติต่อเหตุการณ์หรือเรื่องที่พูดอย่างไร ในภาษาไทยคำกริยาไม่มีการเเสดงมาลา เเต่ในภาษาอังกฤษมี มาลาในภาษาอังกฤษเเสดงโดยการเปลี่ยนรูปคำกริยา หรืออาจเเสดงโดยคำช่วยกริยาที่เรียกว่า modal auxiliaries เช่น may ,might,can,could,should เป็นต้น
              1.2.4 วาจก (voice)
วาจก เป็นประเภททางไวยากรณ์ที่บ่งชี้ความสัมพันธ์ระหว่างประธานกับการกระทำที่เเสดงโดยคำกริยา ว่าประธานเป็นผู้กระทำหรือประธานเป็นผู้ถูกกระทำ ในภาษาไทย คำกริยาไม่มีการเปลี่ยนรูปในตัวของมันเองเพื่อเเสดงกรรตุวาจกหรือกรรมวาจก
           1.2.5 กริยาเเท้กับกริยาไม่เเท้ (finite vs. non-finite)
คำกริยาในภาษาอังกฤษต่างจากภาษาไทยมากในเรื่องการเเยกกริยาเเท้ออกจากกริยาไม่แท้กล่าวคือในหนึ่งประโยคเดี่ยวจะมีกริยาแท้เพียงตัวเดียวเท่านั้น
ในภาษาไทยไม่มีความเเตกต่างระหว่างกริยาเเท้ กับ กริยาไม่เเท้ กล่าวคือกริยาทุกตัวในประโยคไม่มีการเเสดงรูปที่ต่างกัน
             
      1.3  ชนิดของคำประเภทอื่น
คำที่เป็นปัญหาในตัวศัพท์เอง ได้เเก่ คำบุพบท ซึ่งผู้เเปลต้องมั่นสังเกตบุพบทที่ใช้ต่างกันในสองภาษา นอกจากนั้นคำบุพบทในภาษาอังกฤษสมารถห้อยท้ายวลีหรือประโยคได้เเต่ภาษาไทยไม่มีโครงสร้างเเบบนี้
          คำ adjective ในภาษาอังกฤษต้องใช้กับ verb to be เมื่อทำหน้าที่เป็นภาคเเสดงของประโยค คำอีกประเภทที่ไม่ขนานกัน ระหว่างภาษาไทยกับอังกฤษ ได้เเก่คำลงท้าย เช่น ค่ะ ครับ ซิ เป็นต้น  คำหล่าวนี้มีความหมายละเอียดอ่อนเเละในภาษาอังกฤษไม่มีคำประเภทนี้
2. หน่วยสร้างที่ต่างกันในภาษาไทยเเละภาษาอังกฤษ
หน่วยสร้าง  construction หมายถึง หน่วยทางภาษาที่มีโครงสร้าง เมื่อเปรียบเทียบหน่วยสร้างในภาษาไทยเเละภาษาอังกฤษพบว่ามีหน่วยสร้างที่ต่างกัน ดังนี้
        2.1 หน่วยสร้างนามวลี : ตัวกำหนด (determiner) + นาม (อังกฤษ) vs. นาม (ไทย)
นามวลีในภาษาอังกฤษต้องมีตัวกำหนดอยู่หน้านามเสมอ ถ้าคำนามนั้นเป็นนามนับได้เเละเป็นเอกภพ(ยกเว้นนามที่เป็นชื่อเฉพาะเเละสรรพนาม) เเต่ในภาษาไทยไม่มีตัวกำหนดมีเเต่คำบ่งชี้ซึ่งบ่งบอกความหมายใกล้ไกลเเละเฉพาะเจาะจงเราอาจเรียกคำเหล่านี้ว่าตัวกำหนด ดังนั้น เรามักพบเสมอว่าในขณะที่นามวลีในภาษาอังกฤษมีตัวกำหนดปรากฏเเต่ภาษาไทยไม่มี
        2.2 หน่วยสร้างนามวลี : ส่วนขยาย + ส่วนหลัก (อังกฤษ)  vs. ส่วนขยาย + ส่วนหลัก (ไทย)
ในหน่วยสร้างนามวลี ภาษาอังกฤษวางส่วนขยายไว้ข้างหน้าส่วนหลักส่วนภาษาไทยตรงกันข้ามเวลาเเปลจากอังกฤษเป็นไทน ถ้าส่วนขยายไม่ยาวเราเพียงเเต่ยายที่ส่วนขยายจากหน้าไปหลัง
        2.3 หน่วยสร้างกรรมวาจก (passive constructions)
        ในภาษาอังกฤษหน่วยสร้างกรรมวาจกมีรูปเเบบเด่ดชัดเเหละมีเเบบเดียวคือประธาน/ผู้รับการกระทำ+กริยา verb to be + past participle +(by + นามวลี/ผู้กระทำ)
       2.4 หน่วยสร้างประโยคเน้น supject (อังกฤษ) กับประโยคเน้น topic(ไทย)
       ภาษาไทยได้ชื่อว่าเน้น topic ตรงข้ามกับภาษาอังกฤษ ซึ่งเป็นภาษาที่เน้น subjict
       2.5 หน่วยสร้างกริยาเรียงในภาไทย(serial verb constructions)
       หน่วยสร้างคำในภาษาไทยที่ไม่มีในภาษาอังกฤษเเละมักเป็นปัญหาในการเเปลได้เเก่หน่วยสร้างกริยาเรียง ซึ่งเป็นโครงสร้างที่ประกอบด้วยกริยาตั้งเเต่สองคำขึ้นไปเรียงต่อกันโดยไม่มีอะไรขั้นกลางยกเว้นกรรมของกริยาที่มาข้างหน้า





ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น